วิ่งจ๊อกกิ้ง ออกกำลังกาย

การเดินส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการ วิ่งจ๊อกกิ้ง

รู้ไหมว่า การเดิน ส่งผลดีต่อสุขภาพ ไม่แพ้การ วิ่งจ๊อกกิ้ง

การเดินส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการ วิ่งจ๊อกกิ้ง เพราะหลายคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า “การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม” คือสิ่งที่จำเป็นต่อการรักษาสุขภาพ คนจำนวนมากจึงให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ

ปัจจุบันคนญี่ปุ่นที่ออกกำลังกายมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์และใช้เวลามากกว่า 30 นาทีต่อครั้ง มีจำนวนถึง 56.4 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว (ข้อมูลจากมูลนิธิกีพาซะซะกะวะ) นั่นหมายความว่า คนญี่ปุ่นจำนวนมากกว่า 50 ล้าน คนออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 1 ครั้งอยู่เป็นประจำ

ในจำนวนนั้นคนที่อายุมากกว่า 50 ปี มีอัตราการออกกำลังกายที่สูงมาก โดยพบว่าใน “กลุ่มประชากรที่ชอบเล่นกีพา” ซึ่งก็คือกลุ่มคนที่ออกกำลังกายมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์และใช้เวลามากกว่า 30 นาทีต่อครั้ง หรือเรียกได้ว่าออกกำลังกายค่อนข้างหนักในช่วงอายุ 50-60 ปี มี จำนวน 48.2 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงอายุ 60-70 ปี มีจำนวน 54.3 เปอร์เซ็นต์ และในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป มีจำนวน 45.2 เปอร์เซ็นต์

วิ่งจ๊อกกิ้ง และการเดิน

การออกกำลังกายนั้นมีหลายประเภท แต่สิ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อไม่กี่ปีมานี้คือ การวิ่งจ๊อกกิ้ง และการวิ่งออกกำลังกาย

จากผลการสำรวจในปี 2006 พบว่า การออกกำลังกายที่คนให้ความสนใจมากเป็นอันดับที่ 29 คือ “การวิ่งจ๊อกกิ้งและการวิ่งออกกำลัง” แต่จากผลการสำรวจ ในปี 2008 พบว่า มันได้พุ่งขึ้นมาอยู่อันดับที่ 10 ถึงแม้การวิ่งจ๊อกกิ้งกับการวิ่งออกกำลังจะได้รับความนิยมสูง แต่ถ้าต้องการ “รักษาสุขภาพ” จริง ๆ แนะนำ ว่าควรหันมาออกกำลังกายด้วย “การเดิน” แทนการวิ่งจ๊อกกิ้งจะดีกว่า

จากข้อมูล “กลุ่มประชากรที่ชอบเล่นกีพา” พบว่า มีคนวัยกลางคนที่ใส่ใจกับการออกกำลังกายอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า คนวัยกลางคนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 50 -70 ปี อาจเชื่อกันว่า การที่ยังสามารถออกกำลังกายหนัก ๆ ได้เป็นข้อพิสูจน์ว่าตัวเองยังแข็งแรงอยู่

แน่นอนว่าการวิ่งจ๊อกกิ้งเป็นวิธีออกกำลังกายที่ทำให้เห็นผลของการฝึกฝนอย่างชัดเจน เช่น ความอึดในการออกกำลังกาย หรือพลังกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการวิ่งจ๊อกกิ้งจะส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการเดิน

จริง ๆ แล้วการเดินนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่าการวิ่งจ๊อกกิ้งเสียอีก เพราะการวิ่งจ๊อกกิ้งต้องใช้กำลังมาก เราจึงต้อง หายใจถี่ขึ้น ทำให้หายใจตื้น ส่งผลให้ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานลดลง

คนวัยกลางคนถ้าอยากจะวิ่ง ต้องรู้

โดยเฉพาะคนวัยกลางคนซึ่งระบบประสาทพาราซิมพาเทติกทำงานลดลงอยู่แล้ว ยิ่งไปออกกำลังกายประเภทที่ทำให้มันทำงานลดลงกว่าเดิม สุขภาพก็ยิ่งแย่ลง แถมร่างกายยังแก่ชราเร็วกว่าเดิมเสียอีก ยิ่งวิ่งเร็วขึ้นเท่าไหร่ เรายิ่งหายใจตื้นมากขึ้นเท่านั้น คนที่วิ่งออกกำลังจึงหายใจตื้นกว่าคนที่วิ่งจ๊อกกิ้ง และคนที่ วิ่ง 100 เมตรจะหายใจตื้นกว่าคนที่วิ่งออกกำลัง ยิ่งถ้าเป็นนักกีพาแถวหน้าของวงการวิ่ง 100 เมตร เขาจะวิ่งโดยแทบไม่หายใจเลยด้วยซ้ำ

เมื่อไม่นานมานี้ การวัดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนในหลอดเลือดส่วนปลายมีความแม่นยำมากขึ้น จึงทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การกลั้นหายใจส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก เพราะเลือดในหลอดเลือดส่วนปลายจะไหลเวียนได้น้อยลง เมื่อกลั้นหายใจ ร่างกายของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์ประมาณ 60 ล้านล้านเซลล์ และเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะแต่ละเซลล์ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มกำลัง แต่มันจะทำหน้าที่อย่างเต็มกำลังได้ก็ต่อเมื่อได้รับสารอาหารและออกซิเจนอย่างเพียงพอ

สิ่งสำคัญที่ช่วยให้สารอาหารและออกซิเจนถูกส่งไปยังเซลล์ได้ก็คือการไหลเวียนของเลือดนั่นเอง เมื่อเลือดไหลเวียนได้น้อยลง สารอาหารและออกซิเจนจะส่งไปไม่ถึงเซลล์หรือเส้นประสาทส่วนปลาย และหากเลือดหยุดไหลเวียน เซลล์ก็จะตายลงในที่สุด จริงอยู่ว่าถึงแม้จะออกกำลังกายจนร่างกายอยู่ใน สภาพหายใจตื้น ก็ไม่ได้ส่งผลให้เลือดในหลอดเลือดส่วนปลายหยุดไหลเวียนในทันที แต่เลือดจะไหลเวียนได้น้อยลง จนทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

ดังนั้น หากพิจารณาในแง่ “การรักษาสุขภาพ” คุณจึงไม่ควรออกกำลังกายประเภทที่ทำให้หายใจตื้น ถ้าคุณต้องการรักษาสุขภาพ การออกกำลังกายเบา ๆ อย่างเช่น การเดินก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าจะให้เจาะจงลงไปละก็ คุณควรออกกำลังกายประเภทที่ “หายใจลึก ๆ” ไปด้วยได้ เพื่อให้กะบังลมได้เคลื่อนไหวขึ้นลง

หากออกกำลังกายพร้อมกับหายใจลึก ๆ ไปด้วยได้ ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกก็จะไม่ทำงานลดลง และออกซิเจนกับสารอาหารก็จะถูกส่งไปยังหลอดเลือดส่วนปลายได้อย่างเพียงพอ

บางคนไม่เชื่อว่าการเดินในระดับที่ไม่ทำให้หายใจตื้น จะดีต่อสุขภาพมากกว่าการ วิ่งจ๊อกกิ้ง แต่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ก็พิสูจน์ให้เห็นมานับครั้งไม่ถ้วนแล้วว่า บางอย่างที่คนเราเคยเชื่อกันว่าดีต่อร่างกาย แท้จริงแล้วกลับส่งผลเสียต่อร่างกาย

คนที่อายุ 40 ปีขึ้นไปคงจะจำกันได้ว่า เมื่อก่อนมีการห้ามไม่ให้ดื่มน้ำระหว่างออกกำลังกาย “เพราะจะทำให้เหนื่อยง่าย” แต่ในปัจจุบันมีข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ให้เห็น แล้วว่า ภาะขาดน้ำระหว่างออกกำลังกายเป็นอันตรายต่อร่างกาย เราจึงหันมาให้ความสำคัญกับการจิบน้ำในระหว่างออกกำลังกาย

ในทำนองเดียวกัน เมื่อก่อนเชื่อกันว่า “การนั่งยอง ๆ แล้วกระโดด” เป็นวิธีเสริมสร้างกล้ามเนื้อร่างกายท่อนล่างที่ดีที่สุด จึงมีคนฝึกฝนด้วยการนั่งยอง ๆ แล้วกระโดดขึ้นลงบันไดเป็นประจำ แต่ในปัจจุบันได้มีการพิสูจน์แล้วว่าการทำแบบนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย จึงเลิกทำกันไปในที่สุด

ปัจจุบันเวชศาสตร์การกีพาเป็นที่รู้จักมากขึ้น หลายคนจึงเข้าใจมากขึ้นว่าการฝึกฝนแบบไหนดีต่อร่างกายและสุขภาพจริง ๆ

ข้อมูลจาก หนังสือ ทำไม สิ่งนี้ ถึงดีต่อสุขภาพ โดย นพ.โคะบะยะชิ ฮิโระยุกิ

บทความอื่นที่น่าสนใจ

เดินเร็ว ช่วยป้องกันกระดูกเสื่อมได้จริง

แรงกระแทก ดีต่อกระดูกอย่างไร หมอมีคำตอบ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

ท่าบริหาร แก้ออฟฟิศซินโดรม

ลีลาศบำบัด มะเร็งเต้านม

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.