ฟังเพลงตอนออกกำลังกาย

ฟังเพลง ตอนออกกำลังกาย ให้ประโยชน์กว่าเหงื่อท่วมแบบเงียบๆ

ฟังเพลง ตอนออกกำลังกาย ให้ประโยชน์กว่าเหงื่อท่วมแบบเงียบๆ

เมื่อเรา ฟังเพลง เสียงเพลงจะสร้างความสุนทรีย์ ช่วยบำบัดอารมณ์ ส่วนจังหวะมันส์ๆ ของเสียงดนดรีที่บรรเลงก็ยังมีผลต่อการกระตุ้นการทำงานของอีกหลายระบบในร่างกาย

หลายคนอาจจะยังไม่ทราบถึงประโยชน์ของการฟังเพลงขณะออกกำลังกาย ที่ช่วยลดความเบื่อหน่าย  ช่วยพัฒนาคุณภาพในการออกกำลังกาย แถมยังเพิ่มความทนทานได้อีกด้วย

เสียงเพลงเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกาย

มีงานวิจัยที่ทำการวัดคลื่นสมองด้วยเครื่อง Electroencephalogram (EEG) ในขณะฟังเพลง พบว่า การฟังเพลงขณะออกกำลังกายนั้นช่วยลดคลื่นธีต้า (Theta waves) ชนิดความถี่ 4-7 เฮิร์ต (Hz) ได้ ซึ่งกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการระงับอาการเมื่อยล้าต่างๆ  นี่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายคนบอกว่า หากวิ่งพร้อมฟังเพลงไปด้วย จะทำให้วิ่งได้นานขึ้นก็เป็นได้

อีกงานวิจัยจากการทดลองให้ผู้หญิง 19 คน ออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง (ENDURANCE) เช่น การวิ่ง และออกกำลังกายแบบหนัก (HIGH-INTENSITY) เช่น การยกเวท ซึ่งทดลองกันภายใต้ 4 ตัวแปร คือออกกำลังกายโดยไม่ฟังเพลง, ออกกำลังกายและฟังเพลงช้า, ออกกำลังกายและฟังเพลงเร็ว, ออกกำลังกายละฟังเพลงที่มี BPM (BEATS PER MINUTE) สูง ผลปรากฏว่าดนตรีที่บีทเร็วสูงจะยิ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจสูงที่สุดในทุกตัวแปร ซึ่งจะเป็นผลดีกับการออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง

เมื่อดูผลของการฟังเพลงที่มีต่อระบบการทำงานของร่างกายขณะออกกำลังกาย พบว่า การฟังเพลงที่ทำให้เรารู้สึกสนุกสนานจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตขึ้น 26 เปอร์เซ็นต์ ในทางตรงข้าม หากฟังเพลงที่ฟังแล้วหดหู่ การไหลเวียนโลหิตก็จะลดลงไปถึง 6 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตที่เพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้ร่างกายนำออกซิเจนไปใช้ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน

ถึงตอนนี้หลายคนคงพอจะทราบถึงประโยชน์ของการฟังเพลงไปบ้างแล้ว ก็อาจจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วต้องเลือกเพลงแบบไหนมาใช้ฟังขณะออกกำลังกาย

การเลือกระดับความเร็วของเพลง

จังหวะของเพลงที่ฟังขณะออกกำลังกายก็ส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายได้ มีงานวิจัยพบว่า การฟังเพลงที่มีจังหวะเร็วจะส่งผลดีต่อสมรรถภาพทางกายเมื่อออกกำลังกายที่ระดับความหนักเบาถึงปานกลาง   โดยที่การออกกำลังกายแต่ละชนิดก็จะมีระดับความเร็วของจังหวะเพลงที่เหมาะสมแตกต่างกัน

เช่น หากต้องการปั่นจักรยานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 125 – 140 BPM6  หรือเวลาวิ่งบนลู่วิ่งสายพานให้มีสมรรถภาพทางกายสูงสุดก็ควรเลือกฟังเพลงที่จังหวะความเร็ว 123-131 BPM7

แต่ทั้งนี้ ร่างกายของแต่ละบุคคลก็จะตอบสนองต่อระดับจังหวะความเร็วของเพลงที่แตกต่างกัน ลองเลือกเพลงที่คุณชอบ ที่สามารถทำให้การออกกำลังกายของคุณสนุกสนาน มาจัดเพลย์ลิสต์ให้เหมาะสม แล้วไปออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอกันเถอะ

ข้อมูลจาก Post Today

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ท่านอนหลับ ทำให้ถูกท่าช่วยให้หลับง่าย

โตแล้วก็เป็นได้ กับโรค สมาธิสั้นในผู้ใหญ่

หนุ่มสาวยุคใหม่ เสี่ยงโรคอะไรกันบ้าง

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.