หนุ่มสาวยุคใหม่เสี่ยงโรค

หนุ่มสาวยุคใหม่ เสี่ยงโรคอะไรกันบ้าง

หนุ่มสาวยุคใหม่ เสี่ยงโรคอะไรกันบ้าง

คงปฎิเสธไม่ได้ว่าช่วงอายุของคนในเมือง โดยเฉพาะวัยทำงาน เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุของการเจ็บป่วยนั้นก็มาจากความเครียดจากการทำงาน รวมไปถึงพฤติกรรมในการใช้ชีวิตต่าง ๆ ทั้งการใช้ชีวิตสุดเหวี่ยงไปกับปาร์ตี้ทุกสุดสัปดาห์ การกินบุฟเฟต์ทุกวันหยุด ติดชากาแฟ กินอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกาย เสพติดการกินหวาน และจากสาเหตุเหล่านี้เองทำให้คนวัยทำงานในปัจจุบันนี้ต้องพบกับปัญหาสุขภาพยอดฮิต อย่างเบาหวาน โรคไต และหัวใจ

เบาหวาน

เบาหวานเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอหรือร่างกายของเราสนองตอบอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ จึงไม่สามารถเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตรวมถึงโปรตีนและไขมันบางส่วนได้อย่างเหมาะสม ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนเช่น หัวใจวาย ไตวาย ตาบอด อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคติดเชื้อชนิดอื่น ๆ เป็นต้น

 

สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเกี่ยวกับเบาหวาน

เบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง ที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมการกิน และกรรมพันธุ์ ในเบื้องต้นคนที่เป็นเบาหวานจะไม่ทราบว่าตนเองเป็น หากยังไม่มีอาการแสดงต่าง ๆ ที่เป็นสัญญาณและบางครั้งผู้ป่วยเองก็ละเลยในเรื่องของการสังเกตตนเอง และจะทราบว่าตนเองเป็นเบาหวานอีกครั้งก็ตอนที่ได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ความน่ากลัวของโรคเบาหวานนี้ก็คือ ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับโรคเช่น เกิดภาวะแผลติดเชื้อ ไตวาย ตาบอด หัวใจวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต อีกทั้งยังก่อให้เกิดอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

โรคไต

โรคไตเรื้อรัง เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งพบว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคไตจากภาวะเบาหวานและความดันสูงเป็นจำนวนมาก และการที่ผู้ป่วยเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็จะส่งผลเสียต่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพก็จะทำให้ไตกรองของเสียไม่ได้ จนเกิดเป็นภาวะไตเรื้อรัง ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาก็อาจส่งผลร้ายแรงถึงแก่ชีวิตได้ และอีกหนึ่งความน่ากลัวของโรคไตก็คือผู้ที่มีปัญหาเรื่องของไต โดยส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าไตของตนเองมีปัญหา กว่าจะทราบก็ถึงขั้นรุนแรงแล้ว

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ

โรคหัวใจ นับเป็นอีกหนึ่งโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี เพราะโรคหัวใจจัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงอีกทั้งยังเป็นภัยเงียบที่มักจะไม่แสดงอาการในระยะต้น ที่สำคัญโรคหัวใจจัดว่าเป็นร้ายที่กำลังคุกคามคนในยุคปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น สาเหตุเกิดจากการใช้ชีวิตของคนในสังคมสมัยใหม่ที่อยู่ในสังคมที่ต้องเร่งรีบแข่งขัน การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างเร่งรีบ อาหารก็เน้นการกินอาหารสำเร็จรูปอาหารจานด่วน ผสานกับความเครียดจากหน้าที่การทำงาน และการขาดการออกกำลังกาย ทำให้คน มวัยทำงานมีอัตราความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น หากไม่อยาก

โรคปลอกประสาทอักเสบ

จากข้อมูลทางสถิติ โรคปลอกประสาทอักเสบเป็นโรคใกล้ตัวหญิงวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 20 – 40 ปี หากเป็นมากจะสูญเสียการเคลื่อนไหวของร่างกายจนอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

โรคเครียดลงกระเพาะ

โรคเครียดลงกระเพาะ ส่วนมากเกิดจากความเครียด เพราะในขณะที่เราเครียด ระบบประสาทอัตโนมัติจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนเกิดการระคายเคือง ส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง จากการที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความกดดันอยู่บ่อยครั้ง โรคนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายอีกด้วย จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน

ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยตรงกับพนักงานออฟฟิศ ด้วยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนทำงานที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัว จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง ก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้ จากสถิติของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า “คนวัยทำงานร้อยละ 60 มีภาวะโรคออฟฟิศซินโดรม”

อ่อนเพลีย

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่คนทำงานหลายคนมักมองข้ามไป แต่ความจริงแล้วโรคดังกล่าวเป็นภัยเงียบที่หนุ่มสาววัยทำงานควรระวังไว้ เนื่องด้วยชีวิตที่เร่งรีบของคนทำงาน อาจมีตัวเลือกสำหรับอาหารไม่มากนัก ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องบริโภคอาหารรสจัด ของมัน ของทอด หรือน้ำอัดลมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือบางคนที่ทำงานดึกดื่นจนไม่มีเวลากินข้าว ต้องมากินข้าวก่อนนอน เมื่อกินเสร็จก็นอนทันที นับได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ส่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตที่สุดโต่ง อาทิ การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารรสจัด การไม่ออกกำลังกาย และความเครียดจากการทำงานหรือชีวิตประจำวันล้วนแล้วแต่จะพาไปสู่การสูญเสียชีวิตจากปัญหาด้านสุขภาพด้วยโรคกลุ่ม NCDs ทั้งสิ้น แต่การมีสภาวะสุขภาพที่ดีก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ลดความเสี่ยงของการก่อโรคโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดังนี้

-เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

-นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

-ออกกำลังกายเป็นประจำ

-ไม่เอาสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น บุหรี่ แอลกอฮอล์ สารเสพติด

-หลีกเลี่ยงความเครียด

-ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

 

ข้อมูลประกอบจาก: รพ.กรุงเทพ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

วิธีแก้ ออฟฟิศซินโดรม ด้วยท่าออกกำลังกายแบบง่ายๆ

นอนไม่หลับแบบไหน ควรพบจิตแพทย์

รู้จัก อาการข้อไหล่ติด พร้อมทางแก้ไข โดยผู้เชี่ยวชาญ

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.