วิตามิน ผัก

5 วิตามิน-แร่ธาตุสําคัญ ทัพหน้าเยียวยากระดูกพรุน

5 วิตามิน-แร่ธาตุสําคัญ ทัพหน้าเยียวยากระดูกพรุน

รู้หรือไม่ว่าแคลเซียมที่ระดมกินเข้าไปทั้งในรูปอาหารจากธรรมชาติและอาหารเสริม ปลายทางสุดท้ายไปอยู่ที่ไหน  ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด  มุ่งตรงไปที่กระดูก เกาะที่หลอดเลือด หรือหยุดอยู่ที่ลิ้นหัวใจ

มีการศึกษาใหม่พบว่าผู้ที่กินแคลเซียมเพื่อหวังให้กระดูกแข็งแรงหากขยันกินแต่แคลเซียมจนลืมสารอาหารที่ช่วยเสริมการทํางานอื่นๆ ไม่เพียงไม่ช่วยปกป้องกระดูก ยังอาจเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดรวมถึงโรคเรื้อรังต่างๆ อีกด้วย เพราะสารอาหารมีหลากหลาย ล้วนทําหน้าที่ส่งเสริมการทํางานของกันและกัน หากขาดสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งการปกป้องมวลกระดูกอาจไม่เป็นผลร่างกายอาจดูดซึมแคลเซียมได้ไม่เต็มที่ ไปจนถึงสูญเสียการควบคุมแคลเซียมในร่างกายให้ถูกที่ถูกทาง จนอาจเกิดปัญหาแคลเซียมเกาะผิดที่ นํามาซึ่งสารพัดโรคภัย

วันนี้ชีวจิตได้รวบรวมวิตามินและสารอาหารสําคัญที่ช่วยป้องกันและชะลอการสลายกระดูก พร้อมแหล่งอาหารจากธรรมชาติที่ยิ่งกินร่วมกันยิ่งได้ประโยชน์ โดยรวบรวมข้อมูลจากวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศไม่ป่วยก็ต้องอ่าน ยิ่งป่วยยิ่งต้องอ่าน เพื่อสุขภาพกระดูกที่แข็งแรงและคุณภาพชีวิตที่จะดีขึ้นในทุกๆ วันค่ะ

ขาดวิตามินเค แคลเซียมหลงทาง 

นายแพทย์สมยศ กิตติมั่นคง สํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวไว้อย่างน่าสนใจในวารสารกรมการแพทย์ว่า แคลเซียมควรไปเสริมให้กระดูกและฟัน ส่วนอวัยวะที่ไม่ควรไปเกาะเลยก็คือเส้นเลือด ลิ้นหัวใจ กระดูกอ่อน

ปัญหาทางการแพทย์ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งก็คื  เมื่ออายุมากขึ้นคนเราจะมีปัญหาเรื่องแคลเซียมไปเกาะยังเส้นเลือดทําให้เส้นเลือดแข็งตัวไปเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทําให้ลิ้นหัวใจแข็งขยับไม่ได้ ไปเกาะที่เนื้อเยื่อข้อต่อทําให้เกิดการอักเสบปวดข้อ     ข้อเสื่อม แต่แคลเซียมกลับไม่ไปอยู่ที่กระดูก ทําให้คนเราเป็นโรคกระดูกพรุน ดูเหมือนโรคทั้งสองอย่างนี้จะไปด้วยกัน และเกิดขึ้นได้เมื่ออายุมากขึ้น

กระดูกพรุน

สำหรับวิตามินที่มีบทบาทสําคัญเกี่ยวข้องกับปลายทางของแคลเซียม นายแพทย์สมยศระบุว่า คือ วิตามินเค (Vitamin K) โดยวิตามินชนิดนี้มีส่วนสําคัญต่อการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในร่างกาย ทําหน้าที่ควบคุมการแข็งตัวของเลือดควบคุมระดับเกลือแร่ที่อยู่ในหลอดเลือดและกระดูกอ่อนเคลื่อนย้ายเกลือแร่บางชนิด เช่น แคลเซียมในกระดูก หากร่างกายได้รับวิตามินเคเพียงพอต่อความต้องการร่างกายจะสามารถนําแคลเซียมไปวางไว้ในที่ที่ควรอยู่

ที่สําคัญก็คือกระดูก แต่หากร่างกายขาดวิตามินเคร่างกายก็อาจพาแคลเซียมไปไว้ผิดที่ผิดทางได้ ทั้งที่เส้นเลือด ลิ้นหัวใจ กระดูกอ่อนหรือแม้แต่ในเซลล์ของร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว วิตามิน K1  K2ช่วยป้องกันกระดูกพรุน วิตามินเคในร่างกายที่จะกล่าวถึงคือ วิตามินเค1 และวิตามินเค 2  โดยวารสาร Nutrients ให้ข้อมูลว่า  วิตามินเค 1 สังเคราะห์ในพืช จึงพบมากในผักใบเขียว เช่น ผักกาดเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ขึ้นฉ่าย ผักโขม บรอกโคลีกะหล่ำปลี ปวยเล้ง กุยฉ่าย ผักชีฝรั่ง ผักกระเฉด ผักกาดหอม  และอาจพบได้ในสัตว์กินพืช ส่วนวิตามินเค2  ร่างกายได้รับจากแบคทีเรียในลําไส้ และอาหารหมัก เช่น ถั่วเน่าหรือนัตโตะซึ่งเป็นอาหารหมักจากถั่วเหลือง นอกจากนี้ยังพบในชีสและนมเปรี้ยว

หนังสือชีวเคมีทางโภชนาการ(Nutritional Biochemistry) กล่าวถึงความสําคัญของวิตามินเค 1 และวิตามินเค 2 ว่า ทั้งสองชนิดมีบทบาทหน้าที่สําคัญในร่างกายเช่นกันแม้ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงกับการทํางานทางสรีรวิทยาแต่จะเกี่ยวข้องกับการทํางานของเอนไซม์ในการเปลี่ยนกรดแอมิโนในโปรตีนให้อยู่ในรูปที่ทํางานได้โปรตีนดังกล่าว ได้แก่ แกมมา-คาร์บอกซีกลูตาเมต (Gamma-Carboxyglutamate) ซึ่งใช้ในการแข็งตัวของเลือดและการสร้างกระดูกวิตามินเคถูกดูดซึมเข้าเซลล์ลําไส้เล็กร่วมกับไขมันโดยอาศัยน้ำ ช่วยย่อยกรดไขมันที่มีวิตามินอยู่ ดังนั้น การกินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเคร่วมกับอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันดีอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มการดูดซึมวิตามินเคเข้าสู่ร่างกายอย่างมีคุณภาพ

ภาวะกระดูกพรุนตามส่วนต่างๆ

K1 ในผักใบเขียว ลดเสี่ยงวัยหมดประจําเดือน กระดูกผุ

การศึกษาจาก The Open Rheumatology Journal ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกและระดับเซรั่มวิตามินเค 1(Serum Vitamin K1) ในเลือดของผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน โดยการศึกษานี้พบว่า ระดับเซรั่มวิตามินเค1 ใช้ชี้วัดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจําเดือนได้นักวิจัยแบ่งอาสาสมัคร 38 คนออกเป็น 2กลุ่ม กลุ่มแรกมีจํานวน 23 คน เป็นผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนที่มีโรคกระดูกพรุนร่วมด้วย

ส่วนอีกกลุ่มเป็นผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนที่มีสุขภาพดีไม่เป็นโรคกระดูกพรุน หลังวัดระดับเซรั่มวิตามินเค 1 ในเลือดของอาสาสมัครพบว่า ผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนที่มีโรคกระดูกพรุนร่วมด้วยมีระดับเซรั่มวิตามินเค1 ต่ำกว่าผู้หญิงวัยหมดประจําเดือนที่มีสุขภาพดีอย่างชัดเจนจากผลการศึกษานี้นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าวิตามินเค 1 ซึ่งพบมากในผักใบเขียวอาจมีบทบาทช่วยรักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก และมีความเป็นไปได้ว่า หากได้รับวิตามินเคจากอาหารไม่เพียงพออาจมีผลให้ระดับวิตามินเค 1ในเลือดต่ำจนมีผลเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจําเดือนได้

กินถั่วเน่า นัตโตะ ผักดอง เพิ่ม K2 ปกป้องหัวใจจากแคลเซียม

วารสาร Agro Food Industry Hi-Tech ตีพิมพ์บทความเรื่อง “Vitamin K2 for Heart Health Important for Preventing Calcification of Heart and Blood Vessels” รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ พบว่า การขาดวิตามินเค2 เกิดขึ้นทั่วไปในประเทศแถบตะวันตก เพราะแหล่งอาหารของวิตามินเค 2 ส่วนใหญ่อยู่ในรูปอาหารหมัก เช่น   ถั่วเน่า     นัตโตะ (ถั่วเน่าญี่ปุ่น) ผักดอง แตกต่างจาก วิตามินเค 1 ที่พบมากในผักใบเขียว ซึ่งมีความหลากหลาย และมีโอกาสที่จะกินบ่อยกว่า

สอดคล้องกับการวิจัยที่เรียกว่า The Rotterdam Heart Study  งานวิจัยขนาดใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ศึกษาพฤติกรรมการกินของชาวดัตช์ 4,807 คน นาน 8-10 ปี พบความเชื่อมโยงว่า ผู้ที่กินอาหารที่มีส่วนประกอบของ วิตามินเค2 สูงช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด และลดอัตราการตาย เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่กินวิตามินเค2 ในอาหารประจําวันต่ำ โดยพบว่าผู้ที่กินวิตามินเค 2 มากกว่า จะมีแคลเซียมเกาะที่เส้นเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจน้อยกว่า

นอกจากนี้ยังมีการพบว่าวิตามินเค2 มีส่วนช่วย ในการยับยั้งมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอีกด้วยนอกจากอาหารจากธรรมชาติยังมีรายงานว่า วิตามินเค2 จากอาหารเสริมอาจช่วยป้องกันแคลเซียมเกาะที่หัวใจ และหลอดเลือดในผู้ที่มีสุขภาพดีได้อีกด้วย โดยการศึกษาหนึ่งในผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน244 คนพบว่า หลังเสริมวิตามินเค2 (MK-7) วันละ 180 ไมโครกรัมต่อเนื่องนาน 3 ปี หลอดเลือดแข็งแรงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทดลองที่ได้รับยาหลอก

4 ตัวช่วยดูแลกระดูก

นอกจากวิตามินเคที่เรายกให้เป็นพระเอกแล้วยังมีสารอาหารอีก 4 ชนิดที่มีส่วนช่วยดูแลกระดูกให้แข็งแรงและลดภาวะเสื่อมอันเป็นสาเหตุของโรคกระดูกต่างๆ ดังนี้ค่ะ

วิตามินบี12

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวิตามินบี 12 มีผลต่อการสร้างเซลล์กระดูก ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทัฟต์ส(Tufts University Stud y) โดยแคเทอรีนทักเกอร์ (Katherine Tucker) และเพื่อนร่วมงาน แสดงให้เห็นว่าระดับวิตามินบี 12ในเลือดต่ําเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุนทั้งในชาย และหญิงแม้ร่างกายจะสามารถสังเคราะห์วิตามินบี 12 ได้เองภายในลําไส้ แต่หากไม่ได้รับจากอาหารอย่างเพียงพอหรือ มีปัญหาเรื่องระบบย่อยก็อาจเสี่ยงขาดวิตามินได้การขาดวิตามินบี 12 ไม่เพียงเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ยังทําให้เกิดอาการผิดปกติทางระบบประสาท เช่น ซึมเศร้า ชาตามปลายมือปลายเท้า กินอาหารไม่รู้รสความจําเสื่อม นอกจากนี้ยังทําให้เกิดโรคโลหิตจางเป็นพิษชนิดเพอร์นิเชียl(Pernicious Anemia) ทําให้ไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<< 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.