ออกกำลังกาย, แก้อาการวิงเวียนศีรษะ, อาการวิงเวียนศีรษะ, เวียนหัว, ความดันต่ำ

บอกลาอาการ วิงเวียนศีรษะ จากความดันต่ำแบบง่ายๆ

อาการวิงเวียนศีรษะ จากความดันต่ำ แก้ไขได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องพึ่งยา

อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ให้เดาก่อนเลยว่า กําลังเป็นความดันโลหิตต่ํา บางคนเดาถูก แต่แก้ด้วยวิธีผิดๆ เช่นชวนกันไปดื่มเบียร์แบบจัดหนัก เพราะฟังมาว่าจะช่วยเพิ่มความดันโลหิตให้เป็นปกติ นอกจากไม่ได้ผลอาจทําให้แย่ลง การดูแลสุขภาพก่อนป่วยย่อมดีกว่า วันนี้เราจึงขอจัดเต็มวิธีป้องกันความดันโลหิตต่ําแถมด้วยการรักษาแบบง่ายๆมาบอกกัน

นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ แพทย์ด้านเวชศาสตร์ ครอบครัวโรงพยาบาลพญาไท 2 อธิบายว่า ในทางการแพทย์สามารถพบความดันโลหิตต่ําได้ 3 ลักษณะ คือ

1.เกิดจากภาวะช็อก

เช่น สูญเสียเลือดจากอุบัติเหตุ สูญเสียของเหลวออกจากร่างกายจากอาการท้องเสีย ภาวะนี้ จะมีความดันโลหิตต่ําเป็นเอกลักษณ์ทําให้มีอาการอ่อนเพลีย หน้ามืด เป็นลม หมดสติถึงขั้นทําให้เสียชีวิตได้

2.เกิดจากการเปลี่ยนท่า

ความดันโลหิตต่ําลักษณะนี้ เกิดจากสาเหตุได้หลากหลาย เช่น กินยาที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด เป็นโรคไฮโปไทรอยด์ ระบบหัวใจและหลอดเลือดไม่แข็งแรง มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ในคนทํางานทั่วไป โดยจะมีอาการอ่อนเพลีย อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือเป็นลม

3.คนที่มีรูปร่างเล็ก

หรือมีลักษณะกายวิภาคของร่างกายที่แตกต่างจากคนทั่วไป ทําให้วัดค่าความดันโลหิตได้ต่ํากว่าเกณฑ์ปกติ คนกลุ่มนี้ไม่ถือว่า เป็นผู้ป่วย

มหัศจรรย์แห่งการออกกําลังกาย

จะเห็นได้ว่า ความดันโลหิตต่ําในลักษณะที่ 2 คือจาก การเปลี่ยนท่า เป็นอาการที่พบบ่อยในคนทํางาน ซึ่งถ้าปล่อยไว้อาจทําให้เกิดโรคร้ายตามมาในภายหลังได้ คุณหมอสันต์ แนะเคล็ดลับป้องกันและแก้ไขที่ทําได้ง่ายๆ ไว้ดังนี้ค่ะ

“ต้องออกกําลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วันอย่างต่อเนื่อง สม่ําเสมอ และแต่ละครั้งต้องอยู่ในอาการเหนื่อยเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป” คุณหมอให้เหตุผลว่า “ปัจจัยสําคัญที่ทําให้คนทํางานมีอาการความดันโลหิตต่ํา เกิดจากการไม่ออกกําลังกาย เมื่อไม่ออกกําลังกายก็ทําให้ระบบ หัวใจและหลอดเลือดไม่แข็งแรง ยิ่งการนั่งทํางานในออฟฟิศ จะทําให้ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายนานวันหัวใจก็ขาดกําลัง

ออกกำลังกาย, แก้อาการวิงเวียนศีรษะ, อาการวิงเวียนศีรษะ, เวียนหัว, ความดันต่ำ
ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมอ แก้อาการวิงเวียนศีรษะ จากความดันต่ำได้

“การที่เราลุกหรือเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรวดเร็วทําให้ สมองต้องการเลือดมาหล่อเลี้ยงทันที แต่หัวใจไม่แข็งแรง มีแรงดันเลือดต่ําทําให้ส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ทันจึงเกิดอาการ หน้ามืดเป็นลม”

คุณหมอสันต์ แนะเคล็ดลับการออกกําลังกายต่อว่า

“ควรออกกําลังกายใน 2 รูปแบบ คือหนึ่งต้องมี กิจกรรมออกกําลังกายอย่างเป็นกิจจะลักษณะว่า จะออกกําลังกายอะไร เมื่อไร อย่างไร สองการออกกําลังกายระหว่างวันหรือเวลาทํางานโดยหากิจกรรมให้ตัวเองได้ขยับ หรือเคลื่อนไหวเสมอๆ เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เดินไปหยิบเอกสารหยิบของเองแทนการใช้แม่บ้าน โดยคิดเสมอว่า การออกกําลังกายสําคัญและจําเป็นต่อชีวิตเหมือนที่เราต้อง กินอาหารทุกวัน หรือแปรงฟันทุกวัน”

กินดี+หลับลึกปรับสมดุลความดัน

การกินและการนอนมีส่วนสําคัญต่อการป้องกันอาการความดันโลหิตต่ํามาก คุณหมอสันต์ เล่าว่า “ผู้หญิงในช่วงมีประจําเดือน จะมีภาวะโลหิตจางตามมา ด้วยความดันเลือดต่ํา ซึ่งจะทําให้รู้สึกตัวเบาโหวงเพลียหรือหน้ามืด เราสามารถแก้ได้ด้วยการกินอาหารที่ช่วยเสริมการทํางานของเม็ดเลือดแดง เช่น กลุ่มโปรตีนจากเนื้อปลา กินผักผลไม้ให้มากขึ้น งดเครื่องดื่มรสหวานทุกชนิด งดอาหารที่ทําจากไขมันทรานส์ เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง ไอศกรีมต่างๆ

“ที่สําคัญคือ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดที่เข้าใจว่า ดื่มเบียร์จะทําให้ความดันกลับมาเป็นปกติ เป็นความเข้าใจที่ผิดเพราะการดื่มเบียร์อาจทําให้หลอดเลือดขยายตัวซึ่งจะทําให้ ความดันลดต่ําลงมากกว่าเดิมอีก” ส่วนการนอนหลับนั้นคุณหมอสันต์สรุปให้ฟังว่าหากนอน ไม่พอระบบประสาทและสมองจะทํางานผิดปกติส่งผลให้ บางคนมีอาการความดันโลหิตสูง แต่บางคนความดันโลหิตต่ํา ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน

ดังนั้นการจะป้องกันอาการความดันโลหิตต่ําได้ จึงควรนอนหลับให้ลึกและเต็มอิ่ม เพื่อให้ระบบประสาทและสมอง ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมความดันโลหิตทํางานเป็นปกติ วิธีง่ายๆ และช่วยป้องกันได้จริงเชื่อว่าคุณผู้อ่านจะลอง ทําตามกันนะคะ

TIPS

ใครที่กําลังมีอาการหน้ามืดและปวดศีรษะจากความดันโลหิตต่ําอยู่ อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง กูรูต้นตํารับชีวจิต แนะนําวิธีแก้ดังนี้

1.เวลานอนให้นอนศีรษะสูงกว่าเท้าประมาณ 8-12 นิ้ว

2.เวลาตื่นอย่าลุกพรวดพราด ขอให้ลุกขึ้นนั่งช้าๆ นั่งริมเตียงห้อยขาสักพักหนึ่ง

3.ให้อาบน้ําร้อนสลับกับน้ําเย็น

4.ใช้ผ้าขนหนูขนหยาบๆ ถูตัวแรงๆ ให้ทั่ว หลังอาบน้ําเช้า-เย็น

5.กินอาหารให้ครบ 3 มื้อ และกินอาหารว่าง 2 มื้อ(สายและบ่าย) ตัวอย่างอาหารว่าง ได้แก่ ผลไม้ เช่น แอ๊ปเปิ้ล ถั่วและเมล็ดพืช(เมล็ดฟักทอง เมล็ด ทานตะวัน) และกล้วยตาก เป็นต้น และดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ 4-6 แก้ว


บทความอื่นที่น่าสนใจ

วิธีเลือกและใช้เครื่องวัดความดัน ง่ายๆที่บ้าน

เดินป้องกันความดันต่ำ

ปวดหัวจังเลย! อาการปวดศีรษะ ที่เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือไมเกรน

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.