แสงสีฟ้า กับอันตรายที่ไม่แพ้แสง UV
เชื่อว่าทุกวันนี้หลายคนทากันแดดเพราะกลัวแสงยูวีทำร้ายผิว น้อยคนจะระแวดระวังจาก แสงสีฟ้า ที่อยู่ร่วมในชีวิตประจำวันของเรา พร้อมจะทำลายผิวก่อให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ผิว ลองมาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ
อะไรคือแสงสีฟ้า
แสงสีฟ้า หรือบลูไลท์ (Bluelight) เป็นคลื่นแสงพลังงานสูง (High Energy Visible Light) ที่มีต้นกำเนิดจากดวงอาทิตย์ โดยปกติแสงสีขาวจากดวงอาทิตย์
โดยอันตรายของบลูไลท์ต่อผิวชั้
เราเจอแสงสีฟ้าจากอะไร
นายแพทย์ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและผิวพรรณประจำโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้แชร์ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับแสงสีฟ้าไว้ว่า “แสงสีฟ้า หรือ บลูไลท์ ที่เรามักจะได้ยินคนพูดถึงกันทั่วไปในปัจจุบัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่คนมักจะเข้าใจว่าบลูไลท์มีเฉพาะจากหน้าจออิเล็กทรอนิกส์ อย่างคอมพิวเตอร์ หรือมือถือเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว แสงแดดก็มีบลูไลท์รวมอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งเจ้าบลูไลท์นี้เองมีอันตรายและก่อให้เกิดปัญหาผิวพรรณไม่แพ้กับรังสียูวีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ฝ้า กระ ริ้วรอย จุดด่างดำ และผิวชราก่อนวัยอันควร ที่สำคัญคือการรับแสงบลูไลท์ในปริมาณมาก และต่อเนื่องยังเป็นสาเหตุการเกิดมะเร็งผิวหนังได้อีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าบลูไลท์เป็นผู้ร้ายแอบแฝงที่เราไม่เคยรู้มาก่อนในอดีต”
“ด้วยวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต รวมถึงหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งแสงบลูไลท์แฝงตัวอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ดังนั้นการสัมผัสสิ่งพวกนี้ แม้จะไม่เทียบเท่ากับที่รับจากแสงแดด แต่ก็สามารถส่งผลในระยะยาวได้”
“ปัจจุบันคนไข้ที่มารับการรักษา จะมีปัญหาผิวอย่างฝ้า กระ ที่แตกต่างจากเดิม คือเมื่อก่อนจะขึ้นบริเวณช่วงกลางของใบหน้า แต่ปัจจุบันจะพบบริเวณแก้มด้านใดด้านหนึ่งซึ่งสัมพันธ์กับด้านที่ใช้คุยโทรศัพท์มือถือ เพราะฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าบลูไลท์จากมือถือมีผลให้เกิดปัญหาผิวได้ นั่นคือเหตุผลว่าไม่ว่าเราจะไปที่ไหน เราสามารถเจอบลูไลท์ได้ตลอดเวลา และเพื่อป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ปกป้องเฉพาะรังสียูวีอย่างเดียวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป” นายแพทย์ชลธวัช กล่าวปิดท้าย
คำแนะนำ
ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปริมาณแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์มากมาย อาทิ ฟิล์มกรองแสง น้ำตาเทียมลดแสงสีฟ้า แว่นตาตัดแสงสีฟ้า หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ทาผิวป้องกันรังสียูวีที่เพิ่มคุณสมบัติป้องกันแสงสีฟ้าได้ด้วย อย่างไรก็ควรหาสิ่งเหล่านี้มาปกป้องตัวเองจากแสงอันตรายนี้ให้ครบถ้วนจะดีที่สุด
(ข้อมูลจาก : นายแพทย์ชลธวัช สุวรรณปิยะศิริ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนั