หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อาการแบบนี้ เสี่ยงโรคอะไร

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อาการแบบนี้ เสี่ยงโรคอะไร อันตรายมากไหมนะ

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เป็นอาการที่หลายคนอาจเคยเจอมากับตัว หรือเป็นอาการที่คนรอบข้างเคยสัมผัส ซึ่งอาการนี้คือ อัมพาตเบลล์  (Bell’s Pasly) เป็นอาการที่เกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ทำให้ไม่สามารถขยับใบหน้าซีกนั้นได้

บทความจากโรงพยาบาลศิครินทร์ ระบุไว้ว่า เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแสดงสีหน้าไม่ทำงาน ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดแต่เชื้อว่าเป็นอาการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ภายหลังการติดเชื้อไวรัส เป็นอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อาการของโรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

  • เมื่อดื่มน้ำจะมีน้ำไหลออกมาจากมุมปาก
  • ปากเบี้ยว มุมปากตก พูดไม่ชัด
  • หลับตาได้ไม่สนิท เปลือกตาล่างเปิดออก
  • ยักคิ้วไม่ขึ้น
  • อาจมีอาการปวดหู และได้ยินเสียงดังมากผิดปกติระยะแรก
  • ชาบริเวณใบหน้าครึ่งซีก
  • ไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ หรือมีเศษอาหารตกค้างอยู่บริเวณกระพุ้งแก้มข้างที่มีอาการ

โรคหน้าหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หายได้ แต่ควรป้องกัน

วิธีการรักษา มีตั้งแต่การรักษาด้วยการใช้ยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ การให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส การกายภาพบำบัด  โดยการฝึกหรือกระตุ้นให้กล้ามเนื้อใบหน้าที่อ่อนแรงได้ทำงาน เพื่อรอการฟื้นตัวของเส้นประสาท โดยการกายภาพบำบัดสามารถทำได้ดังนี้

  • การบริหารกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าที่ยังอ่อนแรง บริหารท่านละ 10 – 20 ครั้งต่อรอบ โดยควรทำอย่างน้อย

  • ประคบร้อนบริเวณใบหน้าซีกที่มีอาการ ใช้เวลาประมาณ 15 – 20 นาทีต่อครั้ง วันละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า แต่ควรระวังการประคบร้อนในรายที่มีอาการชาของใบหน้า

  • กระตุ้นกล้ามเนื้อใบหน้าที่มีอาการอ่อนแรงด้วยไฟฟ้า เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อมีการหดคลายตัวเป็นการชะลอการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อ มักใช้ในรายที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมด

  • การนวดใบหน้า เป็นการใช้ปลายนิ้วนวดคลึง ใบหน้าเบาๆ ช้าๆ ตามแนวกล้ามเนื้อใบหน้าแต่ละมัด เพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า

ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์

บทความอื่นที่น่าสนใจ

“ปวดหัวข้างเดียว” บ่อยครั้ง อาจเป็นสัญญาณเฉพาะของไมเกรน

HOW TO ติดโควิด ดูแลตัวเองยังไง ทำจริง หายจริง

วิธีรับมือ โรคผิวหนัง ที่มากับน้ำท่วม ป้องกัน-รักษา

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.