อาการแพ้ยา อาการสำคัญที่ไม่ควรปล่อยไว้
เวลาไปหาหมอทีไร มักจะเจอกับคำถามเรื่องของ “อาการแพ้ยา” บางคนก็รู้ว่าตัวเองแพ้ยาอะไร แต่บางคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองแพ้อะไรจำพวกไหนอยู่ แล้วแบบนี้จะมีวิธีไหนที่จะทำให้รู้ว่า เรามียาตัวไหนที่แพ้บ้างหรือไม่ ?
อาการแพ้ยา ที่พบได้บ่อยที่สุดคงเป็นอาการทางผิวหนัง โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
– การแพ้ยาแบบไม่รุงแรง เช่น มีผื่นแดงขึ้นจางๆ หรือมีอาการคันที่ผิว
– การแพ้ยารุนแรงทางผิวหนัง : ซึ่งการแพ้ยาลักษณะนี้อาจเกิดขึ้นได้เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 2 วัน ไปจนถึง 2 เดือน หลังการได้รับยา จะมีอาการผื่นตุ่มน้ำพองขึ้นที่ผิวหนัง ซึ่งอาจนำมาสู่ความสูญเสียทั้งร่างกาย และได้รับผลกระทบในด้านของจิตใจ หากร้ายแรงไปกว่านั้นอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
สังเกตอาการแพ้ยาทางผิวหนัง
– มีไข้ขึ้นสูง
– รู้สึกเจ็บแสบ บริเวณผิวหนัง ผิวหนังเริ่มบวม
– มีผื่นแดงขึ้นตามตัว
– ผื่นตุ่มน้ำพองขึ้นตามตัว
– เจ็บบริเวณ ตา ช่องปาก อวัยวะเพศ ที่เป็นเยื่อบุอ่อน
– รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่อยากอาหาร
– อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ได้
จะทำอย่างไรเมื่อเกิด อาการแพ้ยา ?
– เมื่อสงสัยว่าจะเกิดการแพ้ยา ควรหยุดยาทันที
– อย่าลืมถ่ายรูปผื่นบริเวณที่ขึ้น ให้เน้นบริเวณผื่นให้ชัดเจน อย่าลืมถ่ายบริเวณอื่นประกอบด้วย เช่น ใบหน้า ลำตัว แขน ขา
– รีบมาพบแพทย์โดยด่วน โดยไม่ลืมที่จะนำยาทั้งหมดมาด้วย เพื่อให้หมอวินิจฉัยว่าเราแพ้ยาตัวไหน
– หากมียาสมุนไพร หรืออาหารเสริมตัวอื่นที่กินช่วงเวลาที่ผื่นขึ้น แนะนำว่าควรพกติดตัวมาด้วย
– เมื่อสังเกตเห็นว่าผื่นมีการเปลี่ยนแปลง อย่าลืมถ่ายรูปเก็บไว้
เมื่อเรารู้แล้วว่าตัวเองแพ้ยาชนิดไหน ควรจำชื่อยาให้แม่นยำ แต่หากจำชื่อประเภทยาไม่ได้ แนะนำว่าควรพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาซ้ำ และเป็นการป้องกันตัวเองจาก อาการแพ้ยา
ที่มา : โรงพยาบาลศิริราช
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้ อีกหนึ่งวิธีช่วยผู้ป่วยทุเลาโรค