เทคนิคกำหนดลมหายใจ กระตุ้นความสุข ต้านซึมเศร้า

กำหนดลมหายใจ ต้านซึมเศร้า

การกำหนดลมหายใจ ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ใช้ปรับอารมณ์และสภาพจิตใจ ต้านซึมเศร้า ได้ อาจารย์ดร.ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ อาจารย์ประจําภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ในมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการสะกดจิตบำบัดทางการแพทย์และจิตวิทยาให้คำปรึกษา รวมทั้งเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมการสั่งจิตบําบัดทางการแพทย์และทันตกรรมนานาชาติสหรัฐอเมริกา (IMDHA) อธิบายว่า

“ในทางการแพทย์พบว่า หากอยากมีอายุยืนยาวแข็งแรง และมีความสุข ให้กระตุ้นระบบประสาทส่วนพาราซิมพาเทติก (PNS) หรือประสาทส่วนผ่อนคลายเป็นหลัก เพราะระบบประสาทส่วนนี้จะช่วยปลดปล่อยฮอร์โมนดี ได้แก่ เอนดอร์ฟิน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน โกร๊ธฮอร์โมน โดพามีน ซึ่งฮอร์โมนทั้งหมดมีผลให้ร่างกายผ่อนคลาย มีความสุข เยียวยาอาการเจ็บปวด

“แล้วให้ใช้ประสาทส่วนซิมพาเทติก (SNS) หรือประสาทส่วนเร่งเร้าเพียงอ่อนๆ พอมีชีวิตชีวาเป็นบางครั้งคราวเมื่อยามภัยคุกคามเข้ามาเท่านั้น เพราะประสาทฝั่งเร่งเร้านำมาซึ่งสารแห่งความทุกข์มากมาย เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลิน แลกเทต เป็นต้น จึงพูดได้ว่า ระบบประสาทส่วนพาราซิมพาเทติกเป็นระบบประสาทแห่งความสุข ส่วนประสาทส่วนซิมพาเทติกเป็นระบบประสาทแห่งความทุกข์”

กำหนดลมหายใจ ต้านซึมเศร้า นั่งสมาธิ

ซึ่งอาจารย์ดร.ธรรมวัฒน์มีวิธีการง่ายๆที่จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมาเยียวยาฟื้นฟูร่างกายและจิตใจดังนี้ค่ะ

ขั้นตอนกำหนดลมหายใจ

วิธีที่ 1 หายใจเข้าลึกจนท้องป่อง แล้วหายใจออกให้ยาวจนรู้สึกสบาย 10 ครั้ง วิธีนี้ไม่เพียงกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเท่านั้น ยังช่วยปรับคลื่นสมองให้อยู่ในโหมดคลื่นอัลฟ่าด้วย ซึ่งช่วยส่งเสริมความจำ การคิด การมองโลกในแง่ดี คุณจะสงบเร็วขึ้น มีสติ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีขึ้น

วิธีที่ 2 การเคาะตามแนวเส้นเมอริเดียนหรือจุดรวมประสาทของร่างกาย เช่น การเคาะที่ศีรษะ ใบหน้า และหู จะช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
โดยคุณหมอกฤตชญากล่าวเสริมถึงคุณประโยชน์ของการฝึกลมหายใจว่า

“Breathing Exercise หรือการฝึกลมหายใจเข้าลึกออกยาว ช่วยคลายเครียดได้ตั้งแต่คนที่ยังไม่เป็นโรคเครียด ไปจนถึงคนที่มีภาวะเครียด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ทำให้จิตใจผ่อนคลาย ได้พักจากความคิดบางอย่างที่วนเวียนอยู่ในหัว แล้วกลับมาอยู่กับร่างกายของตัวเอง

“อาจทำก่อนนอนจนกระทั่งหลับไป  หรือขณะทำงานระหว่างวันเพื่อผ่อนคลายความเครียด  และบู๊สต์พลังให้กับตัวเองค่ะ”

(ที่มา : คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 417)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

วิธีรับมือซึมเศร้า หลัง ตัดมดลูก สำหรับคุณผู้หญิง

10 สารอาหาร ห่างไกล โรคซึมเศร้า แค่กินเป็น ก็มีความสุข

คนไทยเครียดซึมเศร้า ยังไม่ ติดโควิด แต่สุขภาพจิตใกล้โคม่า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.