หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ดีท็อกซ์ (Detox) ซึ่ง อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ผู้ก่อตั้งองค์ความรู้ชีวจิต อธิบายเรื่องของการทำดีท็อกซ์ไว้อย่างชัดเจนว่า เป็นการขับท็อกซินออกจากร่างกายวิธีหนึ่ง ซึ่งต้องทำด้วยความเข้าใจ เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ

ดีท็อกซ์ (Detox)
ปักษ์นี้เราจึงนำบทความที่อาจารย์สาทิสเคยเขียนไว้มาแนะนำผู้อ่านอีกครั้ง ดังนี้
การล้างท็อกซิน (Detox)
Detox ย่อมาจาก Detoxification คือการกำจัด Toxin ออกจากร่างกาย ท็อกซินคือพิษ แต่ไม่ใช่ยาพิษ
ท็อกซินคือพิษ (สารพิษ) ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีในร่างกายเรา โดยเกิดได้หลายวิธี ทั้งเกิดจากการกินที่ผิดและเกิดจากระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเราบกพร่อง หรือแม้แต่การเกิดความเครียดก็สร้างท็อกซินให้เกิดขึ้นได้
พูดง่าย ๆ ว่าการกินและการปฏิบัติตัวผิด ๆ ในชีวิตประจำวันทำให้เกิดท็อกซินในตัวเรา การทำดีท็อกซ์มีจุดประสงค์สำคัญเพื่อกำจัดท็อกซินออกจากร่างกายโดยการล้างท็อกซินในลำไส้ใหญ่ ไม่ใช่ทำเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยของโรคต่าง ๆ หรือเพื่อแก้อาการท้องผูก การถ่ายอุจจาระออกมาด้วยถือเป็นเพียงผลพลอยได้
ส่วนวิธีการทำให้ท็อกซินออกจากร่างกายนั้นมี 5 วิธี คือ
- การสวนท้อง (สวนทวาร)
- การอบไอน้ำ อบซาวน่า
- การออกกำลังกายบริหารและการนวด
- การใช้ยาสมุนไพรและเอนไซม์
- การถ่ายเลือด
ในที่นี้เราคงจะขออธิบายถึงวิธีการสวนท้อง ซึ่งน้ำที่จะใช้ทำดีท็อกซ์นั้นมีหลายสูตร คือ
- สูตรน้ำกาแฟของนายแพทย์แมกซ์ เกอร์สัน
สูตรการทำ ใช้กาแฟผงบริสุทธิ์ (ชนิดไม่ปรุงแต่ง) 2 ช้อนโต๊ะ ต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด แล้วกรองเอาผงออก ทิ้งให้น้ำอุ่น แล้วจึงนำมาสวนท้อง กาแฟไม่ควรใช้กาแฟสำเร็จรูป เพราะจะมีส่วนผสมของเนยมากเกินไป สามารถหาซื้อกาแฟได้ตามซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ - สูตรน้ำส้มมะขาม (มะขามเปียก) ใช้ส้มมะขาม 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด แล้วกรองเอาแต่น้ำ
- สูตรน้ำมะนาว ใช้มะนาว 3 – 4 ลูก คั้นน้ำผสมน้ำอุ่น 1 ลิตร
- สูตรน้ำอุ่นเปล่า ๆ
สูตร 2 – 3 – 4 นี้ใช้เพียงครั้งเดียว สลับกับน้ำกาแฟ 5 ครั้ง หมายความว่าใช้กาแฟสัก 5 ครั้ง แล้วจึงใช้สูตร 2 หรือ 3 หรือ 4 เพียงครั้งเดียว

วิธีการเตรียมน้ำกาแฟ (ใช้ครั้งเดียว)
ใช้กาแฟบริสุทธิ์ 100 เปอร์เซ็นต์ (ชนิดไม่ปรุงแต่ง) ที่คั่วและบดให้ละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ ต้มในน้ำ 1 ลิตรให้เดือด 3 – 5 นาที กรองเอาผงออกด้วยผ้าขาว แล้วผสมด้วยน้ำต้มสุกให้ได้ 1,500 ซีซี (สำหรับผู้ชาย) หรือ 1,200 ซีซี (สำหรับผู้หญิง) ทำให้อุ่นพอดีกับอุณหภูมิร่างกายของเรา
วิธีทำ ดีท็อกซ์
- นำน้ำกาแฟ (ที่อุ่นพอดีกับอุณหภูมิร่างกายของเรา) ใส่ถุงหรือหม้อสำหรับสวน โดยปิดวาล์วที่ปลายท่อก่อนใส่น้ำกาแฟ
- แขวนถุงดีท็อกซ์ไว้ด้านปลายเท้าให้สูงจากพื้นประมาณ 120 เซนติเมตร (ถ้าแขวนสูงเกินไป ความดันน้ำจะมากทำให้น้ำไหลเร็ว อาจกลั้นไม่อยู่ ถ้าแขวนต่ำเกินไป น้ำจะไหลช้า)
- เปิดวาล์วเพื่อไล่อากาศออกจากสายยาง โดยให้น้ำกาแฟไหลผ่านท่อเล็กน้อยแล้วปิดวาล์ว หลังจากนั้นให้ทาวาสลีนที่ปลายท่อประมาณ 2 นิ้ว
- นอนตะแคงขวา (สะโพกด้านขวาลงพื้น) เหยียดขาขวาตรง ขาซ้ายก่ายบนขาขวา เหมือนท่ากอดหมอนข้าง
- สอดปลายท่อที่ทาวาสลีน (หรือน้ำสบู่เหลว) เรียบร้อยแล้วเข้าทางทวารหนักลึกประมาณ 2 นิ้ว เปิดวาล์วให้
น้ำกาแฟไหลเข้าจนหมด แล้วดึงท่อออกจากทวารหนัก - ให้นอนหงาย เหยียดขาตรง ใช้มือนวดท้องวนจากขวาไปทางซ้าย (เหนือบริเวณสะดือ ใต้ชายโครง) อั้นให้ได้นาน
ประมาณ 5 นาที แล้วลุกขึ้นถ่าย ขณะถ่ายไม่ต้องเบ่ง
ในครั้งแรกควรทำต่อเนื่องสัก 3 หรือ 5 วัน เพื่อล้างพิษออกให้หมด หลังจากนั้นอาจทำเมื่อมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว
ปวดเมื่อยตามตัวตามข้อ ลิ้นเป็นฝ้า ก็สามารถล้างพิษได้อีก
เวลาที่เหมาะสมในการทำดีท็อกซ์คือตอนเช้าหลังจากเข้าห้องน้ำถ่ายเรียบร้อยแล้ว ก่อนอาหารเช้า จะทำให้กลั้นได้ดี
และล้างลำไส้ได้สะอาด สบายตัว หากไม่สะดวกอาจทำช่วงสายหรือบ่าย หลังจากกินอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ไม่แนะนำให้ทำก่อนนอน เพราะจะทำให้ตื่นขึ้นมาหิวเวลากลางคืนและทำให้นอนไม่หลับ
ข้อควรระวัง ก่อนจะสวนทวารต้องปล่อยน้ำออกจากสายยางเพื่อไล่ลมก่อน มิเช่นนั้นจะเกิดลมในช่องท้อง ทำให้อึดอัด และในกรณีคนที่ไม่กินกาแฟ อาจเกิดอาการคลื่นไส้ เวียนหัวได้
คนที่ผ่าตัดไส้ติ่ง ให้ใช้น้ำสวนท้องแค่ 800 – 1,000 ซีซี
คนที่ผ่าตัดลำไส้ใหญ่จะมากหรือน้อย โดยเฉพาะผู้ตัดลำไส้ใหญ่และทำรูถ่ายหน้าท้อง (Colostomy) ไม่แนะนำให้ทำ
ดีท็อกซ์
คนที่เป็นริดสีดวงทวาร ต้องใช้เจลทาที่ทวารหนักและปลายสายยางให้มากกว่าปกติ และหากมีบาดแผลที่ทวารหนัก
ไม่ควรทำดีท็อกซ์
*หมายเหตุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต โรคปอด โรคลมบ้าหมู (ลมชัก) ตกเลือด และท้องเสียอย่างรุนแรง ไม่ควรอบสมุนไพร (ซาวน่า) ล้างพิษ
ที่มา ชีวจิต ฉบับ 5 2
บทความน่าสนใจอื่น ๆ
รวม ผักพื้นบ้าน คุมน้ำตาล ความดัน ลดเสี่ยงมะเร็ง
แพนิก ภาวะตื่นตระหนกที่ต้องรักษา คุณเป็นอยู่หรือเปล่า?
อาหารลดความดัน ต้องกิน ช่วงร้อนตับแตก
ติดตามชีวจิตได้ที่
Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสารชีวจิต