นอกจากนี้ จากการศึกษาวิจัยอย่างเป็นทางการของนักวิจัยชาวจีน จาก Kunming Institute of Botany, Chinese Academy of Sciences ที่ได้รับการตีพิมพ์ในสถาบันเดียวกัน โดยศึกษาเรื่องการถอดรหัสการแสดงออกของยีนถั่วดาวอินคา เพื่อดูว่าถั่วดาวอินคาที่มีกรดไขมัน ที่เรียกว่าอัลฟ่าไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ แต่จากผลการวิจัยดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยืนยัน โดยนักวิจัยกล่าวว่า ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
งานวิจัยดังกล่าว มีสมมุติฐานมาจาก นักวิทยาศาสตร์พบว่า กรดไขมันในถั่วดาวอินคานั้นเป็นประเภทไร้ชีวิต (distinctive) เนื่องจากกรดไขมันในถั่วประเภทนี้ เป็น polyunsaturated fatty acid (PUFA) จึงให้กรดไลโนเลอิก ชนิดที่เป็นอัลฟ่า (a-linolenic) ซึ่งจะไม่สามารถสังเคราะห์ได้ในสิ่งมีชีวิต
ไขมันประเภท PUFA นี้ หากกินในลักษณะอาหารเสริม จะส่งผลต่อความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคหัวใจ และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ฉะนั้นอาจต้องเลี่ยงไปกินถั่วดาวอินคาในรูปแบบอื่นๆ เช่น คั่วเม็ดกิน นำเม็ดมาปรุงกินเป็นอาหาร
จากข้อมูลดังกล่าว บ.ก.คิดว่า เราอาจต้องกินถั่วดาวอินคา หรือผลิตภัณฑ์ถั่วดาวอินคาที่มีมากมายในท้องตลาดด้วยความระมัดระวัง โดยกินอย่างสมดุล ไม่มากเกินไป หากต้องการรักษาอาการ โรค หรือความผิดปกติ ก็ควรจะทำร่วมกับการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน ยิ่งในผู้ป่วยโรคหัวใจและภูมิแพ้ด้วยแล้ว อาจต้องควบคุมอาหารอื่นๆ อีกทั้งออกกำลังกายร่วมด้วย
หากเบื่อการคั่วถั่วดาวอินคากินแล้ว เราสามารถนำถั่วดาวอินคามาใส่ในสลัด ทอด หรืออบคลุกเนยและเกลือ หรือปั่นร่วมกับผลไม้และโยเกิร์ตเป็นสมูตตี้ถั่วดาวอินคา หรือจะทำขนม “ฟัดจ์เมเปิ้ลถั่วดาวอินคา” ซึ่งมีวิธีทำ (ใช้เวลาแค่ 10 นาที) ดังนี้

ส่วนผสม
- ถั่วดาวอินคา เกลือน้อย 1 ถ้วย
- ถั่วพีแกน 1 ถ้วย
- เนยเมเปิ้ล ½ ถ้วย
- เนยมะพร้าว ¼ ถ้วย
- น้ำเปล่า ½ ถ้วย
วิธีทำ
- ใส่ส่วนผสมทั้งหมดลงไปในเครื่องปั่น แล้วปั่นจนละเอียด เนียนเป็นเนื้อเดียวกัน
- ใช้ช้อนตักส่วนผสมข้อ 1 วางลงบนกระดาษแว็กซ์สำหรับทำคุกกี้ โดย 1 ช้อน = 1 ก้อน
- นำกระดาษทั้งแผ่นเข้าแช่ตู้เย็นในช่องฟรีซ 2-3 ชั่วโมง
อ้างอิงข้อมูลจาก
บทความน่าสนใจอื่นๆ
3 ประสบการณ์ลดน้ำหนัก ทำตามสิ ผอมเร็ว
ปรับอาหาร แก้ท้องผูก เลิกเสพติดดีท็อกซ์
สูตร 14 วันชีวจิต สำหรับสาวทำงาน – ชีวจิต