รักษาแผนไทย เลือกแบบไหน ให้หายจากโรค (ตอนที่1)
รักษาแผนไทย เป็นวิธีการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ที่ปัจจุบันกระแสความนิยมชมชอบมีมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จากตัวอย่างที่คนไทยมีการใช้สมุนไพรกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ร้านนวด โรงพยาบาล หรือคลินิกแพทย์แผนไทยก็เปิดแข่งขันกันมากมาย
ท้ายสุดแล้วก็เป็นกำไรของประชาชนคนไทยนั่นเองครับ เพราะมีวิธีการรักษาแผนไทยที่หลากหลายที่สามารถเลือกใช้บริการได้ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยเป็นโรคอะไร ตั้งแต่โรคที่มีอาการง่ายๆ เจ็บคอ ปวดท้อง ปวดกล้ามเนื้อ ไปจนถึงโรคที่มีอาการเรื้อรัง เช่น ปวดกล้ามเนื้อ โรคไมเกรน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็ง ฯลฯ
แต่ท้ายที่สุดแล้ว หากเลือกวิธีการรักษาที่ผิดก็ย่อมทำให้การหายของโรคช้าลง อีกทั้งเสียทั้งโอกาสและเงินอีกด้วย
เพราะวิธีการรักษาแผนไทย ด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทยนั้นมีความหลากหลายวิธีเป็นอย่างมาก แต่ละแบบก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน หวังผลในการรักษาที่ต่างกันด้วย
ซึ่งผมจะแนะนำไว้ดังต่อไปนี้ ใครใคร่ชอบวิธีไหนก็สามารถเลือกทำได้เลยครับ
กินยายาสมุนไพร
สามารถกินได้หลายรูปแบบทั้งสดและแห้ง เหมาะกับคนทีชอบกินยาเป็นพิเศษ สามารถรักษาโรคได้หลากหลายตั้งแต่อาการฉุกเฉิน หรือแม้กระทั่งโรคเรื้อรังก็สามารถเห็นผลได้รวดเร็ว โดยประสิทธิภาพการหายขึ้นอยู่กับประเภทของยาที่กิน เช่น
- ยาเม็ด หรือแคปซูล กินง่าย สะดวกสะบาย และพกพาง่าย เหมาะกับคนที่ไม่ชอบรสชาติของยาไทยที่มีความขม เช่น ฟ้าทะลายโจร หรือกลิ่นของขมิ้นชัน
- ยาผง การกินอาจจะมีความยุ่งยาก แต่กลไกการออกฤทธิ์จะเร็วกว่ายาเม็ดหรือแคปซูล วิธีกินสามารถละลายด้วยน้ำต้มสุก หรือน้ำกระสายยาที่ช่วยในการเสริมฤทธิ์ต่างๆ เช่น น้ำลายดอกมะลิ ช่วยบำรุงหัวใจ น้ำลูกผักชี ช่วยแก้อาการท้องเฟ้อ ก้านสะเดา ช่วยอาการลดไข้
- ยาต้ม เป็นยาน้ำรูปแบบหนึ่ง เกิดจากการนำยาสมุนต่างๆมาต้มรวมกันเป็นตำรับที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน มีกลไกการออกฤทธิ์ที่เร็วกว่าการกินยาเม็ดหรือแคปซูล มีวิธีการต้ม 2 แบบ คือต้มเดือด 15 นาที กับการต้มเคี่ยวจนเหลือตัวยา 1 ใน 3 เหมาะกับการหวังผลการรักษาที่ต้องการความเข้มข้นของยาในการรักษา
- ยาหม่อง หรือน้ำมันว่าน สำหรับใช้ทาถูนวด ช่วยรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ เคล็ดขัดยอก แมลงสัตว์กัดต่อย หรือใช้สูดดมลดอาการระบบทางเดินหายใจ
- ยาหอมหรือยาลม เป็นยาชนิดผง กินง่ายสามารถอมไว้ใต้ลิ้น หรือชงน้ำต้มสุกดื่ม สามารถออกฤทธิ์ได้ดีและรวดเร็ว ซึ่งมีด้วยกันสองประเภทหลักๆ คือช่วยทำให้หัวใจชุ่มชื่น เลือดลมไหลเวียนดี ซึ่งจะมีรสสุขุมเย็น กับช่วยระบบย่อยอาหาร ท้องอืดท้องเฟ้อ มีรสสุขุมร้อน
สูตรการทำยาสมุนไพรอื่นๆ
ยาดมส้มโอมือ ตำรับเจ้าจอมสดับฯ ชาววังแท้ๆ หอม แก้วิงเวียน เป็นลม ที่นี่ที่เดียว (แจกสูตร)
วิธีทำยาดมสมุนไพรง่ายๆเก๋ไก๋ใช้เอง by หมอชารีฟ แพทย์ไทยอินดี้ ชีวจิตกูรู
ยาหอม 5 แบรนด์ไทย ตำรับขึ้นหิ้ง ไม่มีติดบ้าน ถือว่าพลาดมาก!
- ยานัถต์ เป็นยาผง ใช้โดยการนัถต์ผ่านจมูก ช่วยรักษาอาการหอบหืด และระบบทางเดินหายใจ
- ยาพอก เป็นการนำสมุนไพรทั้งสดและแห้งมาโขลกให้ละเอียด แล้วหมักตามสูตรตำรับ มักจะใช้สมุนไพรที่ฤทธิ์เย็น และร้อน แล้วใช้พอกบริเวณทีมีอาการของโรค เช่น อาการปวดบวมแดงร้อน อาการปวดเข่า และฝี ฯลฯ เพื่อเป็นการระบายความร้อนให้ออกจากรอยโรค ลดอาการปวดบวมแดงร้อน
- ยาสุม เป็นการนำสมุนไพรสดหรือแห้งมาโขลกให้ละเอียดพอหยาบๆ แล้วนำมาห่อผ้า หรือถุงผ้า แล้วนำมาสุมบริเวณหน้าผาห หรือศีรษะ แก้อาการปวดศรีษะ ไมเกรน และโรคทางระบบทางเดินหายใจ
- ลูกประคบ เป็นการนำสมุนไพรมาโขลกให้ละเอียดพอหยาบๆ และห่อด้วยผ้า ก่อนประคบต้องนำไปนึ่งเสียก่อน แล้วใช้ประคบแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดประจำเดือนได้
สำหรับข้างต้นเป็นเพียงแค่การใช้ยาสมุนไพรในการรักษาเท่านั้น แต่ยังมีวิธีทางการรักษาแผนไทย ด้วยวิธีการทางการแพทย์แผนไทยอื่นๆ อีกที่สามารถใช้ในการรักษาได้ ซึ่งในครั้งหน้าผมจะมาเขียนให้ทุกคนทราบในตอนที่ 2 นะครับ
บทความน่าสนใจอื่นๆ
วิธีดูแลสุขภาพในช่วงหน้าฝน ตำรับไทย