หมอนรองกระดูกเสื่อม

ประสบการณ์แก้ หมอนรองกระดูกเสื่อม ด้วยท่าโยคะ อย่างง่าย

ประสบการณ์แก้ หมอนรองกระดูกเสื่อม

ด้วยท่าโยคะ อย่างง่าย

 

หมอนรองกระดูกเสื่อม คืออะไร ลองสังเกตตัวเองและคนรอบข้างดูว่า เคยต้องทนทรมานกับความรู้สึกปวดหลังและปวดร้าวไปถึงขาตลอดเวลาไหมคะ บางครั้งอาจมีอาการชาบริเวณขากับเท้า หรือมีอาการกล้ามเนื้อที่ขากับเท้าอ่อนแรงร่วมด้วย และหากปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งปวดรุนแรงมากขึ้นก็อาจถึงขั้นเดินไม่ได้

อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เรียกว่าหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทค่ะ ซึ่งเป็นโรคที่คงไม่มีใครอยากเป็นหรืออยากให้คนใกล้ชิดเป็น เพราะอาการเจ็บปวดสร้างความทรมานมาก อีกทั้งยังอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันได้

แต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้ เราก็ต้องหาวิธีเผชิญและฝ่าฟันให้ถึงที่สุด และเชื่อไหมคะว่ามีผู้เอาชนะความทุกข์จากโรคนี้สำเร็จแล้วค่ะ

คนที่กำลังจะเล่าถึงนี้คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สาลี่ สุภาภรณ์ หรือครูสาลี่ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ วัย 48 ปี เธอใช้วิธีไหนฝ่าฟันอุปสรรคของสุขภาพ ประสบการณ์ที่น่าเอาอย่างนี้จะเป็นเช่นไร เรามาฟังเรื่องราวของเธอพร้อมๆ กันค่ะ

เมื่อกีฬาทำป่วย

หากย้อนไปเมื่อสามสิบปีที่แล้ว ชื่อของ คุณสาลี่ สุภาภรณ์ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะนักกรีฑาระดับเขตและระดับชาติต่อเนื่องมายาวนานกว่าสิบปี

แต่กว่าที่จะก้าวมาเป็นถึงจุดนี้ได้เธอต้องทุ่มเทให้การฝึกซ้อมอย่างหนัก แต่จู่ๆ ก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เพราะได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาจนทำให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เธอเล่าด้วยน้ำเสียงขึงขังถึงอาการที่เกิดขึ้นในวันนั้นให้ฟังว่า

ตอนนั้นกำลังเรียนปริญญาตรี เริ่มมีอาการเจ็บแปลบที่เอวและปวดร้าวลงขา มีอาการเป็นๆ หายๆ คงเป็นเพราะอายุยังน้อย เลยทำให้คิดว่าไม่รุนแรงมากนัก จึงไม่ใส่ใจและไม่ไปรักษาŽ

สาเหตุของการบาดเจ็บครั้งนั้นส่วนหนึ่งเป็นเพราะกีฬากระโดดไกลที่ต้องอาศัยการแอ่นตัวและการเหวี่ยงขาทั้งสองเพื่อให้เหยียดไปให้ไกลที่สุด ถ้าไม่แข็งแรงจริงและไม่รู้จังหวะก็อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้น

นอกจากนี้การที่ต้องฝึกซ้อมหนักถึงสัปดาห์ละ 6 วัน โดยไม่รู้วิธีการคลายกล้ามเนื้อที่ถูกต้อง ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่บั่นทอนสุขภาพของเธอตามมาอย่างต่อเนื่องอีกหลายสิบปีฝ่าวิกฤติสุขภาพ

หลังจากเลิกแข่งกีฬาเมื่ออายุ 26 ปี เธอก็ไม่ค่อยได้ออกแรงมากนัก อาการเจ็บแปลบที่หลังจึงดูเหมือนจะทุเลาลง

จนกระทั่งได้ทุนไปเป็นอาจารย์ผู้ช่วยสอนและเรียนต่อระดับปริญญาเอกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา อาการเจ็บหลังและปวดร้าวที่ขาซึ่งเป็นเสมือนเพื่อนเก่าที่แสนคุ้นเคยก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

พอไปอยู่ต่างประเทศได้สามสี่ปีก็เริ่มเป็นมาก เพราะอากาศหนาวเย็นและเล่นกีฬาเยอะขึ้น ทั้งสอนทั้งซ้อมเองด้วย บางทีเล่นแบดห้าเกมสิบเกม ตอนหลังปวดเอวมากขึ้น เลยลองไปว่ายน้ำและทำกายภาพบำบัดที่ศูนย์แพทย์ แม้จะดีขึ้นบ้าง แต่ไม่นานอาการปวดก็กลับมาอีก

จากเจ็บน้อยๆ ก็ค่อยๆ กำเริบมากขึ้นชาบ้าง ปวดบ้าง จนในที่สุดช่วงหลังปวดมาก ถึงขั้นที่ว่าทุกๆ เช้าก่อนลุกขึ้นจากเตียง ต้องคิดแล้วว่าวันนี้จะยืนขึ้นไหวไหม เพราะรู้ว่าขยับเอวลำบากมาก ตอนนั้นรู้สึกว่าตัวเองเหมือนคนแก่ ทั้งๆ ที่อายุจริงแค่ 30 ต้นๆ เท่านั้นŽ

เมื่อเห็นว่าอาการที่เป็นหนักมากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เธอจึงเริ่มมองหาหนทางที่ช่วยเยียวยาอาการดังกล่าว และหนทางสุดท้ายที่เธอคิดไว้คือต้องกลับมาผ่าตัดที่เมืองไทย ซึ่งนั่นก็หมายถึงชีวิตการเรียนปริญญาเอกของเธอจะต้องสิ้นสุดลงด้วย

อ่านต่อหน้าที่ 2

ฝึกโยคะบำบัดโรค

โยคะ

แต่แล้วเหมือนโชคเข้าข้างที่ทำให้เธอได้รู้จักกับ โยคะŽ วิถีเพื่อสุขภาพ เมื่อเพื่อนชาวศรีลังกาที่เล่นแบดมินตันด้วยกันเป็นประจำแนะนำให้เธอฝึกโยคะ โดยเริ่มต้นจากลงเรียนโยคะในหลักสูตรของปริญญาตรี และเธอได้ลองทำตามคำแนะนำ แล้วเรียนเพิ่มเติมที่ศูนย์โยคะนอกมหาวิทยาลัยอีกหลายหลักสูตร

จากแรกที่ไม่เคยคิดสนใจโยคะ กลับหันมาชื่นชอบเมื่อพบว่า

ตอนนั้นลงเรียนโยคะสัปดาห์ละสองครั้ง และคอยฟังว่าอาจารย์บอกว่าท่าไหนช่วยแก้ปวดเอว เราก็จดๆ และลองมาทำก่อนนอนทุกคืนอีก 15 – 30 นาที ทำแล้วรู้สึกดีขึ้นมาก ร่างกายของเรารู้สึกเบาขึ้เหมือน

ไปนวดมา จากที่เคยเจ็บหลังเพราะหมอนรองกระดูกกดทับ ก็รู้สึกว่ากระดูกสันหลังของเราได้ยืดได้เหยียด อาการปวดมากๆ ค่อยๆ น้อยลง จนในที่สุดไม่ถึงหนึ่งปีก็หายสนิทŽ

วิถีโยคะเปลี่ยนชีวิต

โยคะ

สำหรับครูสาลี่แล้ว การฝึกโยคะไม่เป็นเพียงยาขนานเอกที่ใช้เยียวยาอาการปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเท่านั้น แต่สิ่งที่เธอได้กลับมาจากโยคะมีมากกว่านั้น

ถ้าหากถามว่า ไม่มีโยคะ เราจะมีวันนี้ไหม แล้วเรียนจบไหม สุขภาพของเราจะแข็งแรงเช่นนี้หรือไม่ ไม่ได้เลย โยคะให้อะไรหลายอย่างแก่ชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเรื่องเล็กๆ ตั้งแต่ช่วยผ่อนคลายจากความเครียด ลดอาการปวดประจำเดือน บรรเทาอาการปวดเมื่อยต่างๆ ตลอดจนรักษาโรคที่เราเป็นอยู่ หรือที่เรียนจบเพราะได้สุขภาพที่ดีกลับคืนมา เรียกว่าต้องขอบคุณความเจ็บป่วยที่ทำให้เราได้รู้จักโยคะ เพราะถ้าเรา

ไม่ป่วย ไม่เจ็บ ก็อาจไม่คิดหาหนทางว่าทำอย่างไรเราจะหายจากโรคนี้Ž

อีกทั้งความเป็นนักวิชาการ เธอได้แปรประสบการณ์จากการเรียนการสอนโยคะในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมาออกเป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่หลายเล่ม และงานวิจัยเกี่ยวกับโยคะอีกหลายเรื่อง เช่น ผลกระทบของการฝึกตันเถียน – สาลี่โยคะที่มีต่อสุข-ภาวะของผู้สูงอายุ เป็นต้น

เราทำเพราะคิดว่าเราได้อะไรดีๆ จากโยคะมาก บางทีไปเป็นวิทยากรอบรม สิ่งที่เขาให้มา นอกจากจะเป็นเงินทองและอื่นๆ แล้วมันเยอะมาก เราคิดว่าเราน่าจะคืนอะไรแก่สังคมบ้าง เราทำบุญไปส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งก็มานั่งคิดว่าจะทำอย่างไรให้ออกไปทั่วถึง ให้คนมีโอกาสนำไปใช้ประโยชน์กันได้จริงŽ ครูสาลี่ทิ้งท้ายถึงโยคะด้วยใบหน้ายิ้มแย้มและแววตาแห่งความสุขใจ

คงไม่ต้องรอให้ถึงวันที่สายเกินเยียวยา เพราะสุขภาพจะดีได้ ต้องเริ่มด้วยตัวคุณเองตั้งแต่วันนี้ค่ะ

คอลัมน์ประสบการณ์สุขภาพ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 220 (1 ธันวาคม 2550)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

วิธีหนีปวดหลัง เพียง 10 วิธีบอกลาอาการปวดได้เลย

วิธีลดอาการปวดหลัง โรคออฟฟิศซินโดรม

6 เทคนิค ยืน-นั่ง ช่วยคนทำงานไม่ปวดหลัง

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.