การอักเสบเฉียบพลัน

สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเกิดการอักเสบภายใน

สัญญาณเตือนว่าร่างกายกำลังเกิดการอักเสบภายใน

การอักเสบ เป็นผลจากขบวนการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงาน เพื่อต้านอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก แต่ในปัจจุบัน มีกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ที่เกิดจากพฤติกรรมซ้ำซาก ทำให้ระบบภูมิต้านทางของเราสั่งงานไปเรื่อยๆ จนเกิดทำลายอวัยวะต่างในภายหลัง ที่เรียกว่าเป็นอาการอักเสบเรื้อรัง เช่น ถ้าเกิดพฤติกรรมซ้ำซาก อย่างการวิ่งผิดวิธี น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ยกของผิดวิธี ทำงานที่ใช้ข้อข่ามากๆ จนเกิดการอักเสบขึ้นที่ข้อเข่า

หากปล่อยไว้โดยที่ไม่มีการรักษา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนเกิดเป็นการอักเสบเรื้อรัง สุดท้ายจะก่อให้เเกิดเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ในที่สุด หรือ ถ้าเกิดกับเส้นเลือด การที่เส้นเลือดอักเสบบวมเรื้อรัง จนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญไม่พอ จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคเส้นเลือดอุดตัน หรือ โรคหัวใจ ได้ในที่สุด ขึ้นอยู่กับว่าเส้นเลือดตรงจุดไหนตีบตัน และส่งผลต่ออวัยวะอะไร อย่าง เช่น โรคความจำเสื่อม ที่เกิดอาจะได้ทั้งจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน หรือ จากการอักเสบที่ปลายประสาทอย่างเรื้อรัง เป็นต้น

การอักเสบเป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่ออันตราย โดยผ่านทางระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นสำคัญ การอักเสบ มี 2 ชนิด

การอักเสบเฉียบพลัน  

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด ที่นำเซลล์เม็ดเลือดขาวไปสู่บริเวณที่บาดเจ็บของเซลล์หรือเนื้อเยื่อนั้นๆ และต่อมาจะเกิดกระบวนการเก็บกินและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย (สารพิษ หรือ เชื้อโรค) ผลที่เกิดตามมาอาจเกิดได้ 4 ลักษณะ

 

ร่างกายกำลังเกิดการอักเสบภายใน

 

Resolution คือ การที่ร่างกายสามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อกลับสู่ปรกติ

Scar คือ การที่เกิดพังผืดขึ้นแทนที่เนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย

Abscess คือ การเกิดเป็นฝี หากมีการติดเชื้อ

Chronic inflammation คือ อาการสุดท้าย ที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้หมด โดยที่ขบวนการตอบโต้จากภูมิคุ้มกันยังคงดำเนินต่อ เนื่องไม่หายขาด หรือที่เรียกว่าการอักเสบเรื้อรัง

การอักเสบเรื้อรัง

เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายส่งเซลล์เม็ดเลือดขาวออกไปกำจัดสิ่งแปลกปลอมเป็นเวลานาน และมีข้อสันนิษฐานทางการแพทย์ว่า การทำงานอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้ระบบการสั่งงานของภูมิคุ้มกันเริ่มบกพร่อง และยังคงสั่งงานให้ทำลายสิ่งแปลกปลอมในร่างกายต่อไป ในขณะที่สิ่งแปลกปลอมเริ่มหมดไป และไม่มีสิ่งใดให้ทำลาย ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มหันกลับมาทำลายร่างกายของผู้ป่วย และก่อให้เกิดโรค NCD (non-communicable diseases) ต่างๆตามมา ขึ้นอยู่ว่าจะไปเกิดการอักเสบเรื้อรังที่ส่วนไหนของร่างกาย

แต่กระบวนอักเสบก็มีผลเสียด้วยเช่นกัน หากเกิดการอักเสบมากเกินไป หรือเกิดการอักเสบแบบเรื้อรังเป็นเวลานาน จะเกิดการทำลายเนื้อเยื่อทำให้เกิดการทำงานของเนื้อเยื่อนั้นผิดปกติ และก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆตามมา เมื่อมีสิ่งบ่งชี้ว่าเกิดการอักเสบขึ้นในร่างกาย จึงไม่ควรมองข้าม

สมองล้า

ภาวะสมองล้า (Brain Fog Syndrome) เนื่องจากสมองถูฏกช้งานอย่างหนักเป็นระยะเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนัก การพักผ่อนไม่เพียงพอ และที่สำคัญคือ “ความเครียด” ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย แล้วยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมาอีกด้วย

 

สมองล้า

 

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดความเครียด ด้วยการผ่อนคลายที่สามารถช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี จากกิจกรรมดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ และการหัวเราะยังสามารถลดความแข็งและการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดได้

เหนื่อยง่าย

อาการเหนื่อยง่ายนั้นเกิดจากอัตราการเต้นหายใจมากกว่าปกติ หรือเกิดจากภาวะที่ร่างกายมีพลังงานน้อยกว่าปกติจนส่งผลให้รู้สึกเหนื่อย โดยอาจเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งแม้อาการเหนื่อยจะเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังอักเสบ และอาจเป็นปัญหากับสุขภาพได้

ดังนั้น ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ด้วยการนอนพัก โดยในวัยผู้ใหญ่ (18-64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมง เพื่อลดการอักเสบ เนื่องจากการนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้พักผ่อน และสามารถซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้อีกด้วย

ปัญหากระเพาะอาหารเรื้อรัง

โรคกระเพาะอาหารเรื้อรังเกิดจากการอักเสบของกระเพาะอาหาร ที่มีสาเหตุหลักมาจากมาจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียเฮโลโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicombacter Pylori) หรือ เอชไพโลไร ซึ่งได้จากการกินอาหาร หรือ ดื่มน้ำที่ไม่สะอาดปนเปื้อนเชื้อโรค จึงทำให้กระเพาะอาหารติดเชื้อ และมีอาการปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะ ท้องเสีย ได้ ซึ่งการติดเชื้อนี้จะทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบเพื่อปกป้องตัวเอง

ดังนั้น การรักษาปัญหากระเพาะอาหารเรื้อรังสามารถรักษาด้วยการกินยาตามแพทย์แนะนำ และหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำ หรือกระตุ้นให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น อาหารรสจัด

ภาวะซึมเศร้า

นอกจากสภาวะทางจิตใจที่ส่งผลกระทบให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว  โรคทางร่างกายหลายโรคสามารถก่อให้เกิดอาการซึมเศร้าได้  เช่น โรคสมองอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด ทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบเพื่อปกป้องตัวเอง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเป็นโรคหรือกำลังได้ยาเหล่านี้ จะต้องเป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้าเสมอไป ดังนั้น หากสงสัยเกี่ยวกับอาการที่เป็นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ปวดข้อ ข้ออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ สามารถเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิต้านทานและกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อและกระดูกรอบข้อจนเกิดอาการปวดขึ้นมา หรือเกิดจากการการใช้กล้ามเนื้อเป็นเวลานานจนเกิดเป็นการอักเสบได้

ดังนั้น หากต้องทำการรักษาสามารถใช้ยาต้านการอักเสบ การพักผ่อนการบริหารร่างกาย  และการนวดเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ลงพุง มีไขมันในอวัยวะสูง

ความอ้วนจะทำให้ขนาดของเซลล์ไขมันโตขึ้น โดยจะมีเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ จะเข้าไปแทรกตัวใยบริเวณเนื้อเยื่อไขมัน การที่เซลล์ไขมันมีขนาดโตขึ้นในคนอ้วนนั้น มันจะเพิ่มการผลิตสารก่อให้เกิดการอักเสบหลายตัว  การมีไขมันสะสมมากก็ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง กลับกันการอักเสบก็สามารถทำให้ไขมันเพิ่มขึ้นเป็นความอ้วนได้เช่นกัน

ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ

โรคผิวหนัง

โรคผิวหนังอักเสบ เรียกว่า Eczema หรือ Dermatitis เกิดจากพันธุกรรม และเมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารเคมี จากประเภทเครื่องใช้ประจำวัน เครื่องประดับต่าง ๆ บางครั้งจึงอาจเรียกว่าผื่นระคายสัมผัส เมื่อผิวเกิดการอักเสบจะทำให้เกิดการผิวแห้ง ผื่นแดง โรคสะเก็ดเงิน กลากเกลื้อน ภูมิแพ้ต่าง ๆ ได้

 

การรักษาโรคเรื้อรัง

การรักษา

ในรายที่เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลัน ระบบคุ้มกันของร่างกายจะก่อให้เกิดกระบวนการรักษาเอง หากเกิดรุนแรงควรไปหาแพทย์ให้เช่วยรักษา ส่วนการอักเสบเรื้อรังที่ภูมิคุ้มกันทำลายร่างกายตัวเอง ยังไม่รู้สาเหตุแน่ชัด และส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการและปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค เช่นเดียวกับ โรคที่อยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD non-communicable diseases)  เหล่านี้ก็เช่นกันที่ไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงแต่ยารักษาตามอาการ และมักไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้ผลิตยารายใหญ่เพื่อการรักษาให้หายขาด

ผู้ป่วยส่วนมากมักจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต และมีข้อกังขาว่าเหตุใดบริษัทยาขนาดใหญ่ของโลกเกือบทั้งหมด มุ่งแต่ทำวิจัยและผลิตยาประเภทที่ต้องกินตลอดชีวิต แทนที่จะทำการผลิตยาเพื่อการรักษา ในส่วนที่เลวร้ายไปมากกว่านั้น ยาที่ต้องกินตลอดชีวิต มักก่อให้เกิดโรคอื่นๆตามมาในระยะยาว ผู้ป่วยมักรู้เท่าไม่ถึงการต่อสิ่งที่จะเกิดตามมา เนื่องอันตรายที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ด้วยเหตุนี้นี่เอง ที่ในปัจจุบันคนจำนวนหนึ่งจึงได้เปลี่ยนทัศนคติ และหันมาสนใจหายาทางเลือกเพื่อการรักษา และเริ่มหันมาใส่ใจในสุขภาพมากขึ้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคแทนการรักษาที่ต้องกินเคมีต่อเนื่องตลอดไปชีวิต

ข้อมูลประกอบจาก: รพ.พญาไท

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.