ขี้หลงขี้ลืม

10 สาเหตุใกล้ตัวทำ ขี้หลงขี้ลืม

สาเหตุใกล้ตัวทำ ขี้หลงขี้ลืม

ขี้หลงขี้ลืม สัปดาห์นี้คุณเสียเวลาไปกี่มากน้อยกับเรื่องหลงๆ ลืมๆ ไม่ว่าจะลืมกุญแจบ้าน กระเป๋าสตางค์ หรือแม้แต่ชื่อเพื่อนในออฟฟิศ หลายคนโทษว่าเป็นเพราะอายุที่มากขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าได้รู้สาเหตุที่ทำให้เรามีอาการขี้หลงขี้ลืมแล้ว คุณอาจจะประหลาดใจไปไล่ดู 10 สาเหตุใกล้ตัวที่พรากความทรงจำไปจากสมองของคุณกันค่ะ

แผนการลดน้ำหนักผิดๆ

การศึกษามากมายในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า เมื่อให้ผู้หญิงที่ลดน้ำหนักด้วยการจำกัดการกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ไปทดสอบเรื่องความจำ พบว่าได้คะแนนต่ำอย่างเห็นได้ชัด

จากการศึกษานี้ หัวหน้าทีมวิจัย ศาสตราจารย์ฮอลลีเทย์เลอร์ กล่าวว่า

“การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า อาหารที่เรากินสามารถส่งผลต่อความจำทันที”

ทฤษฎีการงดกินอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่เป็นหนึ่งในเทรนด์ลดน้ำหนักทำให้สมองได้รับกลูโคสไม่เพียงพอ ซึ่งกลูโคสนี้เป็นแหล่งพลังงานของสมอง จึงทำให้สมองอ่อนล้าไม่มีพลังที่จะจำเรื่องราวต่าง ๆ

ดังนั้นควรกินอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน โดยคำนึงถึงสัดส่วนที่พอเหมาะ เช่น อาหารชีวจิตสูตร 2 ที่ช่วยทั้งหุ่นดีและสมองใสปิ๊งกรดในกระเพาะอาหารน้อยเกินไป

หนึ่งในวิตามินที่สำคัญต่อความจำก็คือวิตามินบี 12 ซึ่งส่วนใหญ่พบในเนื้อสัตว์ แต่ปัญหาก็คือ ถ้ากระเพาะอาหารมีความเป็นกรดต่ำ ร่างกายจะดูดซึมวิตามินชนิดนี้ได้น้อยจึงส่งผลต่อการทำงานของสมองเกี่ยวกับความจำ

นอกจากนี้ เมื่อเราอายุมากขึ้น กระเพาะอาหารจะหลั่งกรดน้อยลงโดยอัตโนมัติ

โอเวน แอนเดอร์สัน นักโภชนาการแนวธรรมชาติบำบัดยังได้อธิบายถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารต่ำ เช่น เกิดความเครียด

ส่วนสัญญาณที่จะแสดงว่ากระเพาะอาหารมีความเป็นกรดต่ำ คือ จะมีอาการกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก และอาหารไม่ย่อย

โอเวนแนะนำว่า ถ้ามีอาการดังกล่าวมานี้ ให้เริ่มต้นมื้ออาหารด้วยอาหารรสขม เช่น ผักสลัดร็อกเกต มะระ อาหารเหล่านี้ จะช่วยกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งเป็นผลดีต่อการดูดซึมวิตามินบี 12 จึงช่วยให้สุขภาพสมองและความจำดีในที่สุด

ภาวะก่อนวัยทอง

ผู้หญิงส่วนใหญ่มักบ่นว่าตัวเองปํ้า ๆ เป๋อๆ เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง แต่แท้จริงแล้วช่วงก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause) เป็นช่วงที่ความจำแย่ที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการนึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตหรือการจำเรื่องใหม่ ๆ

ดร.เกล กรีนเดล จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส หรือยูซีแอลเอ ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า

“การที่ฮอร์โมนเอสโทรเจนตกลงอย่างฮวบฮาบในช่วงก่อนหมดประจำเดือนเป็นชนวนปัญหาเรื่องความหลงลืม เพราะฮอร์โมนเอสโทรเจนมีผลดีต่อส่วนต่าง ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่ในเรื่องความจำ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ อย่าตื่นตระหนก เพราะมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน”

ข่าวดีก็คือ สาว ๆ ชีวจิตที่ดูแลตัวเองด้วยการกินนอน ทำงาน พักผ่อน ออกกำลังกายอย่างสมดุล ตามแบบฉบับของ 5 เล็กชีวจิต บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่พบอาการก่อนวัยทอง และสามารถผ่านวัยทองได้อย่างแข็งแรงที่สุด

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.