ต่อมผู้พิทักษ์ มาทำความรู้จักกับ ระบบภูมิคุ้มกัน กันเถอะ
ระบบภูมิคุ้มกัน หรืออิมมูนซิสเต็ม (Immune System) ประกอบไปด้วยต่อมสำคัญๆ 7 ชนิด ตามคำอธิบายของ อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต หากต่อมเหล่านี้ทำงานผิดปกติ ร่างกายของเราก็จะอ่อนแอลงได้ จะมีต่อมอะไรบ้าง มาดูกันเลย
1. ต่อมทอนซิล และต่อมอะดีนอยด์
ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ (Tonsils / Adenoids) คือต่อมที่อยู่ในช่องปาก ตรงส่วนต่อกับลำคอ แม้จะฟังดู ไม่ค่อยมีความสำคัญ แต่อาจารย์สาทิสได้ ระบุเพิ่มเติมในหนังสือ เรื่องของภูมิชีวิต สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ไว้ว่า “เป็น ต่อมน้ำเหลืองซึ่งมีเซลล์น้ำเหลืองอยู่ จึงเป็นส่วนหนึ่งของภูมิชีวิต” ซึ่งถือว่าเป็น ด่านแรกๆของร่างกายที่คอยดักจับเชื้อโรค ที่บริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน
2. ต่อมไทมัส
ต่อมไทมัส (Thymus) เป็นต่อมใหญ่ขนาดประมาณสองเท่าของหัวแม่มือ อยู่กึ่งกลางกระดูกหน้าอก สมัยก่อนเราเข้าใจผิดกันว่าต่อมไทมัสมีความสำคัญเฉพาะตอนที่เราเกิดมาและเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเท่านั้น
แต่บัดนี้เรารู้แล้วว่าหน้าที่ของไทมัสมีมากกว่าเดิมคือ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยจะขับฮอร์โมนไทโมซิน (Thymosin) ออกมาทำหน้าที่ผลิตและสร้างความสมบูรณ์ของระบบภูมิชีวิตใน ร่างกายทั้งหมด และเป็นศูนย์กลางของระบบน้ำเหลืองอีกด้วย
3. ต่อมน้ำเหลือง
ต่อมน้ำเหลือง (Lymph Nodes) เป็น ต่อมที่มีระบบเป็นของตัวเอง เพราะหมายถึง ต่อม ท่อ หรือหลอดน้ำเหลืองทั่วร่างกาย และระบบนี้ทั้งระบบก็เป็นส่วนหนึ่งของภูมิชีวิตเช่นกัน ต่อมนี้มีอยู่หลายตำแหน่งในร่างกาย ได้แก่ คอ ใต้รักแร้ ช่องท้อง ขาหนีบ เป็นต้น ต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วตัวก็จริง แต่ก็ไม่สามารถทำงานเป็นเอกเทศ ต้องทำงานร่วมกับต่อมต่างๆ ต่อมน้ำเหลืองทำหน้าที่ลำเลียงเม็ด เลือดขาวเข้าสู่กระดูก นำบรรดาของเหลวที่ซึมอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อเข้าสู่หลอดน้ำเหลือง และยังดูดซึมและขนส่งกรดไขมันจากระบบย่อยอาหารอีกด้วย