ฟังเสียงจากข้อส่อ โรคกระดูกเสื่อม
โรคกระดูกเสื่อม เสียงจากข้อ เวลาทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เสียงขณะหักข้อนิ้วและข้อมือเสียงจากเข่าขณะกำลังลุกเดินหรือยืดขา เสียงจากข้อเท้าเวลาขยับข้อเท้า เสียงจากกระดูกต้นคอเวลาหมุนคอ เป็นต้น
หมอมักได้รับคำถามจากคนไข้และคนรอบตัวอยู่เสมอว่า เสียงเหล่านี้เกิดจากอะไรมีอันตรายหรือไม่ จำเป็นต้องไปตรวจเพิ่มเติมไหม บทความนี้จะช่วยตอบคำถามเหล่านี้ได้ค่ะ
ประเภทของข้อต่อที่เกิดเสียงได้ง่าย
คือ ไดอาร์โทรไดอัลจอยต์ (Diarthrodial Joint) ซึ่งพบมากที่สุดในร่างกาย ข้อต่อประเภทนี้ประกอบไปด้วยกระดูกสองชิ้นมาบรรจบกันตรงผิวกระดูกอ่อน โดยมีปลอกหุ้มข้อต่อ (Joint Capsule) ห่อหุ้มผิวกระดูกอ่อนอยู่ภายในปลอกหุ้มข้อต่อจะมีของเหลวที่ใช้หล่อลื่นข้อต่อเรียกว่า น้ำไขข้อ (Synovial Fluid) ซึ่งมีก๊าซ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่
ข้อต่อที่หักแล้วเกิดเสียงได้ง่ายที่สุด
คือ ข้อนิ้วมือของเรานั่นเองเสียงก๊อบแก๊บ กรอบแกรบ เสียงจากข้อนั้นเกิดได้ทั้งในกระดูกคอ เข่า นิ้ว หลังและข้อเท้า มีสาเหตุมากมาย เช่น
เกิดจากก๊าซในน้ำไขข้อกลายเป็นฟอง เนื่องจากเมื่อหักข้อนิ้วมือ ปลอกหุ้มข้อต่อจะถูกยืดขยายออก ทำให้แรงดันในข้อลดลง ก๊าซที่ละลายอยู่ในน้ำไขข้อจะผุดเป็นฟอง แล้วรวมตัวกันเป็นฟองก๊าซขนาดใหญ่ และเมื่อยืดข้อต่อออกไปอีกน้ำไขข้อจะไหลกลับเข้าสู่ข้ออีกครั้ง ทำให้ฟองก๊าซขนาดใหญ่เหล่านั้นยุบลงเป็นฟองขนาดเล็กอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดเสียงดังภายในข้อนั่นเอง
และเสียงจากการหักข้อนิ้วจะเกิดขึ้นอีกครั้งต่อเมื่อฟองก๊าซได้ละลายอยู่ในน้ำไขข้อแล้ว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 15 นาที
เกิดจากการเคลื่อนไหวของข้อ กระดูกอ่อน และเอ็นรอบๆ ข้อ ซึ่งทำให้เกิดเสียงได้ มักจะเป็นบริเวณข้อเข่าและข้อเท้า ข้อเสื่อม ทำให้พื้นที่ผิวข้อขรุขระ เมื่อมีการเสียดสีกันจะทำให้เกิดเสียงกรอบแกรบได้