กินผัก, ผัก, เลือกผัก, ล้างผัก, เก็บรักษาผัก

คู่มือ ฉลาด กินผัก

เทคนิคฉลาดซื้อ ฉลาด กินผัก

ด้วยแนวโน้มของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการบริโภคผักที่ปลอดสารพิษมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ปัจจุบันจะพบเห็นผักที่ตีตราว่าเป็นผักปลอดสารพิษ หรือผักออร์แกนิกวางจำหน่ายตามตลาดสดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตกันมากขึ้น

แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจากการเลือกซื้อผักที่ระบุว่าปลอดสารพิษแล้ว ยังมีเทคนิคง่ายๆ ที่หากคุณทำได้ จะช่วยปกป้องคุณจากสารเคมีตกค้างในผักได้อีกโขเลย

คุณวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ นักวิชาการชำนาญการพิเศษกรมวิชาการเกษตร ได้ให้หลักการเบื้องต้นในการเลือกซื้อผักไว้ดังนี้

สด ไม่เหี่ยวเฉา ไม่มีรอยช้ำหรือมีสีผิดธรรมชาติ

สะอาด ไม่มีเศษดินและสิ่งสกปรกเกาะเป็นคราบ และไม่มีคราบสีขาวซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงตกค้างอยู่ที่ผัก

ไม่มีกลิ่นฉุน เมื่อดมผักดูแล้วต้องไม่มีกลิ่นฉุนแสบจมูก

เลือกซื้อผัก, ผัก, กินผัก, เลือกกินผัก, วิธีการเลือกผัก
กินผักใบดีกว่าผักหัว เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า

เคล็ด (ไม่) ลับ แบบฉบับคนฉลาด เลือกกินผัก

  • กินผักอายุสั้นดีที่สุด

เลือกกินผักที่มีอายุสั้น เช่น ผักบุ้งซึ่งตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวมีช่วงเวลาเพียง 45 วันเท่านั้น โอกาสในการเกิดโรค และแมลงจนต้องฉีดยาฆ่าแมลง จึงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับผักที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายรุ่น

  • กินผักตามฤดูกาล

ทราบหรือไม่ ผักบางชนิดมีฤดูกาลการเติบโตของมัน เช่น ผักคะน้า ซึ่งฤดูกาลที่เติบโตได้ดีคือช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคม ทำให้ผักคะน้าในช่วงนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงมากเหมือนการปลูกผักคะน้านอกฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนที่มีทั้งโรคผักและแมลงศัตรูพืชมาก

  • กินผักใบดีกว่าผักหัว

เพราะผักหัวจะสะสมสารพิษไว้มากกว่า

  • กินผักให้หลากหลาย

ไม่ควรกินผักเพียงชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะมีโอกาสสูงที่สารเคมีตัวเดิมๆ ในผักจะเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกาย ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้

  • กินผักพื้นบ้านดีที่สุด

ลองหันมากินผักพื้นบ้านให้มากขึ้น เพราะผักพื้นบ้านส่วนใหญ่มักขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ และมีคนไปเก็บมาจำหน่าย ทำให้แน่ใจได้ว่าปลอดสารเคมีตกค้างอย่างแน่นอน

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.