แพ้อาหารทะเล, แพ้อาหาร, อาหารทะเล, วิธีแก้แพ้อาหาร

วิธีแก้ แพ้อาหาร แบบชีวจิต

วิธีแก้ แพ้อาหาร แบบชีวจิต

วิธีแก้ แพ้อาหาร ต้องทำอย่างไร บก.นิตยสารชีวจิตมาตอบเอง สบายใจได้ ก็อย่าลืมว่า ต้องหมั่นสังเกตร่างกายตัวเองเป็นประจำด้วย ป้องกันไว้ก่อน ดีที่สุด

บ.ก.ขอตอบ

รู้ว่าคำถามนี้ตรงใจใครหลายคน เพราะได้ยินคนรอบตัว ทั้งที่สนิทและไม่สนิทว่า “ฉันแพ้กุ้ง”  “ลูกฉันแพ้นม” “เคยได้ยินว่ามีคนแพ้ถั่ว…จริงเหรอ” “แม่ดาราคนนั้นแพ้กลูเต้นล่ะ” จึงทำให้บ.ก.นำมาหาคำตอบให้

ก่อนอื่น เราไปดูกันก่อนค่ะว่าการ แพ้อาหาร นั้น ที่นิตยสารชีวจิตเคยหาข้อมูลมานั้นว่าอย่างไรบ้าง

1. แพ้นม และผลิตภัณฑ์จากนม

อาการ ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด ปวดศีรษะไมเกรน

2. แพ้โปรตีนกลูเต้น เช่น อาหารที่ทำจากแป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต เบียร์

อาการ ท้องเสีย น้ำหนักตัวลด

3. แพ้ไข่ และอาหารที่มีส่วนผสมของไข่

อาการ เป็นผื่นแดง บวม ปวดมวนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน

4. แพ้อาหารทะเล กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก

อาการ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้อาเจียน ลมพิษ บวม

5. แพ้ถั่วลิสง และผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง

อาการ เป็นผื่นบวม ผิวหนังอักเสบ

6. แพ้ผงชูรส สารหรือยากันบูด ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารสำเร็จรูป สารแต่งอาหาร สารบอแร็กซ์ รวมทั้งแพ้อาหารหรือยาที่สัตว์เลี้ยงกิน และตกค้างอยู่ในสัตว์ เช่น หมู ไก่ กุ้ง

อาการ คอแห้ง กระหายน้ำ ผื่นคัน หอบหืด

เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้น อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ โดยเป็นน้ำเปล่า น้ำอุ่น น้ำข้าว เพื่อให้สารที่ร่างกายแพ้นั้นเจือจางลง ถ้าจะให้ดี ใครทำดีท็อกซ์แบบสวนทวารเป็น ก็ให้ทำวัน 2-3 ครั้งร่วมด้วย เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้าไป ก็จำเป็นต้องช่วยร่างกายขับพิษออกจากร่างกาย ยืนยันโดยนายแพทย์แดเนียล โรตริกิว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด โรงพยาบาลแอตแลนตา สหรัฐอเมริกา

แพ้อาหาร, วิธีแก้แพ้อาหาร, ดื่มน้ำ, แพ้อาหารทำอย่างไร, อาการแพ้อาหาร

ส่วนในรายที่ อาการแพ้ปรากฏอยู่ในระบบย่อย เช่น ปวดท้อง ปวดท้อง ท้องเสีย ท้องเดิน ให้ใช้วิธีแบบภูมิปัญญาไทยโบราณ ผสมกับวิธีชีวจิต นั่นคือ

  1. ใช้เปลือกต้นฝรั่งขนาดฝ่ามือปิ้งไฟให้เกรียม ชงน้ำอุ่นดื่มหลังอาหาร 3 มื้อ
  2. ใช้ยาธาตุบรรจบและขมิ้นชันอย่างละ 3 เม็ด 3 มื้อ
  3. กินอาหารอ่อน เช่น ข้ามต้มซ้อมมือ เติมเกลือ 1 หยิบมือ หรือดื่มน้ำอาร์ซีร้อน วันละ 3 แก้ว
  4. ทำดีท็อกซ์ในวันที่ 2, 3 และ 4

วิธีการดังกล่าว ใช้ได้กับกรณีที่เกิดอาการอาหารเป็นพิษด้วย และเพื่อป้องกันการเกิดอาการครั้งแล้วครั้งเล่า แนะนำให้ไปพบแพทย์ วินิจฉัยว่า เราแพ้อะไร แล้วหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น

อย่างไรก็ตาม วิธีการที่แนะนำไปเป็นการเยียวยาอาการเบื้องต้น หากไม่ดีขึ้นในวันสองวัน บ.ก.แนะนำให้ลดความดื้อดึง แล้วไปพบแพทย์ค่ะ

 

สุดท้าย มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพ อินบ็อกซ์มา บ.ก.ขอตอบให้ค่ะ


บทความน่ารู้อื่นๆ

กินดีอยู่ดี สะอาดมากไป เสี่ยงเป็นโรคภูมิแพ้อาหารจริงหรอ

แพ้กุ้งแพ้อาหาร เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรมองข้าม

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.