ถั่วลันเตา
วารสาร The Journal of the American College of Nutrition สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารและตรวจสภาพผิวหนังของอาสาสมัครจาก 3 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย กรีซ และสวีเดน พบว่า ผู้ที่มีผิวอ่อนเยาว์มักเป็นผู้ที่นิยมกินพืชตระกูลถั่วฝัก (Legume) เช่น ถั่วลันเตาเป็นประจำ กินผักปริมาณมาก ใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหาร และกินปลา
โดย ถั่วลันเตา 1 ถ้วยตวง ให้วิตามินซี 37 มิลลิกรัม คิดเป็น 37 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการใน 1 วัน มีใยอาหารสูงถึง 15 เปอร์เซ็นต์ และฟอสฟอรัส 8 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการใน 1 วัน ถือว่ามีปริมาณใยอาหารและฟอสฟอรัสสูงเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น
ใยอาหาร มีคุณสมบัติช่วยดักจับไขมันและสารพิษในร่างกาย ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ส่งผลให้มีผิวพรรณสดใส ไกลสิว หากกินเป็นประจำยังช่วยป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง
ส่วน ฟอสฟอรัส คือ เกลือแร่ในร่างกาย ที่พบปริมาณมากรองจากแคลเซียม โดยสารอาหารทั้งสองชนิดนี้ทำหน้าที่ร่วมกันในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อและเซลล์ต่าง ๆ ช่วยกรองของเสียออกจากร่างกายผ่านไต มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญในร่างกายเกี่ยวข้องกับการเก็บและใช้พลังงานในร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีหน้าที่รักษาสมดุลในการใช้เกลือแร่และวิตามินต่างๆ ในร่างกาย เช่น วิตามินดี แมกนีเซียม สังกะสี
มะระขี้นก
มะระขี้นกมีรสขม แต่กลับมี วิตามินซีสูงกว่าผักหลายชนิด พบว่าปริมาณ 1 ถ้วยตวง มีวิตามินซีมากกว่า 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคใน 1 วัน โดยมีวิตามินซีสูงถึง 121.6 มิลลิกรัม มีใยอาหารสูงมาก คิดเป็น 18 เปอร์เซ็นต์ มีลูทีน (Lutein) สูงถึง 507.3 ไมโครกรัม
โดย ลูทีนเป็นสารแอนติออกซิแดนต์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ช่วยป้องกันไม่ให้เซลล์ถูกทำลาย จากฟรีแรดิคัลที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกายมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพสายตา ช่วยในการมองเห็น ช่วยป้องกันการเกิดโรคต้อกระจกและโรคเกี่ยวกับสายตาเนื่องจากความเสื่อมของเซลล์ในผู้สูงอายุ