อาหารดี มีมากมาย อาหารสด อาหารสะอาด อาหารมากประโยชน์ ล้วนเป็นอาหารดีๆ แต่อาหารดี เพื่อตับของเรา มีอะไรบ้าง วันนี้ เราจะมาเจาะลึกกัน
หนังสือ รับมือโรคตับให้อยู่หมัด สำนักพิมพ์อินสปายร์ แนะนำให้ปฏิบัติ ดังนี้
กินผักให้มาก ๆ
ผักอุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการนำไปใช้เป็น พลังงานที่มีประสิทธิภาพของร่างกาย วิตามินเป็นส่วนหนึ่งในการ สร้างตับ หากประสิทธิภาพการทำงานของตับลดลงความสามารถ ในการสร้างพลังงานก็จะลดลงด้วย และแร่ธาตุก็มีความจำเป็น อย่างมากต่อการทำงานของตับในกระบวนการเมแทบอลิซึม สารอาหารและการล้างพิษ
กินอาหารที่มีเส้นใย
ผู้ที่มีภาวะตับผิดปกติควรป้องกันการท้องผูก เพราะภาวะท้องผูกจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ตับ จึงควรกินอาหารที่มีเส้นใย เส้นใยมี 2 ชนิด คือ
– เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เมื่อละลายน้ำแล้วจะมีลักษณะเป็นวุ้นช่วยดูดซึมกลูโคสและคอเลสเตอรอล ลดระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว พบมากในผักประเภทกะหล่ำ ผลไม้ หรือสาหร่ายทะเล
– เส้นใยอาหารที่ไม่ละลายในน้ำ ช่วยดูดซึมน้ำและสารพิษ แล้วกระตุ้นให้เกิดการกำจัดของเสียออกจากร่างกายทั้งทางเหงื่อและปัสสาวะ ช่วยให้การขับถ่ายของลำไส้ดีขึ้น พบมากในอาหารจำพวกข้าวที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ หัวมัน หรือถั่ว
กินอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนต์
อนุมูลอิสระ (Free Radical) เกิดขึ้นจากหลาย สาเหตุทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ส่งผลให้เยื่อหุ้มเซลล์และยีนผิดปกติ
หากตับต้องขจัดสารพิษที่เกิดจากแอลกอฮอล์และยามากเกินไปก็จะเป็นบ่อเกิดของสารอนุมูลอิสระเช่นกัน ดังนั้นควรกินอาหารที่มีสารแอนติออกซิแดนต์ ได้แก่
– อาหารกลุ่มที่มีวิตามินชีสูง เช่น เชอร์รี่ไทย กีวี่ ผักซีฝรั่ง บรอกโคลี
– อาหารกลุ่มที่มีวิตามินอีสูง เช่น ปลาไหล ไข่ปลา ค็อด อัลมอนด์
– อาหารกลุ่มที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ แครอต ฟักทอง ปวยเล้ง
– อาหารกลุ่มคลอโรฟิลล์ ได้แก่ หัวไช้เท้า กุยช่าย พริกหวาน
– อาหารกลุ่มคาเทชิน ได้แก่ ชาเขียว
– อาหารกลุ่มไลโคปีน ได้แก่ มะเขือเทศ แตงโม
– อาหารกลุ่มเคอร์คิวมิน ได้แก่ ขมิ้น
– อาหารกลุ่มไอโซฟลาโวน ได้แก่ ถั่วเหลือง เต้าหู้
– อาหารกลุ่มแอนโทไซยานิน ได้แก่ บลูเบอร์รี่ มะเขือม่วง กะหล่ำม่วง
รู้แบบนี้แล้ว รีบไปหามากินกันเลยนะคะ
ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 587
บทความอื่นที่น่าสนใจ
หยุด! ดื่ม บรรดาเครื่องดื่มแบบนี้ ถ้าไม่อยากมีไขมันพอกตับ