มะระผัดเนื้อหมูVSชาดอกกุหลาบ เมนูเด็ดระเห็จโรคซึมเศร้า!

อาหารสมุนไพรจีนต้านโรคซึมเศร้า

ศาสตราจารย์คลีนิค แพทย์จีน นพ.ภาสกิจ   วัณนาวิบูล

ภาวะซึมเศร้า มักมีการแสดงออกหลายอาการหรือเป็นกลุ่มอาการ เช่น มีความภูมิใจในตัวเองลดลง  ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน   มักคุ้นคิดหรือรู้สึกถึงความไม่มีคุณค่า  ความเสียใจ หรือ รู้สึกผิดอย่างไม่มีเหตุผล   หมดหวัง  สมาธิแย่ลง  นอนไม่หลับ  ความจำสั้น  แยกตัวออกจากสังคม  ความต้องการทางเพศลดลง  บางรายมีความคิดเกี่ยวกับ , ความตายหรือการฆ่าตัวตาย

แพทย์แผนจีนให้ความสำคัญของภาวะทางอารมณ์ที่มากระทบอย่างรุนแรงหรือยาวนาน  จะมีผลต่อกลไกการเคลื่อนไหวของพลัง  ทำให้เป็นผลร้ายกระทบต่ออวัยวะภายในที่แน่นอน  เช่น อารมณ์โกรธทำลายตับ  อารมณ์วิตกกังวลทำลายม้าม อารมณ์ดีใจทำลายหัวใจ อารมณ์เศร้าโศกเสียใจทำลายปอด อารมณ์กลัวทำลายไต

ภาวะทางอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์เก็บกดหงุดหงิดจากการคิดกังวลมากเกินปกติ  จะเกิดการติดขัดของการไหลเวียนพลังของอวัยวะตับ นานเข้าเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นความร้อน และนำไปสู่ภาวะทางจิตเป็นลักษณะของความซึมเศร้าที่มีแนวโน้มไปทางเก็บกด ไม่แสดงออก  หดหู่ซึ่งเป็นด้าน “หยิน”  หรือแนวโน้มไปทางคลุ้มคลั่ง  โวยวายซึ่งจัดเป็นด้าน “หยาง” ภาวะทางอารมณ์มีผลต่ออวัยวะภายในหลายอวัยวะ  มีอาการแสดงออกหลายอาการหรือเป็นกลุ่มอาการ

แพทย์แผนจีน  เรียกภาวะซึมเศร้าว่า “ อื่อวี่เจิ้ง ”(抑郁症)เป็นผลจากอารมณ์ที่ไม่ได้รับการระบาย  ตับเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการเก็บเลือดและระบายพลังและเลือด    ในกรณีที่ร่างกายต้องการใช้พลังและเลือดเพิ่มเติมเพื่อการปรับเปลี่ยนอารมณ์ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า   พลังตับที่ไม่ถูกระบายหรือกลไกพลังติดขัด เรียกว่า พลังตับอุดกั้น  การแก้ไขคือต้องให้มีการระบายพลังตับ  ขณะเดียวเดียวกันยังต้องเสริมบำรุงพลังของม้าม (ช่วยการย่อยและดูดซึม) รวมทั้งการบำรุงหัวใจ  ทำให้จิตใจสงบ

กลุ่มอาหารที่มีฤทธิ์ช่วยการย่อยเสริมม้ามช่วยนอนหลับ  คือ  ข้าวฟ่าง พุทราจีน วอลนัท เปลือกอบเชยลูกบัว นมสดกรณีที่มีความร้อนภายในรุนแรงพิจารณาการใช้ มะระต้มกระดูกหมู  เพื่อลดความร้อนภายในของตับ

ตัวอย่างเครื่องดื่มและอาหารสมุนไพร

ตำรับ 1 เครื่องดื่มเปลือกส้มโอ ,ส้มเช้ง , ซานจา(山楂)

ใช้เปลือกส้มโอ (柚皮)จำนวน 10   กรัม  หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตากแห้ง

เปลือกส้มเช้ง (陈皮)      10           กรัม

ซานจา(山楂) (มีรสเปรี้ยว) 10           กรัม

พุทราจีน                 (大枣)                3              ผล

น้ำเปล่า                        8            ถ้วย

วิธีทำ

ต้มน้ำให้เดือดสัก 5 นาที  ดื่มแทนน้ำชา

สรรพคุณเปลือกส้มโอส้มเช้งช่วยกระจายลดการอุดกั้นของพลังตับ

ซานจา(山楂) ช่วยย่อย รสเปรี้ยวเข้าเส้นลมปราณตับ

พุทราจีน (大枣)                เสริมระบบย่อย

ตำรับ 2. ชาดอกกุหลาบ玫瑰花茶

ดอกกุหลาบแห้ง 6กรัม /  หัวแห้วหมู(香附)6 กรัม / น้ำเปล่า 4 ถ้วย  ต้มเป็นชาดื่ม

สรรพคุณ  บรรเทาอาการเจ็บชายโครง แน่นในอก เนื่องจากพลังตับติดขัด

มะระผัดเนื้อหมู
มะระผัดเนื้อหมู

ตำรับ 3 มะระผัดเนื้อหมู

ส่วนผสม (สำหรับ 2 ที่)

เตรียม  30 นาที ปรุง 10 นาที

มะระ                       300         กรัม

เนื้อหมู(เนื้อแดง )   150         กรัม

น้ำมันพืช ซอสปรุงรส น้ำตาล เล็กน้อย

วิธีทำ

หั่นมะระเป็นชิ้นเล็กๆ  เติมน้ำต้มจนเดือด  เทน้ำออก (ล้างความขม)หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นเล็กๆ ผัดกับน้ำมัน

นำมะระมาผัดรวมกัน   ปรุงแต่งรสชาติตามความต้องการ

ล้อมกรอบ

มะระ   สรรพคุณ  ระบายความร้อนของตับ

เนื้อหมู สรรพคุณ  บำรุงร่างกาย

หมายเหตุ

  1. ใช้กับภาวะที่ซึมเศร้าหงุดหงิดทีมีความร้อนภายในมาก
  2. เราสามารถใช้เครื่องดื่มสูตรแรกและสูตร2 ทำเป็นอาหารควบคู่กันไป

กรณีนอนไม่หลับ  จะพิจารณาใช้พุทราจีนกับเม็ดบัวต้มเป็นน้ำ ดื่มอีกตำรับหนึ่ง

 

พลังงานต่อหนึ่งหน่วยบริโภค 184.57 กิโลแคลอรี โปรตีน 23.81 กรัม  ไขมัน 5.69 กรัม คาร์โบไฮเดรต 9.59 กรัม  ไฟเบอร์4.20 กรัม

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.