หลวงพ่อลอยน้ำ

เบญจภาคีวารีปาฏิหาริย์ เล่าขานตํานาน หลวงพ่อลอยน้ำ 5 องค์

เบญจภาคีวารีปาฏิหาริย์ เล่าขานตำนาน หลวงพ่อลอยน้ำ 5 องค์

ตามตํานานกล่าวว่า พี่น้องชาวเมืองเหนือ 5 คน บวชเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา และสําเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน จึงพร้อมใจกันตั้งสัจอธิษฐานว่า “เกิดมาชาตินี้จะขอบําเพ็ญบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ แม้ตายไปแล้วก็จะสร้างบารมีช่วยสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ต่อไปจนกว่าจะถึงซึ่งนิพพาน”
1
เมื่อพระอริยบุคคลทั้ง 5 ดับขันธ์แล้ว ก็เข้าสถิตอยู่ในองค์พระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ ด้วยปรารถนาจะช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้คนที่อยู่ทางใต้ จึงลอยน้ำลงมาตามแม่น้ํา 5 สาย
2
เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ํำเห็นพระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ลอยน้ํำมา ต่างพากันเลื่อมใส จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นฝั่งและอาราธนาให้ขึ้นประดิษฐานที่วัดใกล้กับจุดที่ชะลอองค์พระขึ้นจากแม่น้ํำ ดังนี้
3
• หลวงพ่อโสธร ลอยมาตามแม่น้ํำบางปะกง ประดิษฐานที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร อําเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา
4
• หลวงพ่อโต ลอยมาตามแม่น้้ำเจ้าพระยา ประดิษฐานที่วัดบางพลีใหญ่ในอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
5
• หลวงพ่อบ้านแหลม ลอยมาตามแม่น้ํำแม่กลอง ประดิษฐานที่วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) อําเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม
6
• หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา ลอยมาตามแม่น้ํำเพชรบุรี ประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
7
• หลวงพ่อวัดไร่ขิง ลอยมาตามแม่น้ํำนครชัยศรี ประดิษฐานที่วัดไร่ขิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
8
อย่างไรก็ตาม บางตํานานเล่าว่า การที่พระพุทธรูปทั้ง 5 องค์ลอยน้ํำมานี้ เนื่องจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ข้าศึกได้เผาไฟเพื่อหลอมเอาทองที่หุ้มองค์พระพุทธรูปชาวบ้านต้องการรักษาพระพุทธรูปไว้ จึงนําปูนหรือรักดําไปพอกองค์พระเพื่อให้ดูไม่สวยงามและปกปิดไม่ให้ข้าศึกเห็นทอง แต่เมื่อไม่อาจปกป้องได้จึงขนย้ายพระพุทธรูปสําคัญลงแพไม้ไผ่ล่องมาตามแม่น้ํำเพื่อไม่ให้ข้าศึกทําลาย ด้วยน้ํำหนักขององค์พระเมื่อวางลงบนแพไม้ไผ่จึงดูเหมือนพระพุทธรูปลอยมาตามน้ํำ ทําให้ผู้คนทั่วไปที่พบเห็นถือเป็นเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระพุทธรูปองค์ใหญ่น้ํำหนักมากสามารถลอยน้ําได้
หลวงพ่อลอยน้ำ

หลวงพ่อโสธร แม่น้ํำบางปะกง

หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา ประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร อําเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้างประมาณ 1 ศอกเศษปางขัดสมาธิเพชร แต่ได้เสริมแต่งขึ้นจากเดิมโดยพอกปูนลงรักปิดทองให้เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 5 นิ้ว พระเนตรเนื้อเลียนแบบพระพุทธรูปสมัยล้านช้าง
9
แต่ก่อนบริเวณวัดโสธรฯเป็นป่า มีคนอาศัยอยู่น้อย การคมนาคมไม่ค่อยสะดวก เมื่อหลวงพ่อโสธรมาประดิษฐานอยู่ที่วัดแล้ว ชาวประมงรวมถึงพ่อค้าทางเรือจึงให้ความนับถือเป็นอย่างมาก เชื่อกันว่า หากขอพรจากหลวงพ่อโสธรแล้วจะทํามาค้าขึ้น เรือที่ผ่านไปผ่านมาเมื่อถึงโบสถ์หลวงพ่อจะวักน้ํำในแม่น้ํำซึ่งถือว่าเป็นน้ํำมนต์หลวงพ่อดื่มบ้างลูบศีรษะบ้าง รวมถึงประพรมสินค้าในเรือเพื่อความเป็นสิริมงคล
หลวงพ่อลอยน้ำ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเคยมีพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับหลวงพ่อโสธรเมื่อคราวเสด็จประพาสจังหวัดฉะเชิงเทราไว้ว่า “กลับมาแวะวัดโสธร ซึ่งกรมหลวงดํารงคิดจะแปลว่ายโสธรจะให้เกี่ยวข้องแก่การที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากการไปตีเขมร แผ่นดินพระบรมไตรโลกนาถหรือเมื่อใดนั้นเป็นที่สงสัยด้วยเห็นไม่ถนัด พระพุทธรูปทําด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สําคัญว่าเป็นหมอดีนั้นคือองค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงามเป็นทํานองเดียวกันกับพระพุทธรูปเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายเป็นด้วยฝีมือผู้ปั้นไปว่าลอยน้ํำมาก็เป็นความจริง เพราะเป็นศิลา คงจะไม่ได้ทําในที่นี้”
หลวงพ่อลอยน้ำ

หลวงพ่อบ้านแหลม แม่น้ํำแม่กลอง

หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรสูงเท่าคนจริง ประดิษฐาน ณ วัดเพชรสมุทรวรวิหาร (วัดบ้านแหลม) อําเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสงคราม หล่อด้วยสัมฤทธิ์ผสมทอง เงิน นาก บริเวณฐานพระบาทมีดอกบัวรองรับพระบาทอยู่บนแท่นฐานแข้งสิงห์ซึ่งก่อสูงขึ้นประมาณ 45 เซนติเมตร ส่วนองค์พระสูง 167 เซนติเมตร เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา บาตรเดิมสูญหายไป ต่อมาสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชเสด็จฯมานมัสการและถวายบาตรแก้วสีเงิน ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้
หลวงพ่อลอยน้ำ
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ทรงเลื่อมใสหลวงพ่อบ้านแหลม ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 6 ที่พระราชทานมายังพระครูมหาสิทธิการ (แดง) ความว่า “ปีกลายนี้ สมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯไปยังเมืองสมุทรสงคราม ในกระบวนหลวงได้รับสั่งให้คนนําเครื่องสักการะไปถวายหลวงพ่อบ้านแหลม และได้รับสั่งไว้ แต่ครั้งนั้นว่าขอผลอานิสงส์ความทรงเลื่อมใส จงบันดาลให้หายประชวร ครั้นเสด็จฯกลับถึงกรุงเทพฯได้ไม่นานก็หายประชวร จึงทรงระลึกถึงที่ได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานไว้สมพระประสงค์ โปรดพระราชทานปัจจัยเป็นมูลค่า 800 บาท มาเพื่อช่วยในการปฏิสังขรณ์วัดบ้านแหลม ข้าพเจ้าได้ส่งมาให้ท่านพระครูทางกระทรวงธรรมการแล้ว”
หลวงพ่อลอยน้ำ

หลวงพ่อโต แม่น้ํำเจ้าพระยา

หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย องค์ทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ลืมพระเนตร เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดบางพลีใหญ่ใน อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ผู้คนต่างกล่าวขวัญถึงความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะของชาวบางพลีและพุทธศาสนิกชนทั่วไปสันนิษฐานว่าการที่ท่านได้นามว่า“หลวงพ่อโต”คงเป็นเพราะมีพระองค์ใหญ่โตน่าเกรงขาม
10
เมื่อครั้งที่หลวงพ่อลอยน้ํำมาบริเวณหน้าวัดพลับพลาไชย ชนะสงคราม หรือปัจจุบันคือวัดบางพลีใหญ่ แพที่ผูกชะลอองค์ท่านก็เกิดหยุดนิ่ง ชาวบางพลีเห็นเป็นอัศจรรย์ ต่างก้มลงกราบนมัสการด้วยความเคารพสักการะ แล้วพร้อมใจกันอาราธนาตั้งจิตอธิษฐานว่า “ถ้าหลวงพ่อจะโปรดคุ้มครองชาวบางพลีให้ได้รับความร่มเย็นเป็นสุขแล้ว ก็ขออาราธนาอัญเชิญองค์ท่านให้ขึ้นจากน้ํำได้โดยง่ายเถิด”
หลวงพ่อลอยน้ำ
หลังจากนั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อโตก็เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวบ้านบางพลี สมุทรปราการ สืบเนื่องต่อมา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 มีเรื่องเล่าขานว่าเกิดปาฏิหาริย์ที่องค์ท่านซึ่งเป็นทองคําสัมฤทธิ์เกิดนุ่มนิ่มไปหมดทั้งองค์เหมือนผิวหนังมนุษย์ และต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ก็เกิดปรากฏการณ์เช่นนี้อีกครั้งหนึ่ง ทําให้เกิดแรงศรัทธาจากชาวบ้านและผู้คนจากทั่วสารทิศมากยิ่งขึ้น
หลวงพ่อลอยน้ำ

หลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา แม่น้ํำเพชรบุรี

หลวงพ่อทองเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ประดิษฐาน ณ วัดเขาตะเครา อําเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะเชียงแสน มีขนาดหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 29 นิ้ว พระมงคลวชิราจารย์ (หลวงพ่อสุข) เจ้าอาวาสวัดเขาตะเครา เล่าถึงที่มาของชื่อหลวงพ่อทองว่า เดิมชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ว่า “หลวงพ่อวัดเขาตะเครา” ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของชาวประมงเป็นอย่างมาก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา” เป็นพระพุทธรูปองค์เดียวในจํานวน 5 องค์พี่น้องที่มีแผ่นทองคําเปลวปิดหุ้มอยู่หนามากจนแลไม่เห็นความงามตามพุทธลักษณะเดิม แต่จากหลักฐานที่สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศเมืองเพชร คราวที่แวะไหว้หลวงพ่อ (ทอง)วัดเขาตะเครา ทําให้พอสันนิษฐานได้ว่า หลวงพ่อองค์นี้เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสัมฤทธิ์ ดังความที่ว่า
11
“ไปครู่หนึ่งถึงเขาตะเคราสวาท
มีอาวาสวัดวามหาเถร
มะพร้าวรอบขอบที่บริเวณ
พอจวนเพลพักร้อนผ่อนสําราญ
กับหนูพัดจัดธูปเทียนดอกไม้
ขึ้นไปไหว้ พระสัมฤทธิ์ พิษฐาน
เขานับถือลืออยู่แต่บุราณ
ใครบนบานพระรับช่วยดับร้อน”
12
ดังคํากลอนของสุนทรภู่ที่กล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ (ทอง) เขาตะเครา หลายคนที่มาขอพรบนบานศาลกล่าว หากต้องการให้ได้ผลเร็ววันต้องบวช จะบวชพระ บวชเณร บวชชี บวชชีพราหมณ์ก็ได้ ทั้งนี้อาจเป็นกุศโลบายเพื่อให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอันดี เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต
หลวงพ่อลอยน้ำ

หลวงพ่อวัดไร่ขิง แม่น้ํำนครชัยศรี

หลวงพ่อวัดไร่ขิงเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก 2 นิ้ว สูง 4 ศอก 16 นิ้วเศษ มีพุทธลักษณะสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนาและล้านช้าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ได้อัญเชิญมาจากวัดศาลาปูน โดยนําล่องมาทางน้ําด้วยแพไม้ไผ่รองรับองค์พระปฏิมากร เมื่อถึงหน้าวัดไร่ขิงจึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ภายในอุโบสถวัดไร่ขิง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ํ่า เดือน 5 ซึ่งเป็นวันสงกรานต์พอดี จึงมีประชาชนจํานวนมากมาชุมนุมกัน ในขณะที่อัญเชิญองค์หลวงพ่อขึ้นจากแพสู่ปะรําพิธี ได้เกิดอัศจรรย์ แสงแดดที่แผดจ้าหายไปกลายเป็นเมฆดําฟ้าคะนอง และมีฝนโปรยลงมาทําให้เกิดความเย็นฉ่ํ่า ประชาชนที่มาต่างพากันตั้งจิตอธิษฐานเป็นหนึ่งเดียวกันว่า “หลวงพ่อจะทําให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ดับความร้อนร้ายคลายความทุกข์ให้หมดไป ดุจสายฝนที่ดลให้ชุ่มฉ่ํ่าเจริญงอกงามด้วยธัญญาหารฉะนั้น”
หลวงพ่อลอยน้ำ
หลวงพ่อลอยน้ำ
ดังนั้นนอกจากวันสงกรานต์จะเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีแล้ว วัดไร่ขิงยังถือเป็นวันสําคัญและจัดให้มีงานเทศกาลนมัสการปิดทองประจําปีหลวงพ่อวัดไร่ขิงสืบต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้
13
ความเชื่อและความศรัทธาที่คนไทยมีต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์นับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่จะช่วยให้ผู้คนตั้งมั่นอยู่ในความดี และเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนา รวมถึงเป็นเครื่องมือในการบอกเล่าเรื่องราวและรากเหง้าของชุมชนได้เป็นอย่างดี
14
ขอบคุณข้อมูล
15
คู่มือเดินทางสร้างบุญ : โครงการ“เบญจภาคีวารีปาฏิหาริย์” การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สํานักงานเพชรบุรี สํานักงานสมุทรสงคราม และสํานักงานกรุงเทพมหานคร
16
บทความเรื่อง “ตํานานหลวงพ่อลอยน้ํา 5 พี่น้อง” www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13542
17

ที่มา : นิตยสาร Secret  ฉบับที่ 181

ผู้เขียน : อรอุมา ศิลป์วัฒนานุกูล

ภาพ : วรวุฒิ วิชาธร / อรอุมา
18

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.