ความปรารถนาดี

วิธีส่งความปรารถนาดีให้กับตัวเอง จงรักตัวเองก่อนรักคนอื่น

วิธีส่ง ความปรารถนาดี ให้กับตัวเอง จงรักตัวเองก่อนรักคนอื่น

คนจิตใจดีมักจะมอบ ความปรารถนาดี ให้กับคนอื่นๆ อยู่เสมอ จนลืมที่จะส่งความปรารถนาดีนี้ให้ตัวเอง ทำให้คนอื่นมีความสุขทั้งกายและใจ แต่ตัวเองกลับต้องเป็นทุกข์ ลองมาดูกันว่า เราจะมีวิธีส่งความปรารถนาดีให้ตัวเองได้อย่างไรบ้าง

 

ความปรารถนาดีคืออะไร

สำหรับคนจำนวนมาก นี่เป็นสิ่งที่ฟังเผิน ๆ ดูจะง่าย แต่ว่าความจริงแล้วยาก ทั้งนี้เพราะไม่แน่ว่าคุณอาจถูกเลี้ยงดูขึ้นมาให้คิดว่า ตัวคุณเองไม่ได้มีความสำคัญมากเท่าเทียมกับคนอื่น บางทีคุณอาจเคยพยายามยืนหยัดเพื่อตัวเองมาแล้ว แต่ถูกกีดกันหรือว่าถูกผลักล้มลงไป หรือบางทีลึก ๆ ลงไปแล้วคุณรู้สึกว่าคุณไม่สมควรที่จะมีความสุข

ลองคิดดูว่าการเป็นเพื่อนที่ดีให้กับใครสักคนนั้นเป็นอย่างไร จากนั้นก็ลองถามตัวคุณเองดูว่า เราเป็นเพื่อนชนิดนั้นให้กับ ตัวของเราเอง หรือยัง

ถ้ายัง นั่นหมายความว่าคุณอาจจะโหดร้ายกับตัวคุณเองไปหน่อย หรืออาจจะวิพากษ์ตัวเองไวไปนิดว่าคุณยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร หรือไม่ใส่ใจนักกับสิ่งที่คุณทำได้สำเร็จในแต่ละวัน ไม่แน่ว่าคุณอาจไม่ค่อยปกป้องตัวเองเท่าใดนักจากการถูกย่ำยี หรือคุณอาจไม่ค่อยเต็มใจนักที่จะบอกคนอื่นว่าที่จริงแล้วคุณต้องการอะไร

 

 

ทำไมจึงต้องส่งความปรารถนาดีให้ตัวเอง

บางครั้งคุณอาจยอมทนความเจ็บปวดมากเกินไป หรือคุณอาจลงมือช้าเกินไปในการแก้ไขอะไรสักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่คุณคิดในหัวของคุณหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกกว้าง เพื่อทำให้ชีวิตของคุณดีขึ้นอีกประการหนึ่ง คุณจะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างไรถ้าคุณไม่เริ่มต้นด้วยการช่วยตัวคุณเองก่อน  รากฐานของหลักการปฏิบัติทุกอย่างก็คือการส่งความปรารถนาดีให้กับตัวคุณเอง การยอมให้ความโศกเศร้า ความต้องการ และความฝันของคุณ เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับคุณ ถ้าคุณทำได้เช่นนั้นแล้ว ไม่ว่าคุณจะทำอะไรให้ตัวเองก็จะมีพลังอันมหาศาลคอยผลักดันอยู่ข้างหลัง!

 

วิธีมอบความปรารถนาดีให้ตัวเอง

1.ถามตัวคุณเองวันละหลาย ๆ ครั้งว่า ฉันกำลังอยู่ข้างตัวเอง หรือเปล่า ฉันกำลังทำสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อตัวฉันที่สุดอยู่หรือเปล่า (ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้อื่นด้วย)

2.เวลาที่เหมาะที่จะฝึกปฏิบัติคือ

3.เมื่อคุณรู้สึกแย่ (เช่น เศร้า เจ็บปวด กังวล ผิดหวัง ถูกย่ำยี ไม่ได้ดั่งใจ เครียด หรือว่าหงุดหงิดใจ)

4.เมื่อมีคนกดดันให้คุณทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด

5.เมื่อคุณรู้ตัวว่าคุณควรทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อประโยชน์ ต่อตัวคุณเอง แต่คุณก็ไม่ทำ (เช่น ยืนยันความคิดของคุณต่อผู้อื่น การมองหางานใหม่ หรือการเลิกสูบบุหรี่)

 

 

ในช่วงเวลาเหล่านี้ หรือแม้แต่ในเวลาใดก็ได้ ขอให้คุณ

1.ระลึกถึงความรู้สึกตอนที่อยู่กับใครสักคนที่ห่วงใยคุณ วิธีนี้ จะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวคุณมีความสำคัญและมีคุณค่า ซึ่งเป็นพื้นฐาน ของการยืนหยัดอยู่ข้างตัวคุณเอง

2.ระลึกว่าการยืนหยัดอยู่ข้างใครนั้นเป็นอย่างไร อาจเป็นการ ยืนหยัดเคียงข้างเด็กน้อย สัตว์เลี้ยง หรือเพื่อนรัก สังเกตแง่มุม ต่าง ๆ ของประสบการณ์เหล่านี้ เช่น ความเป็นที่ไว้วางใจได้ ความ ห่วงใย ความอบอุ่น ความมุ่งมั่น หรือการเป็นตัวแทนคอยคุ้มครอง

ปล่อยให้ความรู้สึกของการยืนหยัดเคียงข้างใครสักคนเติบโต ขึ้นในการรับรู้ของคุณ ลองปล่อยให้ร่างกายคุณขยับปรับเปลี่ยนไป อยู่ในท่าที่คอยสนับสนุนและคุ้มครอง บางทีอาจเป็นการนั่งหรือยืน ให้ตัวตรงขึ้น ยืดอกขึ้นอีกสักนิด สายตามีความมุ่งมั่นขึ้นอีกสักหน่อย นี่คือการพัฒนาความรู้สึกถึงการยืนหยัดอยู่เคียงข้างใครสักคน ด้วยการใช้ระบบการตระหนักรู้ที่อยู่ในร่างกายและในสมองของคุณ ทำหน้าที่สร้างความคิดความรู้สึกให้คุณอีกที

 

 

3.ระลึกถึงยามที่คุณต้องเข้มแข็ง เปี่ยมไปด้วยพลัง ดุดัน หรือเอาจริงเอาจังอย่างเข้มข้นเพื่อตัวของคุณเองดู มันอาจเป็นอะไร ที่ง่าย ๆ อย่างเช่น ช่วงสุดท้ายของการออกกำลังกายที่คุณทำเป็นประจำ เมื่อคุณต้องใช้แรงฮึดจนถึงเฮือกสุดท้ายเพื่อจะทำให้สำเร็จ หรืออาจเป็นตอนที่คุณรอดออกมาจากสถานการณ์ที่อันตรายก็ได้

หรือลองนึกถึงตอนที่คุณลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้เพื่อตัวคุณเอง ในยามที่ต้องเผชิญหน้ากับคนที่มีบุคลิกข่มขู่คุกคาม หรือตอนที่ คุณกัดฟันฮึดทำโปรเจ็กต์ยาก ๆ ที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือ ที่ทำงานจนสำเร็จ การที่คุณพยายามระลึกถึงประสบการณ์ดังกล่าวให้เสมือน จริงให้มากที่สุด เป็นการกระตุ้นและทำให้เครือข่ายระบบประสาท ที่เกี่ยวข้องมีความแข็งแรงขึ้น

4.ลองมองดูตัวคุณเองให้เหมือนมองเด็กเล็ก ๆ สักคนหนึ่งที่มี ความอ่อนหวาน อ่อนไหว และมีค่า จากนั้นก็ให้ลองส่งความรู้สึกของ การเป็นที่ไว้วางใจได้ ความเข้มแข็งปกป้อง และความห่วงใยไปให้ เด็กน้อยคนนั้น (คุณอาจพกรูปตัวคุณเองตอนเป็นเด็กไว้ในกระเป๋า สตางค์ของคุณและหยิบมาดูบ้างเป็นบางครั้งก็ได้)

5.ลองจินตนาการนำความรู้สึกในข้อก่อนหน้านี้ คือความรู้สึก ของการเป็นที่ไว้วางใจได้ เข้มแข็ง และห่วงใยตัวคุณเองในวันนี้

6.ลองตั้งสติทำความระลึกรู้ถึงความรู้สึกในร่างกายคุณว่าเป็น อย่างไรขณะที่คุณกำลังยืนหยัดอยู่ข้างตัวคุณเอง พยายามเปิดรับและ เกื้อหนุนความรู้สึกนั้นให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลองสังเกตอาการ ขัดขืนปฏิเสธความรู้สึกนั้นและพยายามปล่อยวางไป

 

ลองถามตัวคุณเองว่า ในขณะที่เรายืนหยัดอยู่ข้างตัวเราเองนั้น เราสามารถทำอะไรดี ๆ ให้ตัวเราได้บ้าง  จากนั้นเมื่อได้คำตอบแล้วก็ให้พยายามทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด เท่าที่คุณจะสามารถทำได้

 

ข้อมูลจากหนังสือ ทำทีละอย่าง สำนักพิมพ์ Amarin Dhamma

สั่งออนไลน์ คลิก


บทความน่าสนใจ

ส่งความปรารถนาดี ด้วยการแผ่เมตตา

มารดาของนายเรือผู้ปรารถนาพระโพธิญาณ อดีตพระชาติของ พระนางสิริมหามายา

นิทานธรรมะ กระต่ายผู้ทรงศีล ยอมเสียสละปรารถนาให้ชีวิตเป็นทาน

ความปรารถนาอันสูงสุดของ ป๊อป – อารียา สิริโสดา

ความสุขใน ลมหายใจสุดท้าย…ปรารถนาที่ถูกมองข้าม บทความจาก พระไพศาล วิสาโล

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.