ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ

ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)  

ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)

” ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ” ที่ท้อใจ หงุดหงิดใจ ฟุ้งซ่านใจ กลุ้มใจในการปฏิบัติธรรม แสดงว่าวางใจไม่ถูก คือปฏิบัติด้วยอำนาจของตัณหา ( ความทะยานอยาก ) แสดงว่าทำด้วยความทะยานอยาก จะเอาให้ได้อย่างนั้น จะเอาให้ได้อย่างนี้ ทำไมไม่สงบ ทำไมไม่นิ่ง ทำไมฟุ้งซ่านอยู่ อยากจะหายฟุ้ง อย่างนี้คือการปฏิบัติธรรมที่มีตัณหาเข้าไปบงการ เพราะฉะนั้นแทนที่มันจะเบาใจ แทนที่มันจะสงบใจ มันก็กลับเพิ่มความวุ่นวายใจมากขึ้น

อุปมาเหมือนคนที่จะดับไฟ ว่ากิเลสทั้งหลายเหล่านี้เปรียบเหมือนไฟ เวลาที่ไปดับไฟ ใช้อะไรดับ ก็ใช้น้ำดับใช่ไหม น้ำก็เปรียบเสมือนสติสัมปชัญญะเข้าไประลึกรู้ แต่นี่ไม่เอาน้ำอย่างเดียวไปดับ เผลอ ๆ เอาน้ำมันไปฉีด จะดับไฟ แต่ใส่ฟืน ไม่ได้เอาสติสัมปชัญญะ เข้าไประลึกรู้ด้วยความบริสุทธิ์ ใจของสติสัมปชัญญะ แต่เอาตัณหาเข้าไปด้วย เอาความทะยานอยาก เอาความอภิชฌา ความเพ่งเล็งจะเอาให้ได้ เอาโทมนัส ยินร้าย ไม่ชอบ ไม่เอา เกลียดใส่เข้าไปด้วย มันเหมือนกับเอาเชื้อเพลิงเข้าไปใส่ มันจะดับได้อย่างไร มันก็ยิ่งลุกไหม้มากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องสำรวจให้ดีว่า เวลาปฏิบัติธรรมวางใจได้ถูกไหม

ปุถุชนเราส่วนมากจะมีจุดอ่อน คือทำอะไรด้วยตัณหา เราเคยชินมาแต่ไหนแต่ไร แม้แต่มาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน มันก็ยังมีตามมา ความทะยานอยาก เพราะฉะนั้นต้องแก้ไขตรงนี้ ต้องปลดตรงนี้ให้ได้ ปลดความทะยานอยากให้ได้ ปลดอภิชฌารับรู้ โทมนัสให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า พึงละอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ต้องละความยินดียินร้ายออกไป ความท้อใจหงุดหงิดใจ มันทำไมจึงท้อ พอมันไม่ได้ใช่ไหม ที่มันท้อนี่เพราะว่า ทำไมมันไม่ได้ ทำไมมันไม่สงบ ทำไมมันไม่ได้อย่างนั้น มันก็ท้อ แต่ถ้าปฏิบัติไปแล้วมันสุขใจ อิ่มเอิบใจ เบาใจ โปร่งใจ มันก็ไม่ท้อแล้ว มันจะเกิดความฉันทะ เกิดความพอต่อการปฏิบัติ ที่ก่อนเคยรู้สึกท้อมาก ปฏิบัติทั้งท้อ ทั้งง่วง แต่พอไปปรับให้ดี เดี๋ยวนี้มีความฉันทะ รู้สึกมันมีใจอยากทำตลอด อยากปฏิบัติก็บอกเพราะทำไมเป็นอย่างนี้ ก็นี่แหละคือการวางใจที่ถูก ไม่ได้ทำด้วยอำนาจตัณหา ทำแบบรู้ตัวอย่างปล่อยวาง มันไม่มีความอยากเข้าไป ใจมีความปล่อยอยู่วางอยู่ ใจมันก็เบาใช่ไหม ใจมันเบา มันโปร่ง มันเบา มันก็สบาย มันมีความอิ่มเอิบ มีสุขเข้ามา มันก็มีฉันทะมีกำลังใจที่จะปฏิบัติ ไม่ต้องบังคับแล้วตอนนี้

ที่ว่าไม่บังคับตัวเองมันมีความพอใจต่อการปฏิบัติเอง นี่คือการวางใจให้มันถูก เพราะฉะนั้นก็เจริญสติให้มันถูกต้อง อย่าไป จะต้องทำทุกอย่างให้ได้อย่างใจ แต่ทำใจของเราให้ยอมรับ ให้มันวางให้มันรู้เท่าทันอย่างไม่ว่าอะไร ฝึกใจให้มันอยู่ในสภาพไม่ว่าอะไร หรือเรียกว่า สักแต่ว่า

พระพุทธเจ้าทรงใช้คำว่าสักแต่ว่า สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าทราบ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าก็คือไม่ว่าอะไร รับรู้อย่างวางเฉย ทำใจให้วางเฉย ทำใจให้เป็นกลาง ไม่ยินดีไม่ยินร้ายต่อสิ่งเหล่านี้ อันนี้สิ่งเหล่านี้มันลืม มันลืมเวลาไปทำจริง ๆ มันลืมแล้ว ทำจริง ๆ ก็จะเอาอีกและจะเอาให้ได้เลย เพราะฉะนั้นคำสอนเรื่องปล่อยวาง ต้องเตือนใจไว้ เรามาปล่อยวาง คำว่าไม่เอาอะไร คำว่า สักแต่ว่า คอยเตือนใจตัวเองไว้ เพราะว่าส่วนมากมันจะมีตัณหาเข้ามา เพราะฉะนั้นคอยเตือนคอยแก้ไขไว้ แล้วฝึกจิตใจไว้ ให้มันละให้มันเป็นกลางไว้อยู่ตลอด

 

ที่มา : ถอดความจากสุขทุกวัน 7 วัน 7 กูรู | พระครูเกษม – ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อ | 15 มี.ค.61

ภาพ : www.pexels.com


บทความน่าสนใจ 

อานิสงส์จากการปฏิบัติธรรมมีจริง

หัวใจของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่การเจริญกุศล โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

นิพพานที่ได้เห็น ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติธรรมจากแดนไกล

ปฏิบัติธรรมตามจริต แบบไหนที่เหมาะกับคุณ

เคล็ดลับของการปฏิบัติธรรมให้มีชีวิตชีวา โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.