ทำอย่างไรถึงจะเลิกเป็น คนที่ชอบพูดแก้ตัว ได้
คนที่มักแก้ตัวเวลาทำงานจะสูญเสียความน่าเชื่อถือจากคนรอบข้าง เรามักได้ยินบ่อย ๆ เวลาหัวหน้าถามว่า “ใบเสนอราคาของบริษัท 000 มาหรือยัง เป็นไงบ้าง” แล้วลูกน้องตอบว่า “ฝ่ายโน้นยังไม่ได้ตอบกลับมาเลยครับ” แต่การตอบแบบนี้เหมือนบอกกลาย ๆ ว่า “ทางโน้นผิด ไม่ใช่ผม” และย่อมถูกหัวหน้าตวาดว่า “งั้นก็รีบไปตามสิ ! ”
คำตอบควรเป็น “ขอโทษครับ ผมควรติดตามให้ถี่กว่านี้ เดี๋ยวจะโทร. ถามให้เขารีบส่ง ผมตรวจเอกสารเสร็จแล้วตอนบ่ายจะเข้าไปรายงานอีกทีนะครับ” กล่าวคือ นอกจากขอโทษในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วยังรายงานวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมด้วย เมื่อเป็นแบบนี้ก็จะเห็นว่าต้องทำอะไรต่อ หัวหน้าก็ไม่มีเหตุผลให้โกรธอีก คงแค่บอกว่า “งั้นรีบจัดการละกัน”
คนที่เอาแต่แก้ตัวไม่ว่าเรื่องอะไร จะตั้งดันมาจากความคิดว่า “ฉันไม่ผิด” “คนอื่นต่างหากที่ผิด” คนแบบนี้จะปกป้องตัวเองว่า “จะให้เรื่องจบโดยไม่ต้องรับผิดชอบได้อย่างไร” หรือ”จะทำอย่างไรให้ตัวเองไม่โดนตำหนิ”
เวลาบริษัทหรือนักการเมืองคนไหนทำเรื่องเสื่อมเสียแล้วแก้ตัวเวลาให้สัมภาษณ์นักข่าว สื่อและสังคมจึงมัก “ประโคมข่าว” เรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบ คนแบบนี้มักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางว่า “การขอโทษก็เหมือนพ่ายแพ้ มันน่าเจ็บใจ” “ถ้าตัวเองต้องถูกตำหนิแล้วไม่ลากคนอื่นมาเอี่ยวด้วยคงไม่หาย” พวกเขาไม่เคยคิดว่า “ต้องเผชิญหน้ากับปัญหา” หรือ “การแสดงความรับผิดชอบเป็นเรื่องที่พึงกระทำ”
ทำไมผู้บริหารบริษัทที่เคยล้มละลาย ถึงฟื้นกิจการขึ้นมาใหม่ได้
ผมมีเพื่อนคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สมัยเป็นมนุษย์งินเตือน บริษัทเขาล้มละลายเพราะผลกระทบจากวิกฤเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ก่อนล้มละลาย ฐานะการเงินของบริษัทไม่สู้ดี ทำให้ชำระเงินไม่ได้ ช่วงเวลาแบบนี้ไม่มีใครอยากอธิบายกับเจ้าหนี้หรือผู้ลงทุนเพราะมีแต่จะโดนจี้กลับมาว่า “เมื่อไหร่จะจ่าย” หรือ “มัวทำอะไรอยู่” คนส่วนใหญ่จึงหนีหน้าทำให้เจ้าหนี้ยิ่งโกรธ
แต่เพื่อนคนนี้ไม่หนี มิหนำซ้ำ ทุกสัปตาห์เขายังไปรายงานสถานการณ์ให้จ้าหนี้ทุกคนที่ยังค้างจ่ายถึงที่ ไม่ใแค่แจ้งทางเมล สิ่งที่เขาทำมาตลอดก่อนบริษัทจะล้มละลายแล้วถูกเลิกจ้าง ทำให้คนอื่นเกิคความรู้สึกในแง่บวกว่า “มีแต่คุณที่มารายงานไม่เคยขาด ยอดเยี่ยมมาก”
หลังจากล้มละลาย ตอนที่ขาตั้งบริษัทอสังหาริมทรัพย้ ก็ได้คนที่เคยรบกวนในอดีตช่วยให้ข้อมูลเรื่องที่ดินและเรื่องกู้เงิน แม้เศรษฐกิจไม่ดี แต่ก็ช่วยให้เขาเริ่มต้นได้สวยและเติบโตเร็วจนมีรายได้สูงถึงสามพันล้านเยนในปีที่ 3 แม้จะเป็นผลลัพธ์ที่ทำให้ตัวเองเสียประโยชน์ แต่การที่เขาไม่เคยแก้ตัว ยืดอกแสดงความรับผิดชอบโดยไม่หนีหน้าไปไหน ทำให้เขาได้รับความชื่อถือในที่สุด
ที่มา : ทิ้งนิสัยไม่ดี แล้วจะมีความสุข โดย โกะโดะ โทคิโอะ สำนักพิมพ์อมรินทร์ฮาวทู
ภาพ : www.pexels.com
บทความน่าสนใจ
อิทธิบาท 4 : ทางแห่งความสำเร็จในการทำงานอย่างเป็นสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
อดีตหนุ่มทำงานประจำเดินขายน้ำส้มคั้นจนปลดหนี้สินได้
เลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกที่จะสู้ได้ สามพี่น้องสู้ชีวิตทำงานเลี้ยงยายและหาทุนเรียน
ถ้ายังหางานที่เป็นตัวของตัวเองที่สุดไม่ได้ ควรทำอย่างไรดี
คลายเครียดจากการทำงานด้วยการเจริญสติ หนทางที่ปรับตนเองให้เป็นกุศล