วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ – วัดมหาธาตุแห่งกรุงเทพมหานคร
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ วัดเก่ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สถาปนาเป็นพระอารามหลวงในอุปถัมภ์ของสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ 1
วัดมหาธาตุเป็นวัดที่มีมาก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อว่า “วัดสลัก” หรือ “วัดฉลัก” เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสถาปนากรุงธนบุรี วัดแห่งนี้จึงกลายเป็นพระอารามหลวง ที่พำนักของสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะมาตลอดสมัยกรุงธนบุรี เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ย้ายราชธานีจากฝั่งตะวันออก ทรงสถาปนาวัดโพธาราม ซึ่งต่อมาคือวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) เป็นพระอารามหลวง สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราชจึงทรงสถาปนาวัดสลักขึ้นเป็นพระอารามหลวง เนื่องจากครั้งที่พระองค์ทรงเป็นนายสุดจินดา มหาดเล็กหุ้มแพร จะล่องเรือขึ้นไปหาหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี (รัชกาลที่ 1 ในขณะนั้น) ก่อนที่จะเลี้ยวเข้าคลองบางกอกใหญ่ พบกับเรือกองทัพพม่า จึงได้หนีข้าศึกพม่ามาหลบ แล้วคว่ำเรือแล้วมาหลบซ่อนให้พ้นจากพม่าที่หน้าวัดแห่งนี้ ครั้งสงครามสงบบ้านเมืองร่มเย็น พระองค์รำลึกถึงพระคุณของพุทธสถานนี้จึงปฏิสังขรณ์และอุปถัมภ์วัดแห่งนี้เรื่อยมา ทั้งทรงนำพระอัฐิของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (นายทองดี) มาบรรจุในมณฑป และตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดนิพพานาราม”
เมื่อ พ.ศ. 2331 วัดแห่งนี้ใช้เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ทรงเปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น “วัดพระศรีสรรเพชญดาราม” และใช้เป็นสนามสอบพระปริยัติธรรมพระภิกษุ-สามเณร พอถึงพ.ศ. 2336 ทรงเปลี่ยนนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” ตามอย่างชื่อของวัดที่ประดิษฐ์พระบรมสารีริกธาตุในกรุงศรีอยุธยา
วัดแห่งนี้ได้รับการบูรณะและปฏิสังขรณ์จากรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลที่ 4 และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 วัดแห่งนี้ได้กลับมาเป็นสนามสอบพระปริยัติธรรมอีกครั้ง จึงเรียกว่า “มหาธาตุวิทยาลัย” หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2437 พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ แล้วโปรดให้เพิ่มสร้อยต่อนามวัดเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระราชโอรสว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์” แล้วใช้นามนี้มาจนถึงปัจจุบัน จากมหาธาตุวิทยาลัยกลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาราชวิทยาลัย
พระอุโบสถและพระวิหาร
เป็นอาคารประธานคู่ซึ่งไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน เป็นอาคารทรงแบบประเพณีนิยมสมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตจากการสร้างระเบียบคต ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานนามว่า “พระศรีสรรเพชญ์” สร้างขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 และรอบองค์พระประธานบนฐานชุกชีมีรูปหล่อพระอรหันต์ 8 รูป ตามคติพระอรหันต์ 8 ทิศ ได้แก่
-พระอัญญาโกญฑัญญะ อยู่ทางทิศตะวันออก
-พระมหากัสสปะ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้
-พระสารีบุตร อยู่ทางทิศใต้
-พระอุบาลี อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้
-พระอานนท์ อยู่ทางทิศตะวันตก
-พระภควัมปติ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
-พระโมคคัลลานะ อยู่ทางทิศเหนือ
-พระราหุล อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
พระมณฑปและพระบรมสารีริกธาตุ
ภายในพระมณฑปมีพระเจดีย์ทองซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รวมทั้งพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จฯกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ลักษณะของพระเจดีย์เป็นเจดีย์เครื่องทรงสืบทอดมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รอบฐานพระเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ
ที่มา : พระอารามหลวงในกรุงเทพมหานคร โดยคุณหญิงสุริยา รัตนกุลและคณะ
ภาพ : ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์
บทความน่าสนใจ
สติปัฏฐาน 4 “กำหนดรู้ด้วยการบริกรรมพองหนอ ยุบหนอ – ณ วัดมหาธาตุฯ
แด่ดวงวิญญาณอันสูงศักดิ์ ตำนานการสร้างอาคารปฏิบัติธรรม วัดมหาธาตุ
“ธรรม” ได้ทุกเวลา ที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
วัดป่าสาลวัน ปฏิบัติธรรมสายวัดป่า
“บุโรพุทโธแห่งสยามประเทศ” วัดประชาคมวนาราม (วัดป่ากุง) จังหวัดร้อยเอ็ด
วิถีชีวิตชาวไทยวน เมืองสระบุรี ณ วัดจันทบุรี อำเภอเสาไห้
ชวนไปส่องภาพจิตรกรรมโบราณสมัยอยุธยาตอนปลายที่ วัดไชยทิศ
วัดป่าเจริญราช สัปปายะสถานใกล้กรุง
สักการะพระปางอัฏฐมีบูชา วัดอินทาราม สันติสถานแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และชมกู่เจ้าเมืองเหนือที่ วัดสวนดอก
วัชรธรรมสถาน แหล่งปฏิบัติธรรมสายวัดป่าใกล้กรุง
ฝึกสติเชิงประยุกต์ ณ วัดลาดพร้าว
ค้นพบอิสระทางจิตใจท่ามกลางธรรมชาติ ณ วัดพระธาตุดอยกองข้าว
ช้อป กิน เที่ยว ไหว้เจ้าแล้ว แวะทำบุญ 3 วัด สตรีสร้างในย่านเยาวราช
วัดราชาธิวาส วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา
7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดราชบพิธ สถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
วัดราชโอรสาราม ต้นแบบแห่งศิลปกรรมอันสง่างามระหว่างไทยและจีน
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก วัดแห่งมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ ปฏิบัติธรรมท่ามกลางความสงบและเรียบง่าย
พุทธศิลป์สอนธรรม จิตรกรรมแห่ง “ศรัทธา” จากอดีตกาล
วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา ธรรมะ ธรรมชาติและความเรียบง่าย
ย้อนรอยธรรมตามพระราชา วัดบวรนิเวศวิหาร
พิศพระธรรม 1,200 วินาที ณ พิพิธภัณฑ์พระพุทธศาสนา วัดเทพศิรินทราวาส