สหัมบดีพรหม พระพรหมผู้อาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์
สหัมบดีพรหม หรือท้าวมหาพรหมพระองค์นี้ มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นผู้อาราธนาพระพุทธเจ้า ให้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์ ให้สัตว์โลกทั้งหลายผู้มีอวิชชาไม่ต่างจากเศษฝุ่นที่บดบังดวงตา ได้โอกาสมีดวงตาเห็นสัจธรรมของจักรวาล
ท้าวมหาพรหมพระองค์นี้ ครั้งสมัยพระกัสสปพุทธเจ้าทรงเป็นพระเถระมีชื่อว่า “สหกะ” ได้บำเพ็ญฌานแล้วทำลายขันธ์จากภพมนุษย์ อุบัติเป็นพรหมยังพรหมโลก หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาเห็นว่าสัจธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบนั้นมีความยากและลึกซึ้งเกินไป เกรงว่ามนุษย์ เทวดา และสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังหลงอยู่ในกามคุณ จะไม่เข้าใจในคำสอน จึงทรงตัดสินพระทัยไม่เสด็จโปรดสัตว์
เมื่อท้าวมหาพรหมพระองค์นี้ทรงทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงไม่โปรดสัตว์ ก็เสด็จลงมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทันที แล้วขอร้องให้พระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเวไนยสัตว์ เพราะสัตว์โลกที่มีกิเลสน้อยยังพอมีอยู่ สามารถฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างเข้าใจ
พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเวไนยสัตว์ด้วยทิพยจักษุแล้วทรงพบเป็นจริงตามที่ท้าวมหาพรหมกล่าว สัตว์บางพวกมีกิเลสหนา บางพวกมีกิเลสบาง บางพวกสอนง่าย บางพวกสอนยาก ไม่ยากต่อการมุ่งมั่นสั่งสอนของพระองค์ จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์ นับแต่นั้นมาจึงกลายเป็นธรรมเนียมก่อนที่พระภิกษุจะแสดงธรรม ต้องมีคนกล่าวบทอาราธนาธรรมขึ้นก่อน ซึ่งบทอาราธนาธรรมนี้เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่สหัมบดีพรหมทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์นั่นเอง
คำอาราธนาธรรม
“พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาป
ปะระชัก ขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ”
คำแปล : ท้าวสหัมบดี แห่งโลก ได้ประคองอัญชลีทูลวิงวอนพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐว่า สัตว์ผู้มีธุลี ในดวงตาน้อย มีอยู่ในโลกนี้ ขอพระคุณเจ้าโปรดแสดงธรรม อนุเคราะห์ด้วยเถิด
ที่มา : พรหมสี่หน้า สำนักพิมพ์อมรินทร์
ภาพ : ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์
บทความน่าสนใจ
มารดาคือพรหมของบุตร พระผู้สร้างที่มีลมหายใจ
ฉันทะในการทำงาน โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
สัมผัส สวรรค์ ทั้งที่ยังมีลมหายใจ ได้จริงไหม ?
พระเนมิราช พระราชาผู้ท่องนรก-สวรรค์
พระเถระท่องสวรรค์เยือน วิมานของเทวดา ไม่ทำบุญ
เราเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น พระพุทธเจ้าเป็นเพียงผู้บอกทาง ไปสู่พระนิพพาน
ท่านพุทธทาสภิกขุระงับ โรคหัวใจวาย และน้ำท่วมปอดด้วยธรรมโอสถของพระพุทธเจ้า
การพัฒนาจิต 2 วิธี ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน บทความธรรมะจากพระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ
บทสวดบารมี 30 ทัศ (แปล) สรรเสริญบารมีของพระพุทธเจ้า พร้อมที่มาบทสวด