รู้เท่าทัน

อยู่ด้วยการรู้เท่าทันว่าเป็นธรรมดาของชีวิต โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

อยู่ด้วยการ รู้เท่าทัน ว่าเป็นธรรมดาของชีวิต โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

การอยู่ด้วยการ รู้เท่าทัน ตรงกับคำว่า สัมปชัญญะ คำนี้มีความหมายว่า “รู้ตัวทั่วพร้อม” เป็นองค์ธรรมที่เกื้อกูลกับสติ หรือเรียกได้ว่า เป็นธรรมที่เอื้อกับสติ จึงเรียกสององค์ธรรมนี้ติดกันว่า “สติสัมปชัญญะ”

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) แสดงธรรมเรื่อง “การอยู่ด้วยการรู้เท่าทันธรรมดาของชีวิต” ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในหัวข้อเรื่อง “ระลึกถึงความตาย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย” ท่านกล่าวถึงเรื่องการอยู่ด้วยการรู้เท่าทันธรรมดาของชีวิตไว้ว่า

พระพุทธศาสนาสอนและฝึกฝนมนุษย์ เพื่อให้พัฒนาศักยภาพตนเองจากปุถุชนไปสู่ความเจริญก้าวหน้า (อริยบุคคล) ต้องอาศัยคุณธรรมเป็นอนุสติ (การระลึก) เพื่อให้เตือนใจตนเอง และพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดคือ การรู้เท่าทันว่าเป็นธรรมดา และ  การมีปัญญารู้เท่าทันตามเหตุและปัจจัย

 

รู้เท่าทัน

 

สำหรับมรณานุสติ หรือมรณสติ ทำให้เข้าใจว่าความตายเป็นเรื่องธรรมดา เป็นสิ่งที่คู่กับความเกิด เกิดแล้วต้องดับ เมื่อเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดา ก็จะทำให้สบายใจ คลายทุกข์ เมื่อเข้าใจความตายเป็นแบบนี้แล้ว ควรระลึกได้ว่า ความตายนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน แต่จะมาถึงเราในวันไหนนั้นยังไม่แน่นอน อาจช้าหรือเร็วก็ได้

ฉะนั้นเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ขอให้เร่งขวนขวายทำกิจหน้าที่ และความดีต่าง ๆ สิ่งที่ท่านกล่าวมาทั้งหมดนี้คือหลักที่เรียกว่า มรณสติ พระพุทธเจ้าตรัสเตือนให้ระลึกถึงความตาย และมีความไม่ประมาท ดังนี้ว่า

 

น เหว ติฏฐํ นาสีนํ สยานํ น ปตฺถคุ  “ แปลความได้ว่า อายุสังขารจะพลอยประมาทไปกับมนุษย์ทั้งหลาย ที่ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ก็หาไม่

 

หมายความว่า มนุษย์ทั้งหลายนี้อาจจะมีความประมาทในขณะยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ขวนขวายทำสิ่งที่ควรทำอยู่ ปล่อยเวลาให้ผ่านไป แต่ในเวลานั้นขอให้เข้าใจว่า อายุสังขารของเราหาได้ประมาทตามเราไปด้วยไม่ คืออายุสังขารของเราเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ มีความไม่เที่ยง มีความทุกข์ทนอยู่ไม่ได้ และมีความเป็นอนัตตา ไม่ได้อยู่ในอำนาจของเรา เป็นแบบอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือหยุดยั้งสภาวะธรรมนี้ได้ เมื่ออายุสังขารเปลี่ยนแปลงไป แล้วเราระลึกได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา เราจึงไม่ควรที่จะประมาทและนิ่งเฉย พระองค์ทรงกล่าวต่อไปอีกว่า…

 

 

ตสฺมา อิธ ชีวิตเสเส กิจฺจกโร สิยา นโร น จ มชฺเชติ แปลความได้ว่า เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่ยังเหลืออยู่นี้ คนเราควรกระทำกิจหน้าที่ของตนและไม่พึงประมาท” 

 

อันนี้คือการนำความรู้เท่าทันธรรมดามาใช้ในทางที่เป็นกุศลและเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา ในทางพระพุทธศาสนาก็ว่าความเกิดนั้นนำมาและนำไปสู่ความตาย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความขวนขวายไม่ประมาท พระพุทธศาสนาจึงสอนเช่นนี้ มนุษย์ก็จะได้ไม่ประมาท จึงต้องสอนให้ตรงข้ามเพื่อให้มนุษย์ขวนขวายที่จะกระทำความดี ตรงกับพระพุทธพจน์ในคาถาธรรมบทที่ว่า

ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเฬ พหู เอวํ ชาเตเน มจฺเจน กตตฺพฺพํ กุสลํ พหุ แปลความได้ว่าดอกไม้ที่สุมกันอยู่เป็นกองนี้ นายช่างที่ฉลาดสามารถนำเอามาร้อยกรองเป็นพวงมาลัยที่สวยงาม มีคุณค่าได้ฉันใด ชีวิตคนเราที่ได้เกิดมานี้ ก็ควรจะใช้ประกอบกุศลกรรมความดีให้มาก ฉันนั้น

 

การเกิดมาแล้ว พึงกระทำความดีให้มาก เฉกเช่น นายช่าง (ดอกไม้) ร้อยกรองมาลัยจากกองดอกไม้ออกมาได้สวยงาม ก่อนความตายจะมาเยือน เราได้ทำประโยชน์ต่อตัวเราและผู้อื่นแล้วหรือยัง

 

ที่มา 

ระลึกถึงความตาย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ภาพ 

https://pixabay.com


บทความน่าสนใจ

พบธรรมเมื่อครั้งหลงป่า ประสบการณ์ที่ช่วยให้ มีสติพร้อมรับความตาย

วังคีสะ หมอดูผู้พยากรณ์ ชาติหน้าของคนตาย ด้วยหัวกะโหลก

ก่อนที่ ความตาย จะมาพราก…

ไม่กลัวความตาย แต่ กลัวการเกิด โบวี่ - อัฐมา ชีวนิชพันธ์

“ ตาสว่างก่อนตาย ” กับคุณ ดังตฤณ

การเดินทางหลังความตาย ที่ไม่สิ้นสุดของ เฮนเรียตตา แล็กส์ ตัวตายไปแล้วแต่ เซลล์ ยังอยู่

ความประมาท 5 ประการ ที่ ชาวพุทธควรหลีกเลี่ยง บทความดีๆ จากท่าน ว.วชิรเมธี

ก่อนมรณาจะมาถึง หนังสือแห่งสัจธรรม สุดท้ายของชีวิต

ปาฏิหาริย์ที่เป็นจริง เด็กน้อยฟื้นจากความตาย ทั้งที่หมด ลมหายใจ ไปนานแล้ว

ในวิกฤตมีโอกาส ความตายก็เช่นกัน บทความธรรมะจาก พระไพศาล วิสาโล

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.