ปวดหัวตุบๆ

ปวดหัวรุนแรง – ปวดหัวตุบๆ วิธีสังเกตสัญญาณเสี่ยง โรค หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

ปวดหัวรุนแรง – ปวดหัวตุบๆ วิธีสังเกตสัญญาณเสี่ยง โรค หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง

ในสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ที่มีเส้นเลือดโป่งพองที่สมองคิดเป็น 1 คนในทุกๆ 50 คน หลอดเลือดโป่งพองเป็นจุดที่เส้นเลือดแดงมีความอ่อนแอ โดยมักจะเกิดกับเส้นเลือดแดงในสมองหรือในเส้นเลือดแดงใหญ่ของร่างกาย ในปัจจุบันพบโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองเพิ่มมากขึ้น โดยพบในผู้หญิงอายุระหว่าง 30-60 ปี ที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดสมองโป่งพองมากที่สุด ในขณะที่ผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองมากที่สุดร่วมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่างๆ โดยอาจมีอาการเบื้องต้นที่ควรสงสัย เช่น อาการปวดหัวอย่างรุนแรง ปวดหัวตุบๆ เป็นต้น

 

เราสามารถสังเกตปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้ดังนี้

หลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) สำคัญอย่างไร?

หลอดเลือดแดงใหญ่ มีความสำคัญคือ เป็นหลอดเลือดหลักที่ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ สมอง ประสาทไขสันหลัง แขน ขา และอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ลำไส้

ดังนั้น หากหลอดเลือดแดงใหญ่มีพยาธิสภาพหรือความผิดปกติเกิดขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่างๆ ได้ หรือ หากมีการโป่งพองปริแตก ก็จะทำให้เสียชีวิตได้

ใครเสี่ยงเป็นเส้นเลือดโป่งพองบ้าง?

กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดเส้นเลือดแดงโป่งพอง คือ

  • ผู้ที่สูบบุหรี่จัด
  • มีภาวะถุงลมโป่งพอง
  • มีประวัติครอบครัวที่มีเส้นเลือดโป่งพอง
  • มีความดันโลหิตสูง
  • มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง
  • เป็นกลุ่มอาการ Marfan (เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)
  • ผู้เป็นโรคเบาหวาน
  • เป็นโรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษา
  • มีการติดเชื้อ หรือเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น

 

เราจะสังเกตอาการของเส้นเลือดโป่งพองได้อย่างไร?

ในบางครั้ง การที่เส้นเลือดมีการโป่งพองมาก อาจทำให้เกิดแรงกดต่อเส้นประสาท หรือ เนื้อเยื่อข้างเคียง ทำให้เกิดอาการปวด ชา หรือสูญเสียการทำงานอื่นๆ ได้

ส่วนใหญ่แล้ว การมีเส้นเลือดโป่งพองนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอาการแต่อย่างใด ยกเว้นแต่ว่า เริ่มมีเลือดออก หรือ กำลังจะแตก

อาการแสดงนั้นมีความแตกต่างกันขึ้นกับตำแหน่งที่มีเส้นเลือดโป่งพอง เช่น ปวดมาก (ปวดหัวรุนแรง ปวดตึบๆ หรือปวดขึ้นฉับพลันที่ท้อง ทรวงอก และ/หรือหลัง) เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน หรือหมดสติ

ปวดหัวตุบๆ
ปวดหัวตุบๆ หรือ ปวดหัวอย่างรุนแรงเฉียบพลัน อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงที่บ่งบอกถึงอาการของโรค

 

วิธีการรักษาเส้นเลือดโป่งพอง

ปัจจุบันมีนวัตกรรมแนวใหม่รักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองโดยไม่ต้องผ่าตัด ด้วยการใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด (Vascular Stent Graft) แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง (TEVAR หรือ EVAR) ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบทั้ง 2 ข้าง เข้าไปจนถึงหลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพอง และปล่อยขดลวดให้ถ่างขยายในหลอดเลือดแดงใหญ่ เพื่อป้องกันหลอดเลือดแดงใหญ่แตก

โดยปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปมาก สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างผ่าตัดได้มาก

ข้อดีของการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองแบบไม่ผ่าตัด TEVAR / EVAR คือ

  1. แผลมีขนาดเล็ก
  2. ลดปัญหาการปวดแผลจากการรักษาโดยวิธีผ่าตัด
  3. เสียเลือดน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
  4. เลี่ยงการดมยาสลบ โดยฉีดยาชาเฉพาะที่หรือใช้ regional anesthesia
  5. ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไว ลดระยะเวลาในการพักอยู่ใน ICU และการนอนพักฟื้นโรงพยาบาล
  6. ลดอัตราการเสียชีวิตและภาวะแทรกซ้อนในระหว่างผ่าตัด

ดังนั้น วิธีนี้จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดใหญ่

เพียงเท่านี้  เราก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้น และปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อการเป็นเส้นเลือดโป่งพองได้

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด สามารถขอคำปรึกษา ได้ที่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (จังหวัดสมุทรปราการ) โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์) โรงพยาบาลพิษณุเวช (จังหวัดพิษณุโลก) โรงพยาบาลสหเวช (จังหวัดพิจิตร) โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ (จังหวัดอุตรดิตถ์) และโรงพยาบาลศิริเวชลำพูน (จังหวัดลำพูน) และสามารถติดตามสาระดีๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่ www.princhealth.com

 

บทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุขภาพ

ขี้เกียจตื่นเช้า – ง่วงตอนกลางวัน – ชอบขนมหวาน สัญญานเสี่ยง “ภาวะหมวกไตล้า”

โรคของคนวัยทำงาน ที่หนุ่มสาววัยทำงานควรระวัง ป้องกันได้ ถ้าใส่ใจดูแลตัวเอง

วิธีป้องกัน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

Posted in BEAUTY
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.