กลัวความรัก

โรคกลัวความรัก (Philophobia) ที่ทำให้คุณ ‘โสด’

โรคกลัวความรัก (Philophobia) ที่ทำให้คุณ ‘โสด’

คุณพยายามจะหนีความรักหรือไม่อยากเข้าใกล้ความรู้สึกพิเศษกับใครอยู่หรือเปล่า? หรือเวลาที่คุณเกิดความรู้สึกดี รู้สึกพิเศษกับใครขึ้นมา คุณก็มักไม่กล้าที่จะเปิดใจให้กับความรัก เพราะจากเหตุผลอะไรบางอย่าง นี่คืออาการของคนที่กำลังรู้สึกกลัวที่จะมีความรัก หรือเรียกว่า “ โรคกลัวความรัก “ นั่นเอง และนี่อาจจะเป็นสาเหตุที่กำลังทำให้คุณนั้นยังโสดอยู่ก็ได้ ลองมาทำความรู้จักกับอาการ และสาเหตุโรคกลัวความรัก (Philophobia) และแนวทางในการรักษากันครับ

Philophobia

philo เป็นคำที่มาจากภาษากรีก ที่แปลว่า ความรัก

Philophobia เลยแปลว่า “โรคกลัวความรัก”

เป็นโรคชนิดหนึ่งในทางจิตเวช แต่ก็ไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อผู้คนรอบข้าง แต่ถ้ายังคงเป็นแบบนี้อยู่ต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะกลายเป็นคนเก็บตัว ไม่กล้าออกไปเจอหน้าผู้คน พยายามที่จะหนีจากสังคม อยู่ในโลกแคบ ๆ ที่มีแค่ตัวเอง ไร้สีสัน และสุดท้ายอาจจะเครียดและกดดันจนทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย

โรคกลัวความรัก โสด ทำไมถึงไม่มีแฟน

ถ้าคุณเป็น โรคกลัวความรัก ควรยอมรับให้ได้ว่าตัวเองนั้นมีอาการกลัวความรัก ไม่ได้เข้มแข็งอะไร แล้วก็ปรับวิธีคิดเปลี่ยนมุมมอง รู้จักที่จะยืดหยุ่น และจัดการกับความผิดหวัง กล้าที่จะพูดเพื่อระบายปัญหากับใครสักคน อย่าคิดไปเองว่าความรักจะมีแต่เรื่องแย่ ๆ ร้าย ๆ เหมือนที่ได้เจอ หรือได้ฟังมาเสมอไป ลองเปิดใจ และก้าวเข้าไปหาความรักความสุขทีละนิด

หากใครที่กำลังรู้สึกว่าตัวเองมีอาการกลัวความรักมาก ๆ ควรที่จะไปปรึกษาจิตแพทย์  ไม่ต้องเขิลอาย เพราะเป็นแนวทางการรักษาทางหนึ่ง และไม่จำเป็นเสมอไปว่า การเข้าพบจิตแพทย์จะหมายความว่าคุณนั้นเป็นคนโรคจิต

โรคกลัวความรัก (Philophobia) นั้นจัดเป็นโรคกลัวชนิดเฉพาะเจาะจง

สาเหตุของโรคกลัวความรัก (Philophobia)

1.เหตุการณ์ในแง่ลบที่ฝังใจมาตั้งแต่เด็ก

2.วัฒนธรรม หรือศาสหนา ที่มีข้อห้ามเกี่ยวกับความรัก ศาสหนาหรือขนบประเพณีของบางแห่ง

3.การล้มเหลวในความรักซำ้ๆ มีรักทีไรจะต้องเจ็บปวด หรือเลิกลากันไปทุกที

4.รู้สึกว่าตัวเองหดหู่ เห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ

 

อาการของโรคกลัวความรัก (philophobia)

1.มีความกังวลทุกครั้งที่จะต้องเริ่มต้นความสัมพันธ์กับใครสักคนแบบคนรัก หรือเวลาที่ตัวเองเริ่มรู้สึกหวั่นไหวกับใครสักคน

2.มักจะหยุดความรู้สึกตัวเองห้ามใจตัวเองไม่ให้ถลำลึกที่จะจริงจังกับความรักมากจนเกินไป

3.มักจะหลีกเลี่ยงสถานที่ที่คนมีคู่นั้นชอบไปกัน

4.เหมือนจะชอบกับการอยู่คนเดียว แต่แท้จริงแล้วเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้เจอกับคนที่ทำให้เรารุ้สึกหวั่นไหวต่างหาก

5.ไม่เปิดใจ ไม่เปิดโอกาสให้ใครได้เข้ามาทำให้รัก

6.มักจะประเมินความรู้สึกของคนใกล้ตัวว่าจริงใจหรือรักตัวเองมากแค่ไหน แล้วจึงค่อยตัดสินใจมอบความรู้สึกในระดับที่เท่าเทียมกลับไป

7.เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์หวานๆ หรือโดนรุกจีบ อาจมีอาการทางกายภาพอย่างเหงื่อแตกร้องไห้ ใจสั่น หัวใจเต้นรัวเร็ว หายใจแรง ชาที่มือ และเท้า อาเจียน หนัก ๆ ถึงขั้นเป็นลมเลยทีเดียว

 

แนวทางในการรักษาอย่างไรบ้าง?

1.ความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioral Therapy)

นักจิตวิทยาและจิตแพทย์จะเข้ามาทำความเข้าใจกับคนที่ป่วย ชวนคุยในประเด็นที่คนไข้นั้นรู้สึกกลัว หรืออาจจะมีรูปภาพหรือคลิปวีดีโอคนรัก การตกหลุมรัก มาประกอบการรักษา ทั้งนี้ก็เพื่อให้คนไช้มีทัศนคติที่ดีกับความรักมากขึ้น เป็นการกำจัดความรู้สึกกลัวในเรื่องที่ไม่น่ากลัวที่ค่อยข้างได้ผลดีต่อผู้ป่วย

2.เผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว (Exposure Therapy)

นับเป็นอีกวิธีการรักษาที่ได้ผลค่อนข้างมาก โดยผู้เชี่ยวชาญจะจัดให้ผู้ป่วยเจอกับสถานการณ์หวาน ๆ ให้เพศตรงข้ามชวนพูดคุย หรือให้ดูหนังโรแมนติก ฉากสุดซึ้ง เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยมีแรงต้านทานต่อความกลัวของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และลดแรงกดดัน ความวิตกกังวลเมื่อเจอสถานการณ์รัก ๆ ลงไปบ้าง

3.รักษาด้วยยา

การรักษาด้วยยาจะเป็นแนวทางเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีความเครียดสูง หรือมีความรู้สึกกังวลทุกครั้งเมื่อเจอกับความกลัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมอารมณ์และการแสดงออกของตัวเองได้ดีขึ้น

 

Goodlifeupdete ขอเป็นกำลังใจให้คนที่ กำลังกลัวความรัก ก้าวข้ามผ่านมันไปให้ได้นะครับ

 

อ้างอิง

What Is Philophobia, and How Can You Manage Fear of Falling in Love? 

What is philophobia? 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

 

 

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.