สังคม

Dhamma Daily : การกระทำบางอย่าง บางสังคมบอกว่าเป็นความดี อีกสังคมบอกว่าเป็นความชั่ว จริงๆ แล้วใช้เกณฑ์อะไรวัด

Dhamma Daily : การกระทำบางอย่าง บาง สังคม บอกว่าเป็นความดี อีก สังคม บอกว่าเป็นความชั่ว จริงๆ แล้วใช้เกณฑ์อะไรวัด

ถาม: บาง สังคม เรียกการกระทำแบบหนึ่งว่าเป็นความดี แต่อีก สังคม กลับมองว่าเป็นความชั่ว จริงๆ แล้วเราจะใช้เกณฑ์อะไรมาวัดคะ

ตอบ: ยุคสมัยนี้คนที่ร่ำเรียนสูง มีงานดี มีเงิน มียศฐาบรรดาศักดิ์ มีบริวาร และมีชื่อเสียง มักจะถูกสังคมยกย่องว่าเป็นคนดี น่านับถือ แต่คนเหล่านี้อาจจะไม่ใช่คนดี ไม่ใช่คนที่น่านับถือในอีกหมื่นปีข้างหน้าก็ได้ ซึ่งหลักธรรมคำสอนได้อธิบายไว้ว่า ความจริงทุกสิ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สมมุติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ

สมมุติสัจจะ คือ ความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงแบบชาวโลก แบบโลกียธรรม สามารถเกิดขึ้นได้ เปลี่ยนแปลงได้ ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับกาลสมัย ค่านิยม และวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ชาวต่างชาติสามารถนั่งไขว่ห้างฟังธรรมได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดแปลกสำหรับบ้านเมืองเขา แต่ถ้าคนไทยนั่งแบบนั้นบ้าง ก็จะถูกคนในบ้านเมืองเรามองว่าทำความผิดร้ายแรง

แตกต่างจาก ปรมัตถสัจจะ ซึ่งแปลว่า ความจริงที่เป็นสัจธรรม เป็นความจริงแท้แน่นอน แบบโลกุตรธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ขึ้นกับเพศ วันเวลา หรือสถานที่ เช่น หากมนุษย์ในยุคนี้เกิดโทสะขึ้นภายในจิตใจ ก็จะเกิดความรู้สึกร้อนรุ่ม ซึ่งเป็นความรู้สึกเดียวกันกับมนุษย์เมื่อพันปีที่แล้ว และหากมนุษย์ในอีกพันปีข้างหน้าเกิดโทสะ ก็จะมีความรู้สึกร้อนรุ่มลักษณะเดียวกันนี้ด้วย

ดังนั้น ความดีและความชั่ว สามารถแยกออกจากกันได้ด้วยการพิจารณาตามความเป็นจริง ว่าเป็นสมมุติสัจจะทางโลกหรือปรมัตถสัจจะในทางธรรม ถ้าเป็นแบบสมมติสัจจะ พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เมื่อต้องเข้าเมืองตาหลิ่วก็ควรหลิ่วตาตาม เมื่ออยู่ในสังคมใด เมืองใด ก็ควรสังเกตให้ดีว่าเขาปฏิบัติกันอย่างไร เราก็ปฏิบัติไปตามนั้น อย่าทำตนเป็นจระเข้ขวางคลอง จึงจะสามารถอยู่ร่วมในสังคมนั้นได้ ส่วนความจริงแบบปรมัตถสัจจะนั้น จะเข้าใจได้ด้วยการปฏิบัติธรรม ตามดูจิตจนเกิดปัญญาเท่านั้น


หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่

นิตยสาร Secret คอลัมน์ Dhamma Daily หรือ dhammadaily2015@gmail.com

 

บทความน่าสนใจ

“สังคมแบ่งปัน” สิ่งดีๆ ที่แฝงมากับ “ วัฒนธรรมจักรยาน ”

3 เทคนิค ไม่ดื่มเหล้า แต่เข้าสังคมได้

ฮีโร่ อสม.จิตอาสาด้านสุขภาพ มอบคุณค่าให้สังคมไทย

สังคมต้องส่งเสริมให้พระเป็นคนดี นั่งสนทนาธรรมกับ พระไพศาล วิสาโล

ความดี…ไม่ต้องมีปริญญา

อเล็กซานเดอร์ เรนเดลล์ ทำความดีต้อง “ใช้ใจนำ” และ “ใช้ใจทำ”

“ความดีไม่มีขอบเขต” บทเรียนครั้งสำคัญของ เบนซ์ พรชิตา ณ สงขลา

Q: ทำไมคนเรามักนึกถึง ความชั่ว ของคนอื่นง่ายกว่าการนึกถึงความดี

Q: ทำดีตลอดชีวิต แต่จิตสุดท้ายเกิดนึกถึงความชั่ว

50 นิยามที่คนมักเข้าใจผิด เพื่อประโยชน์สำหรับการทำความเข้าใจตนเอง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.