ไตรสิกขา – พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)
ไตรสิกขา คือ การเรียนรู้เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล คือ การควบคุมกาย สมาธิ คือการควบคุมใจ ส่วนปัญญา คือ การสลายข้อมูลคืออารมณ์ทั้งหมด ทำให้พื้นที่ในใจว่างเปล่า ไตรสิกขาเป็นหลักปฏิบัติสำคัญของชีวิต ไตรสิกขาคือต้นแบบของระบบการทำงานคอมพิวเตอร์ ศีลเหมือนระบบสแกนไวรัส สมาธิเหมือนระบบจัดเก็บข้อมูลส่วนปัญญาเหมือนระบบลบข้อมูลทิ้ง
ในพระพุทธศาสนามีระบบลบข้อมูลทิ้ง เรียกว่า “ปัญญา” หรือ “วิปัสสนาญาณ”มองทุกอย่างในชีวิตให้เป็นไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างเกิดจากการผสมกันระหว่างธาตุดิน น้ำลม ไฟ และวิญญาณ แล้วเกิดเป็นชีวิตทำกรรม ใช้กรรม เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ก็แตกสลายไปตามกาล
ภายในวิญญาณนั้นก็มีเมล็ดพันธุของกรรมบรรจุอยู่ พร้อมที่จะงอกขึ้นมาได้ทุกเมื่อ หากวิญญาณเหนี่ยวภพชาติได้บางครั้งเกิดเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นคนก็มีเผ่าพันธุ์และความเป็นอยู่ที่ต่างกัน บางคนเกิดมาแข็งแรง แต่บางคนพิการ บางคนอายุยืน แต่บางคนอายุสั้น บางคนร่ำรวยบางคนยากจน บางคนรูปงาม บางคนขี้เหร่ที่เป็นเช่นนี้เพราะบุญทำกรรมแต่ง
บุญกรรมอยู่ที่ไหน มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 อยู่ภายในจิตหรือวิญญาณ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เดินทางมาพร้อมกัน ส่วนที่ 2 สร้างขึ้นมาใหม่ ขณะใช้กรรม มนุษย์ก็สร้างกรรมใหม่ด้วย
ชีวิตมนุษย์คือสุดยอดคอมพิวเตอร์ไตรสิกขาจึงเป็นระบบการทำงานของชีวิตไม่ต่างจากระบบคอมพิวเตอร์
ภาพ : pixabay
บทความน่าสนใจ
การให้ทานที่ได้ผลสมบูรณ์ โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
เทคโนโลยีของจิต บทความให้แง่คิด จาก พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)
Dhamma Daily : ถ้ามีแฟนอยู่แล้ว แต่ไป คุยกับผู้ชายคนอื่น แบบเพื่อนให้คำปรึกษาถือว่าผิดศีลไหม
การปฏิบัติสมาธิ มีหลายแบบหลายแนวไม่เหมือนกัน สรุปแล้วจะเชื่อสำนักใดดี?
ปัญญาธรรมประจำวันนี้ : ในฐานะคนธรรมดาทั่วไป เราจะสามารถเข้าสู่ นิพพาน ได้หรือไม่
อานิสงส์ของการรักษาศีล โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
7 อานิสงส์ที่ได้จากการพับ ดอกบัว ถวายพระ สัญลักษณ์แห่งสมาธิและศรัทธา
งานบุญเข้าพรรษา ตักบาตรบนหลังช้างที่จังหวัดสุรินทร์ งานประเพณีบุญแปลกหนึ่งเดียวในประเทศไทย