Dhamma Daily : แนะวิธี การปฏิบัติธรรมฉบับมนุษย์เงินเดือน ที่มีเวลาไม่มาก
ถาม : หากเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมเต็มรูปแบบมากนัก แต่อยากฝึกสมาธิและวิปัสสนาไปควบคู่กันควรทำอย่างไร การปฏิบัติธรรมฉบับมนุษย์เงินเดือน
ตอบ : จริง ๆ แล้วการฝึกสติสามารถฝึกได้ทั้งลืมตาและหลับตาจึงมีเวลาปฏิบัติทั้งวัน เพียงแค่แอบไปดูลมหายใจเข้า - ออกเบา ๆ ว่าปัจจุบันขณะนี้ร่างกายหายใจเข้าหรือหายใจออก เรียกว่าเรากำลังทำอานาปานสติ เมื่อสติเกิดนานเข้าก็จะกลายเป็นสมาธิทำให้มีความสงบเกิดขึ้น ถ้าบอกว่าไม่มีเวลาปฏิบัติคงไม่ถูก เพราะตราบใดที่ยังมีเวลาหายใจอยู่ก็ต้องมีเวลาปฏิบัติ และทำได้ทุก ๆ เวลา ทุกขณะที่ยืน เดิน นั่ง นอน
เข้าใจเรื่องอานาปานสติที่นำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อแก้ปัญหาความเครียด อ่านเพิ่มเติมได้ใน >>>> อานาปานสติ ใช้ลมหายใจนี้จัดการความเครียดกันเถอะ และการทำสมาธิเพื่อหวนกลับมาอยู่กับปัจจุบัน >>>> ทำสมาธิแบบ อานาปานสติภาวนา “ลมหายใจแห่งปัจจุบันขณะ”
การทำวิปัสสนาก็ทำได้ทุกเมื่อเช่นกัน เบื้องต้นให้พิจารณาดูธาตุที่ไหลเข้า - ออกในร่างกาย ขณะรับประทานอาหารก็พิจารณาว่าธาตุดินกำลังไหลเข้า ขณะขับถ่ายก็พิจารณาว่าธาตุดินกำลังไหลออกขณะดื่มน้ำก็พิจารณาว่าธาตุน้ำกำลังไหลเข้า ขณะปัสสาวะก็พิจารณาว่าธาตุน้ำกำลังไหลออก เมื่อรู้สึกหนาวก็พิจารณาว่าธาตุไฟในกายลดลง เมื่อรู้สึกร้อนก็พิจารณาว่าธาตุไฟในกาย มีมากเกินไป ขณะหายใจก็พิจารณาว่าธาตุลมกำลังไหลเข้าไหลออกจากกาย เป็นต้นการพิจารณาเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพราะเราอยู่กับการเคลื่อนของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลมนี้ตลอดเวลาตั้งแต่วันเกิดจนวันตายอยู่แล้ว
พระอาจารย์ผู้ไขปัญหาธรรม : พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท
ที่มา : นิตยสารซีเคร็ต
ภาพ : https://pixabay.com
หากผู้อ่านมีปัญหาหนักใจ ต้องการคำแนะนำแฝงด้วยแนวคิดทางธรรม สามารถส่งคำถามมาได้ที่ Secret Magazine (Thailand)
บทความที่น่าสนใจ
Dhamma Daily : สุดเซ็ง ! มีแฟนขี้โกหก เหนื่อยจนอยากเลิก ทำอย่างไรดี
อานาปานสติ ใช้ลมหายใจนี้จัดการความเครียดกันเถอะ
ทำสมาธิแบบ อานาปานสติภาวนา “ลมหายใจแห่งปัจจุบันขณะ”
10 เรื่องน่าสงสัยเกี่ยวกับการใส่บาตรพระ (เรื่องน่ารู้)
ทำไมปฏิบัติธรรมแล้วกลายเป็น คนโกรธง่าย เอาซะอย่างนั้น ?
เหตุผลที่นักปฏิบัติธรรมยังคงพ่ายแพ้กิเลส บทความจาก พระไพศาล วิสาโล
หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ผู้เด็ดเดี่ยวในการธุดงค์ปฏิบัติธรรม
“จงปฏิบัติธรรม อย่าได้เป็นผู้ประมาท” คำสอนของ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร