เอาใจเขามาใส่ใจเราอย่างไรไม่ให้ใจเราเสีย
มนุษย์เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ร่วมกันสร้างสังคมให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง มนุษย์เป็นอย่างไรก็จะสร้างสังคมอย่างนั้น ดังเช่นข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งที่กำลังเป็นกระแสสังคมในขณะนี้ ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในเรื่องความเหมาะสมของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายในข่าว แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรตระหนักคิดให้ดีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา นั่นเอง
หลักธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเอาใจเขามาใส่ใจเราจัดอยู่ในหลักธรรมนิโรธ ซึ่งเป็นหลักธรรมหนึ่งในอริยสัจ 4 ประกอบด้วย 5 หลักธรรมคือ ปทาน 5, วิมุตติ 5, วิเวก 5 และโวสัคคะ 5 การเอาใจเขามาใส่ใจเราสามารถเริ่มต้นจากการปล่อยวางตัวตน ความคิด และจิตใจ ของตัวเองลงเสียก่อน เพื่อให้เกิดพื้นที่ในการ ใส่ใจ ต่อผู้อื่น ซึ่งการวางตัวตนนี้เป็นทักษะที่มนุษย์สามารถฝึกฝนได้ เช่น การฟังโดยปราศจากอคติ การฝึกความอดทนไม่ให้ตอบโต้ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่การที่เราคิดแบบเอาใจเขามาใส่ใจเราจะทำให้รู้ว่าเขารู้สึกอย่างไร และทำไมจึงรู้สึกเช่นนั้น
ผู้อ่านหลายท่านอาจจะมองว่าการเอาใจเขามาใส่ใจเรานั้น ดูเหมือนจะถูกเอารัดเอาเปรียบทางจิตใจหรือไม่ แต่คำตอบที่แท้จริงแล้ว การเอาใจเขามาใส่ใจเราก็คือความเมตตาชนิตหนึ่ง เป็นความเมตตาที่ปรารถนาจะเห็นเพื่อนมนุษย์คนอื่นมีความสุข เพราะฉะนั้นการเอาใจเขามาใส่ใจเราจึงเป็นหลักธรรมที่สำคัญมากสำหรับมนุษย์ในยุคนี้
โดยสรุปแล้วการเอาใจเขามาใส่ใจเราเป็นทักษะทางสังคมอย่างหนึ่งที่มนุษย์สามารถใช้ในการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยด้วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมโลกด้วยกันเองก็ตาม การเอาใจเขามาใส่ใจเราจะทำให้ความสัมพันธ์เหล่านี้เจริญงอกงามและกลายเป็นความปรารถนาดีที่มีต่อกัน
บทความที่น่าสนใจ
ปัญหา ระหว่างพ่อ แม่ และลูก จะสงบได้ง่ายด้วยความ (เข้าใจ)
Dhamma Daily : จูนทัศนคติอย่างไร เมื่อพ่อแม่หัวโบราณแต่ลูกหัวสมัยใหม่
Dhamma Daily: ชอบหงุดหงิดพ่อแม่ ต้องแก้อย่างไร ธรรมะดีๆ จาก ท่าน ว.วชิรเมธี