เจ็บคอ

แยกให้ชัด !! เจ็บคอจากไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด-19  พร้อมวิธีป้องกันโรคระบาด ช่วงหน้าฝน

ในช่วงที่อากาศย่ำแย่แบบนี้ ตอนเช้ายังร้อนๆ อยู่เลย แต่เผลอแปปเดียวฝนก็ตก อากาศก็แย่จึงไม่แปลกที่หลายคนจะเริ่มมีอาการป่วย ซึ่งโรคยอดฮิตก็หนีไม่พ้นหวัด แต่หากภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรงก็อาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีกโรคที่ระบาดไม่จบสิ้นก็คือ โควิด -19 นั้นเอง

สำหรับอาการโควิดสายพันธุ์ล่าสุดที่กำลังระบาดในช่วงนี้มีอาการหลายๆ อย่างคล้ายไข้หวัดใหญ่ วันนี้เราจึงมาแยกอาการของ 2 โรคนี้ให้ชัดเจนกันดีกว่าค่ะ

เชื้อโรค และการติดต่อ

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้ออินฟลูเอนซา (Influenza) เป็นเชื้อไวรัสที่ติดในระบบทางเดินหายใจ เป็นกันได้ทุกช่วงวัยไม่เลือกว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ โดยช่วงที่ระบาดหนักๆ คือในฤดูฝน ไข้หวัดใหญ่ถูกจำแนกตามสายพันธุ์ออกเป็น 3 สายพันธุ์ คือ A B และ C โดยสายพันธุ์ C โดยกลุ่ม A และ B เป็นเชื้อก่อโรคที่พบได้บ่อย ในวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ จึงมักรวมสองสายพันธุ์ดังกล่าวไว้ด้วย

สำหรับการติดต่อนั้น ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว โดยไวรัสแพร่กระจายทางน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ เพียงแค่ไอหรือจาม เชื้อไวรัสนี้ก็จะลอยปะปนอยู่ในอากาศ หรือแม้การสัมผัสกับสิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ช้อน หรือการจูบ เชื้อสามารถผ่านเข้าทางระบบทางเดินหายใจ ซึ่งหากใครร่างกายไม่แข็งแรง หรือเป็นบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ก็จะมีความเสี่ยงติดเชื้อได้สูงและง่ายดาย

โควิด-19 สายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในทุกวันนี้ จุดที่น่ากลัวคือ แพร่ได้เร็วที่สุดที่เคยมีมา โดยเร็วกว่าเดิมถึง 2 เท่า และยังหลบรอดจากภูมิคุ้มกันได้ดีอีกด้วย คือการที่หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีมากกว่าสายพันธุ์เดิม เนื่องจากเป็นการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งของหนามโปรตีนทำให้ต่อสู้กับแอนติบอดีที่มาจากธรรมชาติ และวัคซีน ส่วนของการติดเชื้อยังคงเหมือนเดิมไม่ต่างจากสายพันธุ์โควิดก่อนหน้านี้ ที่ติดได้ผ่านเยื่อเมือก และละอองฝอย

อาการของโรค

ไข้หวัดใหญ่

  1. อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเนื้อตัว และรอบดวงตา
  2. คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  3. ไข้สูง ร้อนแดงตามเนื้อตัว
  4. ไอแห้ง เจ็บแสบคอ
  5. คัดจมูก มีน้ำมูกไหล

โควิด

  1. ไข้สูง
  2. ปวดหัว ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  3. จมูกไม่ได้กลิ่น
  4. ท้องเสีย
  5. มีอาการคล้ายตาแดง คันตา ลืมตาไม่ขึ้น
  6. ไอ คัดจมูก
  7. ผื่นคัน

จะเห็นได้ว่าทั้งสองโรคมีอาการที่ต่างกันอยู่เล็กน้อยคือ โควิด-19 จะมีอาการในลักษณะของ คันตา ตาแดง ขึ้นผื่นคัน จมูกไม่ได้กลิ่น ซึ่งเป็นอาการที่โรคไข้หวัดใหญ่ไม่มี และอีกข้อที่ช่วยสังเกตได้คือ โควิดแทบจะไม่พบอาการน้ำมูกไหล ซึ่งแตกต่างจากไข้หวัดใหญ่

สำหรับอาการที่คล้ายคลึงกันนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นไข้สูง ปวดเมื่อยเนื้อตัว ท้องเสีย อาเจียน รวมไปถึงอาการในระบบทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น คัดจมูก ไอ เจ็บคอ

จากประสบการณ์ของแอดที่เคยดูแลผู้ป่วยโควิด และผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ทั้งสองโรคต่างก็มีอาการไอที่หนักหน่วง โดยข้อสังเกตคือ ไข้หวัดใหญ่มักพบเป็นไอแห้งและมีอาการแสบคอร่วมด้วย ในขณะที่โควิดเกิดได้ทั้งไอแห้ง และไอแบบมีเสมหะ แต่ไม่ว่าจะไอแบบไหน ก็ไอกันหน้าดำ หน้าแดงด้วยกันทั้งคู่ จนไอเท็มที่ต้องมีคู่กายเหมือนๆ กันของทั้งสองโรค คือ  สเปรย์พ่นคอ เพื่อให้ความชุ่มคอ บรรเทาอาการเจ็บคอ ไอ และลดอาการแสบคอ

การดูแลรักษา

ทั้ง 2 โรคไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด ยังคงเป็นการรักษาตามอาการเป็นหลัก โดยให้ยาฆ่าเชื้อ ยาลดไข้ ลดปวด ส่วนอาการเจ็บคอ คันคอ คอแห้งจะเป็นยาในกลุ่มที่ช่วยให้คอชุ่มชื้น อย่างที่หลายๆ คนใช้สเปรย์พ่นคอจากโพรโพลิส หรือกาวผึ้ง

ซึ่งจะว่าไปแล้ว สเปรย์พ่นคอจากโพรโพลิสนั้นมีประโยชน์หลายอย่าง เพราะมีคุณสมบัติทั้งฆ่าเชื้อ และทำให้คอชุ่มชื้น ลดอาการเจ็บแสบคอ และลดการอักเสบ

แต่พิเศษยิ่งกว่าคือ โพรโพลิซ พลัส เอ็กเฮิร์บ (Propoliz Plus Extherb) ที่เลือกใช้ สแตนดาร์ดไดซ์โพรโพลิส (Standardized Propolis Extract) ซึ่งมีมาตรฐานควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ได้ครบทั้งประสิทธิภาพ คุณภาพ และความปลอดภัย รวมทั้งยังมีงานวิจัยรับรองว่าสามารถฆ่าเชื้อทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และลดการอักเสบสาเหตุของอาการเจ็บคอได้

สแตนดาร์ดไดซ์โพรโพลิส ใน โพรโพลิซ พลัส เอ็กเฮิร์บ มีการศึกษาพบว่าต้านเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ ที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอได้ถึง 99.999% และต้านเชื้อไวรัสต้นเหตุของไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 โรคมือเท้าปากที่ทำให้เกิดอาการเจ็บคอ >99.94% และออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ (Anti-inflammatory activity) ที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอได้

สารสำคัญอีกหนึ่งตัวที่ไม่พูดถึงไม่ได้ใน โพรโพลิซ พลัส เอ็กเฮิร์บ คือ สแตนดาร์ดไดซ์เทอร์มินาเลีย ชีบูล่า (Standardized Terminalia chebular Extract) ที่ก็มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อโรค และช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานด้านต้านเชื้อได้ดียิ่งขึ้นเมื่อทำงานร่วมกับสแตนดาร์ดไดซ์โพรโพลิส จึงช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในลำคอได้

ประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ ที่ได้จากสารสำคัญทั้ง 2 ร่วมกับสารสกัดธรรมชาติต่างๆ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะหลอดลมอักเสบ และไซนัสอักเสบ ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนจากไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

อีกความพิเศษของโพรโพลิซ พลัส เอ็กเฮิร์บ ที่ทำจากน้ำผึ้ง และกาวผึ้งคือ รสชาติหวาน ทานง่าย และยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้ลำคอได้ยาวนาน จึงไม่แปลกใจที่ โพรโพลิซ พลัส เอ็กเฮิร์บ จะกลายเป็นยาคู่กาย ที่ครองใจผู้ป่วยทั้งสองโรค

การป้องกัน

การป้องกันของทั้ง 2 โรคคือการฉีดวัคซีน โดยไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันสายพันธุ์ A และ B ปีละ 1 ครั้ง ในขณะที่โควิค – 19 เชื้อไวรัสยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้มีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนอยู่เรื่อยๆ เพื่อป้องกันภูมิคุ้มกันโควิดลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง 601 และกลุ่มผู้มีปัญหาด้านภูมิคุ้มกัน

และที่สำคัญต้องไม่ลืมดูแลตัวเองให้แข็งแรง ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และแน่นอนที่สุดคือการพักผ่อนอย่างเพียง ก็จะทำให้ห่างไกลโรคเหล่านี้ได้เพิ่มมากขึ้นนะคะ

สนับสนุนข้อมูล โพรโพลิซ พลัส เอ็กเฮิร์บ

ขอขอบคุณแหล่งที่มาอ้างอิง

  • Berretta A. Silveira M. Capcha J, et al. Propolis and its potential against SARS-CoV-2 infection mechanisms and COVID-19 disease: Running title: Propolis against SARS-CoV-2 infection and COVID-19. Biomed Pharmacother. 2020; 131:110622.
  • Athikomkulchai S. Propolis: A Gift from Nature. Thai Pharm Health Sci J. 2008; 3(2): 286-95.
  • Ophori EA and Wemabu EC. Antimicrobial activity of propolis extract on bacteria isolated from nasopharynx of patients with upper respiratory tract infection admitted to Central Hospital, Benin City, Nigeria. AFC J MICROBIOL RES. 2010; 4(16): 1719-23.
  • Araujo MA, Libério SA, Guerra RN, Ribeiro MN, Nascimento FR. Mechanisms of action underlying the anti-inflammatory and immunomodulatory effects of propolis: a brief review. Rev. bras. Farmacogn. 2012; 22(1): 208-19.
  • Sosa S, Baricevis D, Cinco M, et al. Preliminary investigation on the anti-inflammatory and anti-microbial activities of propolis. Pharmaceut Pharmacol Lett. 1997;7:168-171.
  • Kaewmanee P, Rachtanapun C and Luangpirom N. Synergistic Antimicrobial Effect of Propolis and Myrobalan Extracts. 2012.

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.