ออกกำลังกายรักษาโรคมะเร็ง สำคัญนะ
การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ เรื่องนี้หลายคนคงรู้หรือได้รับการบอกให้รู้มานานแล้ว ออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพแน่นอน ในเมื่อคนไม่ป่วย ออกกำลังกายก็แข็งแรงขึ้น ทำไมคนป่วยจะออกกำลังกายเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้นไม่ได้ วันนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงการ ออกกำลังกายรักษาโรคมะเร็ง ค่ะ
การออกกำลังกายป้องกันมะเร็ง
29% ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั้งในช่วงก่อนและหมดประจำเดือน โดยลดความเสี่ยงในผู้หญิงเอเชียและแอฟริกันร้อยละ 41 ลดความเสี่ยงในผู้หญิงอินเดียร้อยละ 38 และลดความเสี่ยงในผู้หญิงตะวันตกร้อยละ 20
27% สร้างสมดุลฮอร์โมนเอสโทรเจนและโปรเจสเทอโรน ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
24% ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้โดยทั้งนี้ต้องเป็นผู้ที่มีค่า BMI ได้มาตรฐาน
19% ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากในกลุ่มชาวเอเชียและแอฟริกันที่มีอายุระหว่าง 20-65 ปี
23% ช่วยลดค่า BMI (BodyMass Index) จึงลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม
***แทบจะไม่พบว่าการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดเลือด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
การออกกำลังกาย >> ระหว่างการรักษา
• ฮอร์โมนเพศ แม้การออกกำลังกายจะไม่ช่วยลดหรือเพิ่มฮอร์โมนเอสโทรเจนและแอนโดรเจนในผู้ป่วยมะเร็ง แต่จากการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
• ฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยลดน้ำหนักและไขมัน หลังจากการให้คีโมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก โดย The American College of Sports Medicine แนะนำให้ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 150 – 250 นาที จะเป็นการป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มและช่วยลดน้ำหนัก แถมยังช่วยเพิ่มคุณภาพของเลือด โดยเฉพาะความสมดุลของคอเลสเตอรอล ซึ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ช่วยสร้างสมดุลให้อินซูลิน
• ภูมิคุ้มกันและการอักเสบ การไม่ออกกำลังกายเป็นการลดภูมิคุ้มกัน ขณะที่การออกกำลังกายมากเกินไปก็เป็นการเพิ่มภาวะการอักเสบ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการออกกำลังกายมีผลดีต่อภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งขณะรับการรักษา
การออกกำลังกาย >> หลังการรักษา
• ช่วยให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับอาการของโรค ฟื้นตัวเร็วขึ้นหลังจากได้รับยาเคมี อีกทั้งยังช่วยยืดระยะเวลาการกลับมาเป็นซ้ำ
• ช่วยลดขั้นตอนการวินิจฉัย ทั้งก่อนและหลังการบำบัด ในผู้หญิงที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านม ในรายที่ออกกำลังกายเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
• ช่วยเสริมผลในการใช้ยาเคมีบำบัด ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
• ช่วยผ่อนคลายความเครียด
• ช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยมะเร็ง
• ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ลดอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งเต้านม
• ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหายใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสงรักษาและผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด
• ช่วยเสริมสร้างระบบกล้ามเนื้อ เพิ่มความหนาแน่นของกล้ามเนื้อลีนโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีมักเกิดภาวะกระดูกบาง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อจึงช่วยให้กระดูกไม่เปราะแตกง่าย
ข้อมูลจาก
ผลงานวิจัยชื่อ Cancer, Physical Activity, and Exercise โดย จัสติน ซี. บราวน์(Justin C. Brown) ออกัสติน ลี(Augustine Lee) และแคทริน เอช. ชมิตซ์(Kathryn H. Schmitz) วิทยาลัยการแพทย์เพอเรลแมน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย พร้อมด้วยเคอร์รี่ วินเตอร์ส-สโตน (Kerri Winters-Stone) โรงเรียนพยาบาล มหาวิทยาลัยสุขภาพและวิทยาศาสตร์ออริกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
เทคโนโลยี รักษามะเร็ง จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์
20 ผักและผลไม้ ต้านมะเร็ง จากห้องวิจัย
วิธีการรักษา มะเร็ง …ที่คุณต้องรู้
ชวนรู้จัก การตรวจมะเร็ง สำหรับมือใหม่ ห่วงใยสุขภาพ