โรคซึมเศร้า

ทำความรู้จักและเข้าใจ อาการแบบไหนเสี่ยงโรค “โรคซึมเศร้า”

ทำความรู้จักและเข้าใจ อาการแบบไหนเสี่ยงโรค “โรคซึมเศร้า”

ช่วงนี้คนเป็นโรคซึมเศร้ากันมาก อาจด้วยงาน ภาวะสังคม คนรอบๆ ตัวแอดก็เป็นกันหลายคน ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายมากเลยนะคะ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับโรคนี้ และมาดูกันว่าเรามีภาวะเสี่ยงหรือไม่

โรคซึมเศร้านั้น เกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกายหรือวิกฤตในชีวิตอื่นๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีอารมณ์เศร้า ท้อแท้ ซึม เหงาหงอยจนตัวเองรู้สึกหรือคนอื่นก็สังเกตเห็น

โรคซึมเศร้า วิธีสังเกต

ซึ่งหากมองดูแล้วอาจเป็นสิ่งปกติที่เราพบเจอได้ในชีวิตประจำวัน แต่กับคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้นอาการหรืออารมณ์เหล่านี้จะเกิดขึ้นนานและเป็นอยู่โดยไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น และอาจมีอาการต่างๆ เกิดขึ้นตามมา เช่น นอนหลับๆ ตื่นๆ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นคนอ่อนแอหรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา แต่ที่เป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค และโรคนี้สามารถดีขึ้นได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม คนที่เป็นโรคซึมเศร้าก็จะกลับมาเป็นผู้ทีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ได้เหมือนเดิม

โรคซึมเศร้า รักษา

งั้นลองมาดูวิธีสังเกตโรคซึมเศร้ากันดีกว่า เพื่อที่เราจะได้ใช้สังเกตตัวเองและคนใกล้ชิดว่าเขาคนนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ เมื่อรู้ว่ามีความเสี่ยงจะได้ช่วยให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งหากมีอาการต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่าก็อาจมีความเสี่ยง

  1. มีอารมณ์ซึมเศร้าแทบทั้งวัน (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้)
  2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมากแทบทั้งวัน
  3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
  4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป
  5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง
  6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
  7. รู้สึกตนเองไร้ค่า
  8. สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด
  9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย

*ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ
*ต้องมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และต้องมีอาการเหล่านี้อยู่เกือบตลอดเวลา แทบทุกวัน ไม่ใช่เป็นๆ หายๆ เป็นเพียงแค่วันสองวันหายไปแล้วกลับมาเป็นใหม่
และหากว่าใครรู้สึกไม่สบายใจ ก็สามารถโทรศัพท์ปรึกษาที่หมายเลข 1323 ของกรมสุขภาพจิต ได้ตลอด 24 ชม.

อ่านบทความอื่นเพิ่มเติม 

займ 20000 на месяц без процентов

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.