การให้วิตามินเข้าทางเส้นเลือด

คุยหมดเปลือกเรื่อง การให้วิตามินเข้าทางเส้นเลือด

เปิดข้อเท็จจริง การให้วิตามินเข้าทางเส้นเลือด ไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีให้เห็นมากขึ้น เราจึงอยากพูดถึงว่าวิธีนี้เหมาะกับใคร มีข้อดีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง

THE MYTH OF IV DRIP มาหาความจริงเรื่องการให้วิตามินทางเส้นเลือดกันเถอะ

มีคนถามว่า เพื่อนมีอาการนอนไม่หลับ พอไปทำ IV Drip มาแล้วรู้สึกสดชื่นมากเลย วิธีนี้มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

ขอตอบว่า ในกรณีของคนที่ขาดวิตามินมาก ๆ เป็น เวลานาน ๆ ถ้าเขาได้รับวิตามินที่ขาดไปก็มีความเป็นไปได้ที่จะรู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้ แต่ถ้าคุณนอนไม่หลับ การแก้ไขที่ถูกต้องคือเราต้องช่วยเขาหาสาเหตุว่าทำไมถึงนอนไม่หลับ แล้วก็ไปแก้ไขที่ต้นตอ เมื่อเขานอนหลับได้ เสริมด้วยการออกกำลังกายที่พอเหมาะ ปรับอาหาร ปรับสุขภาวะในการนอนหลับ อาการนอนไม่หลับจะค่อย ๆ ลดลง

เรื่องการทำวิตามินดริป ถามว่าทำได้ไหม ก็ทำได้นะคะ แต่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่สาเหตุ แต่เป็นสิ่งที่ เรียกว่า Quick Fix ช่วยให้คนไข้สดชื่นได้พักหนึ่ง แต่ถ้าเราไม่ได้แก้กันที่สาเหตุ ปัญหาเก่าก็จะย้อนกลับมาอีก

NAD+ THERAPY ใช้วิตามินดริปรักษาอาการนอนไม่หลับ

ถ้านอนไม่หลับ ถามว่ามีวิตามินดริปที่ช่วยให้นอนหลับไหม ตอบว่า มีค่ะ โดยสิ่งที่เราให้นั้นประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่ช่วยให้รู้สึกสงบ และนอนหลับได้ดีขึ้น

ขั้นที่มากกว่านั้นคือการให้ NAD+ Therapy หรือ Nicotinamide Adenine Dinucleotide ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของวิตามินบี 3 จริง ๆ ในร่างกายเรามีอยู่แล้ว แต่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น

NAD+ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์ ฟื้นฟูเซลล์ในระดับดีเอ็นเอ กระตุ้นยีนเซอร์ทูอิน (Sirtuin) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการชะลอ ความชรา เพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดการอักเสบ ป้องกันสมองเสื่อม NAD+ Therapy เป็นการให้ NAD+ ขนาดสูงทางหลอดเลือดดำ ทำให้ NAD + เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสมองและตับอ่อน โดยไม่ต้องผ่านการดูดซึม จากทางเดินอาหาร ที่ผ่านมาเคสที่มีปัญหานอนไม่หลับแล้วใช้ยานอนหลับมาเยอะๆ จะใช้ วิธีนี้ค่ะ เมื่อเราให้ NAD+ Therapy จะเข้าไปช่วยปรับสมดุลสารเคมี ในสมองได้ แต่ขอย้ำว่าวิธีนี้เป็น Quick Fix สุดท้ายเราก็ต้องไปช่วยคนไข้หา สาเหตุให้เจอว่าทำไมเขาถึงนอนไม่หลับ แล้วไปแก้ที่สาเหตุจริงๆ ให้ได้

THE LIVER DISEASE CASE ตัวอย่างที่น่าสนใจในคนไข้โรคตับ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เราดูแลคนไข้โรคตับมาเยอะ ตามแนวทางการรักษโรคนี้ไม่ได้มียา หรือทางเลือกอะไรมาก เราเลยให้ วิตามินดริปไป 12 ครั้งในเวลา 3 เดือน ปรากฎว่าคนไข้อาการดีขึ้นแทบทุกราย แต่ก็ต้องกลับมาที่การดูแลสุขภาพพื้นฐาน

ถ้าคุณปรับอาหารไม่ได้ตามที่เราให้คำแนะนำไป ยังกินอาหารที่มีไนเตรต ไนไตรต์ สารกันบูด สารกันเชื้อรา ซึ่งพบในอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูป ร่วมกับดื่มแอลกอฮอล์ แบบนี้ค่าตับขึ้นแน่นอน

เท่าที่ติดตามอาการดู คือถ้าทำตัวเหมือนเดิม ไม่เกิน 1 ปี กลับมาเป็นโรคตับอีกแน่ ๆ ด้วยความที่เป็น Naturopathic Doctor เราดูแลคนไข้ระยะยาว กรณีคนไข้โรคตับบางคน 1 ปีกลับมาเป็น 3 รอบ เพราะงดแอลกอฮอล์ไม่ได้ พอมีเทศกาลเฉลิมฉลองอย่างปีใหม่ก็ดื่มอีกแล้ว

คราวนี้ก็นับไปอีก 3 เดือน มีเทศกาลอะไรมาอีก คนไข้ก็ดื่มแอลกอฮอล์ ค่าตับขึ้นสูงก็ต้องมารักษาใหม่ คนไข้บางรายไม่ยอมปรับพฤติกรรมเลย เขาบอกว่าพอมีการเชิญไปกินเลี้ยงเขาก็ปฏิเสธไม่ได้ หมอมีหน้าที่รักษาก็ต้องทำหน้าที่ตรงนี้ไป

เขามาหาหมอให้หมอดูแล ถ้ายังไม่มีอาการก็บำรุงไปก่อน ถ้ามีอาการ ก็รักษาวนลูปแบบนี้กันไป ถ้าเราคิดในแง่การค้าขายก็คงดีใจ มีคนไข้มาให้รักษาตลอด แต่ใจจริงเราอยากรักษาคนไข้ทุกคนให้หายดี ไม่อยากให้ต้องมาหาเรา บ่อย ๆ นะ

NON-INVASIVE PROCEDURE แนวทางการรักษาแบบไม่ล่วงล้ำร่างกาย

ในทางการแพทย์ การรักษาและการตรวจร่างกายเรา จะมีการเรียงลำดับขั้นโดยเรียงจากน้อยไปมาก ขั้นตอนแรก ๆ จะเป็นวิธีที่เรียกว่า Non-Invasive Procedure ซึ่งไม่ทำให้เจ็บ หรือเกิดบาดแผล เพราะเป็นการทำภายนอกร่างกายทั้งหมด ตรงข้ามกับ Invasive Procedure เช่น การฉีด การเจาะ การผ่าตัด

โดยปกติเวลาคนไข้มาปรึกษา เราก็จะไม่กระโดดไปที่การให้ IV Drip ทันที เพราะถ้านำมาเรียงดูแล้ว วิธีนี้จะทำหลังจากการให้ยา ดังนั้นตามขั้นตอนที่ถูกต้องเราต้องเริ่มแก้จากวิธีอื่น ๆ ก่อน เช่น แนะนำให้คนไข้ปรับพฤติกรรม ออกกำลังกาย ปรับอาหาร ปรับเวลาเข้านอน ทำให้ต่อเนื่อง จนถึงระยะเวลาหนึ่ง แล้วถ้ายังไม่ได้ผลจึงค่อย ๆ ขยับไปทีละขั้น

โดยส่วนตัวถ้าคลินิกไหนอยู่ ๆ มาให้ IV Drip กับคนไข้เลย แบบนี้ก็น่าสงสัยอยู่นะคะ อยากให้ย้อนกลับไปดูว่า สาเหตุก่อโรคคืออะไร เราไปแก้กันตรงนั้นจะดีกว่า

ถ้าใครมีข้อสงสัยเรื่อง IV Drip อีก ก็สอบถามเข้ามาได้ ยินดีให้ข้อมูลเสมอ

ข้อมูลจาก ด็อกเตอร์ณิชมน สมันตรัฐ

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ออกกำลังกาย เสริมสร้างระบบย่อยอาหาร

บอกต่อวิธีชะลอวัย 1. เร่งเมแทบอลิซึม 2. เร่งขับพิษ เพื่อสุขภาพดี

น่ารู้ ภาวะเลือดเป็นกรดหรือภาวะ DKA ในผู้ป่วยเบาหวานอันตรายอย่างไร

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.