การศึกษาในปี ค.ศ. 2018 โดยมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน แสดงให้เห็นว่าการ ออกกำลังกาย 3 รูปแบบ ต่อไปนี้ สามารถช่วยปรับปรุงอาการทางเดินอาหารบางอย่างในผู้ป่วยที่มีอาการลำไส้แปรปรวนและอาจป้องกันอาการท้องผูก ลดความเสี่ยงของอาการเสียดท้อง แก๊สในช่องท้อง โรคถุงผนัง ลำไส้ และมะเร็งลำไส้
การคาร์ดิโอ
สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอที่มีความเข้มข้นระดับปานกลางเป็นประจำ ระบบย่อยอาหารจะถูกกระตุ้นให้ทำงานหนัก ระบบการเผาผลาญจึงทำงานได้เร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้ย่อยอาหารได้เร็ว ลดโอกาส การเกิดอาการของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ลงได้
อีกทั้ง ตามรายงานของ Gastroenterological Society of Australia ระบุว่า การออกกำลังกายแบบคาร์ดีโอช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้อง แข็งแรง และกระตุ้นกล้ามเนื้อในลำไส้ให้เคลื่อนอาหารผ่านระบบ ย่อยอาหารได้ดียิ่งขึ้น
การฝึกโยคะ
ท่าโยคะอาจเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังระบบย่อยอาหาร เสริมสร้างความเข้มแข็งและการยืดกล้ามเนื้อที่อาจช่วยในการย่อยอาหาร กิจกรรมประเภทนี้ยังถือเป็นการฝึกหายใจที่ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นในบุคคลที่ฝึกฝนเป็นประจำ
หากอยากออกกำลังกายเพื่อแก้อาการท้องผูกโดยเฉพาะ ลองฝึกโยคะดู เพราะท่าโยคะบางท่าจะช่วยเรื่องการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่ายได้ เช่น ท่ามยุราสนะ (ท่านกยูง) ท่ามัตสเยนทราสนะ (ท่าบิดตัว) ท่าหลาสนะ (ท่าคันไถ) ท่าพวันมุกตาสนะ (ท่าขับลม) ท่าพัทธโกณาสนะ (ท่าผีเสื้อ)
การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
สามารถช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ และดึงเลือดไปยังทางเดินอาหาร ส่งผลให้ลำไส้แข็งแรงขึ้นและระดับเอนไซม์ย่อยอาหารเพิ่มขึ้น
การย่อยอาหารที่ดีไม่ได้เกิดขึ้นจากการกินอาหารที่ดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จำเป็นต้องดูแลสุขภาพทางเดินอาหาร ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอควบคู่ไปด้วย
การออกกำลังกายเป็นประจำไม่เพียงแต่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดระยะเวลาที่ร่างกายกักเก็บอุจจาระไว้ในลำไส้ใหญ่ การออกกำลังกายจึงถือเป็นการกำจัดความเครียดให้อวัยวะภายใน รวมทั้งลำไส้ได้ดีอีกด้วย
ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต
บทความอื่นที่น่าสนใจ
หลักการวิ่ง 7 ข้อ เพื่อผลลัพธ์สุดปัง! หุ่นสวย หัวใจแข็งแรง
บอกต่อวิธี เดินลดอ้วน สำหรับวัยกลางคน
เจาะลึกระบบต่างๆ ที่ทำให้เรา อ้วน
บอกต่อวิธีชะลอวัย 1. เร่งเมแทบอลิซึม 2. เร่งขับพิษ เพื่อสุขภาพดี