สักการะพระปางอัฏฐมีบูชา วัดอินทาราม สันติสถานแห่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
พระพุทธรูปปางอัฏฐมีบูชา สร้างเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์กราบพระสรีระของพระพุทธเจ้าของพระมหากัสสปะและพระภิกษุอีก 500 รูป ที่ไปปฏิบัติกิจธุดงภ์ที่กรุงปาวามา พระพุทธรูปปางนี้ที่วัดอินทารามนี้มีความงดงามมากอีกแห่งหนึงในประเทศไทย
วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกกันว่า “วัดบางยี่เรือนอก” เป็นวัดคู่กับวัดราชคฤห์ ที่เรียกว่า “วัดบางยี่เรือใน” ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ แต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชปราดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี พระองค์ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทารามแห่งนี้ และทรงโปรดให้วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เผาพระศพของพระราชชนนี
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงรับวัดอินทารามเป็นวัดพระอารามหลวง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) ต้นตระกูล “ศรีเพ็ญ” ได้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยมาเป็นพระประธาน คือ พระพุทธชินวร
พระยาศรีสหเทพทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร จึงเรียกวัดแห่งนี้ว่า “วัดอินทารามวรวิหาร” และได้รับบูรณะอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระทักษิณสร อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธินิมิตร และมีการบูรณะวัดแห่งนี้สืบต่อมาจนเป็นวัดที่มีความงดงามอย่างในปัจจุบัน
วัดอินทารามแห่งนี้มีสิ่งน่าสนใจหลายอย่าง เช่น
พระเจดีย์คู่กู้ชาติ ซึ่งเป็นพระเจดีย์ที่บรรลุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับพระมเหสี
พระอุโบสถหลังเก่าที่ภายในบรรจุพระสรีรังคารของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระประธานศิลปะสุโขทัย “พระพุทธชินวร”
พระปรางค์คู่ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3
พระวิหารน้อย 3 หลัง ได้แก่ วิหารพระไสยางค์ วิหารพระพุทธบาท และวิหารถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า
สิ่งน่าสนใจในวัดแห่งนี้ที่ภูมิใจนำเสนอมากคือ วิหารถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า เพราะเป็นวิหารที่มีพระพุทธรูปปางถวายพระเพลิงที่งดงาม เมื่อเข้าไปสักการะทำให้ระลึกถึงเหตุการณ์ถวายพระเพลิงได้เป็นอย่างดี
ภายในพระวิหารมีพระพุทธรูปที่จำลองภาพ หีบพระศพ มีพระบาทของพระพุทธเจ้ายืนออกมาจากพระหีบ มีพระภิกษุ 3 รูป พนมมือไหว้พระบาทที่ยืนออกมานั้น
จิตรกรรมที่เลือนลางแต่ยังเห็นภาพของสวนสาละในกรุงกุสินาราได้ชัด ผนังด้านขวาของพระวิหารมีภาพพระภิกษุกลุ่มหนึ่งสนทนากัน พระภิกษุหนึ่งในนั้นมีพระสุภัททะที่แสดงกิริยาดีใจพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน จะได้ไม่มีใครมาคอยจับผิดและเข้มงวดอีก
เข้ามาในพระวิหารแห่งนี้ทำเอาน้ำตาซึม เกิดความสังเวชในจิต แต่ก็ทำให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงเป็นครูที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์และเทวดา เทวดายังบูชาพระสรีระของพระองค์ด้วยดอกมณฑารพ จิตรกรรมที่น่าสนใจคือ ภาพดอกไม้ร่วง ซึ่งเป็นภาพแทนของดอกมณฑารพที่เทวดาโปรยลงมาบูชาพระพุทธเจ้า ที่นี้มีลักษณะคล้ายดอกพุดตาน
ที่มา : วัดอินทาราม วรวิหาร (บางยี่เรือ ธนบุรี)
ภาพ : ชนินทร์ ผ่องสวัสดิ์
บทความน่าสนใจ
เที่ยวตามรอยนิยาย “กาหลมหรทึก” – ดูสถานที่จริง ให้อินนิยาย
วัดเทพธิดารามวรวิหาร…อารามแห่งพลังใจ
ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ และชมกู่เจ้าเมืองเหนือที่ วัดสวนดอก
วัชรธรรมสถาน แหล่งปฏิบัติธรรมสายวัดป่าใกล้กรุง
ฝึกสติเชิงประยุกต์ ณ วัดลาดพร้าว
วัดสังฆทาน สัปปายะสถานบำบัดใจด้วยธรรม (ชาติ)
“มีเมตตา…จนมหานิยม” เรื่องเล่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง
วัดบุคคโล ประกายศรัทธาแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา
“ศิลปะกระจก” ความงดงามเพื่อพุทธบูชา ณ วัดมณีจันทร์ จ.บุรีรัมย์
วัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร การศึกษาคือหัวใจสําคัญของการเผยแผ่
ปฏิบัติธรรมเข้มข้น ณ วัดคลองตาลอง จ.นครราชสีมา
“ธรรม” ได้ทุกเวลาที่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
ค้นพบอิสระทางจิตใจท่ามกลางธรรมชาติ ณ วัดพระธาตุดอยกองข้าว
ชวนเที่ยว 5 วัด ลดเครียด-ใจสงบวันหยุด
ชวนเที่ยวไหว้ 5 พระอรหันต์ กิจกรรมนี้ทำได้ทุกเมื่อ
เรื่องเล่าความทุลักทุเลของการสวดมนต์วัดเมืองนอกที่ญาติโยมไม่เคยรู้
เที่ยวกาดกองเก่า ชมวัดยามราตรี ‘วัดพงษ์สุนันท์’ เสพสุนทรียะที่เมืองแพร่
ย้อนรอยธรรมตามพระราชา วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดราชาธิวาส วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา
“ความสุข” ตัวชี้วัดความสำเร็จของ ฌอห์ณ จินดาโชติ
วัดอุโปสถาราม จังหวัดอุทัยธานี สงบ งาม ริมแม่น้ำสะแกกรัง
คัมภีร์พระมาลัย คัมภีร์แห่งมิตรภาพและการสานสัมพันธ์ไทย-วาติกัน
เช็คอิน 9 แลนด์มาร์กเที่ยวตามรอยละครบุพเพสันนิวาส จ.พระนครศรีอยุธยา
เที่ยวแบบคลาสสิค ชมวิถีชีวิตริมแม่น้ำเจ้าพระยา ณ เกาะเกิด จ.อยุธยา
พักรบ พบพระใหญ่ เส้นทางสายศรัทธา อยุธยา – อ่างทอง
จัดสวนสวยด้วย 8 พรรณไม้ในพุทธประวัติ