ลดน้ำหนัก ลดอายุ

แน่นอนว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ระบบเผาผลาญก็มักจะแย่ลงตามไปด้วย  ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้น้ำหนักขึ้นได้ง่ายๆ เช่นกัน ซึ่งใครๆ ก็รู้ดีว่าเรื่องของการลดน้ำหนักให้น้อยลง นอกจากช่วยให้สุขภาพดีดูมีความแข็งแรงแล้ว ยังช่วยในการลดอายุทำให้แลดูอ่อนเยาว์ลงกว่าอายุจริง ไม่เชื่อลองสังเกตดูคนที่เคมีรูปร่างอ้วนแล้วสามารถลดน้ำหนักลงมาได้จะเห็นชัดเลยว่าคนคนนั้นจะดูเด็กลงไปเป็นสิบปีเหมือนอย่างกับคนละคนเลย แต่การลดน้ำหนักแบบนั้นจะต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ลดแบบฮวบฮาบนะคะ จะได้ส่งผลดีต่อสุขภาพ และไม่กลับมาอ้วนอีก ดังนั้นการลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไปจะทำให้สาวๆ มีรูปร่างที่ดูอ่อนกว่าวัยไปตลอดกาล

>> คุณเข้าข่าย “อ้วน” แล้วหรือยัง? <<         

หากคุณมั่นใจว่าหุ่นของตัวเองผอมบางเป็นนางแบบหรือสมส่วนกลมกลึงเหมือนนางงาม ก็ผ่านบททดสอบย่อยนี้ไปได้เลยค่ะ แต่ถ้าหากใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเอง “อ้วน” หรือไม่ หรือแม้แต่ผอมแห้งเกินไปเหมือนไม้เสียบลูกชิ้นหรือเปล่า หุ่นของตัวเองดีอย่างที่คนอื่นชมจริงหรือไม่ คงต้องมาท้าพิสูจน์กันด้วยการวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ “BODY MASS INDEX” ที่จะทำให้คุณรู้ความจริง มาเริ่มกันเลยค่ะ  

สูตรการหาค่า ดัชนีมวลกาย คือ เอาน้ำหนักตัวเป็น (กิโลกรัม) หาร กับ ส่วนสูงเป็น (เมตร)

ตัวอย่างเช่น คุณมีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม มีส่วนสูง 165 เซนติเมตร ถ้าคิดเป็นเมตรก็คือ 1.65 เมตร ซึ่งเมื่อทำการยกกำลัง 2 แล้วก็จะได้ 2.7225 ให้เอา 60 หาร 2.7225 จะได้ค่าดัชนีมวลกาย เท่ากับ 22.038 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

ซึ่งเมื่อได้ค่าดัชนีมวลกายมาแล้วก็ให้เอามาหาความจริงกันดังต่อไปนี้

ได้ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 : ถือว่าผอมเกินไป ควรเพิ่มน้ำหนักตัวอีกนิดเพื่อสุขภาพและรูปร่างที่มั่นใจขึ้น

ได้ค่าดัชนีมวลกาย 18.5-24.9 : ถือว่าน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนเกินไปหรือผอมไป

ได้ค่าดัชนีมวลกาย 25.0-29.9 : ถือว่าน้ำหนักตัวเกินไปหน่อย เข้าขั้นอวบๆ แต่ไม่ถึงขั้นอ้วนมาก

ได้ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 : ถือว่าอ้วนเกินพิกัดจำเป็นต้องลดน้ำหนักโดยด่วนเพราะโรคอ้วนถามหาแล้วค่ะ

>> เพราะเหตุใดเราจึง “อ้วน” ได้ <<  

  • พฤติกรรมทำให้อ้วน

นั่นคือมีพฤติกรรการกินที่ไม่เหมาะสม และยังมีพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดความอ้วนด้วย เช่น

  • กินอาหารในปริมาณมากเกินความจำเป็นของร่างกาย
  • กินอาหารบ่อยวันละ 5-6 มื้อในปริมาณมาก
  • กินจุบจิบ เช่น กินขนม ของหวาน ก่อนและหลังมื้ออาหารเป็นประจำ
  • ไม่ชอบออกกำลังกาย
  • กินแล้วนอนเลยหรือทำกิจกรรมที่ไม่ออกแรง เช่น ดูทีวี ฟังเพลง อ่านหนังสือ
  • มีความผิดปกติทางอารมณ์ซึ่งไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงใช้การกินเป็นการระบายอารมณ์หรือดับปัญหาแบบชั่วครู่ชั่วยาม เช่น เครียด กังวล เศร้าซึม โกรธเกรี้ยว เบื่อหน่ายชีวิต หรือผิดหวังเสียใจ เป็นต้น
  • ยาทำให้อ้วน

การรักษาโรคด้วยตัวยาบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงให้น้ำหนักขึ้น ตัวบวม แต่เมื่อต้องเลือกรักษาชีวิตมากกว่ารักษารูปร่างจึงต้องฝืนกินยาต่อไปแม้ยาจะทำให้อ้วน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องพยายามลดความอ้วนซึ่งเป็นผลข้างเคียงด้วยการกินให้น้อยลง และออกกำลังกายให้มากๆ ก็จะช่วยให้เหตุการณ์ดีขึ้นได้ค่ะ

>>อ่านต่อที่หน้าถัดไป<<

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.