นิ่วในถุงน้ำดี ปัญหาอันดับ 1 ของระบบทางเดินน้ำดี
นิ่ว เป็นเรื่องที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ โดยนิ่วนั้นเกิดขึ้นได้ในหลายอวัยวะ เช่นนิ่วในไต ที่มักเกิดขึ้นบริเวณกรวยไต โดยเกิดจากการสะสมของแคลเซียม ส่วนอีกที่ที่เกิดขึ้นได้บ่อย ก็คือ นิ่วในถุงน้ำดี
นิ่ว 3 ประเภทที่เกิดในถุงน้ำดี
นิ่วคอเลสเตอรอล สีเหลือง ขาว เขียว เกิดจากคอลเลสเตอรอลที่มากขึ้นจนตกตะกอนเป็นนิ่วไขมัน
นิ่วจากเม็ดสี สีดำคล้ำ เกิดจากความผิดปกติของเลือด โลหิตจาง และตับแข็ง
นิ่วโคลน คล้ายโคลน เหนียว หนืด เกิดจากการติดเชื้อใกล้ตับ ท่อน้ำดี และตับอ่อน
อาการเมื่อเกิดนิ่ว
- ท้องอืด
- แน่นท้อง อาหารไม่ย่อยหลังทานอาหารไขมันสูง
- ปวดใต้ลิ้นปี่ ชายโครงด้านขวา
- ปวดร้าวที่ไหล่ หรือหลังขวา
- คลื่นไส้อาเจียน
- มีไข้หนาวสั่น
อาการเมื่อก้อนนิ่วอุดในท่อน้ำดี
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- อุจจาระสีขาว
กลุ่มเสี่ยง
- หญิง อายุ 40 ปี ขึ้นไป
- ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป
- ภาวะอ้วน น้ำหนักมาก
- คอเลสเตอรอล
- โรคเบาหวาน
- โรคเลือด
- ตั้งครรภ์หลายครั้ง
- กินยาคุมกำเนิด
- ทานฮอร์โมนจากภาวะหมดประจำเดือน
- ผู้ที่อดอาหาร หรือน้ำหนักลดตัวอย่างรวดเร็ว
- ทานยาลดไขมันในเลือดบางชนิด
- พันธุกรรม
การตรวจหานิ่ว
ในปัจจุบันแพทย์จะใช้การส่องกล้องอัลตราซาวนด์ผ่านระบบทางเดินอาหาร โดยใข้คลื่นความถี่สูง ทำให้แพทย์มองเห็นลึกลงไปถึงใต้ชั้นผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่การส่องกล้องปกติมองไม่เห็น
เมื่อพบเจอก้อนขณะตรวจ แพทย์จะเจาะตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งจะต้องรอผลการตรวจชิ้นเนื้อประมาณ 3 – 5 วัน
การรักษานิ่วในถุงน้ำดี
การรักษาในปัจจุบันแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องแบบแผลเล็ก ซึ่งแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย และลดโอกาสการติดเชื้อ อีกทั้งยังฟื้นตัวได้ไว
การป้องกันนิ่วในถุงน้ำดี
ลดอาหารประเภทของทอด ของมัน และเลือกกินเนื้อปลา และผักมากขึ้น เพื่อลดอาการท้องอืด
ข้อมูล โรงพยาบาลกรุงเทพ
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
หญิงสาวปวดท้อง คาด “ นิ่วในไต ” ที่ไหนได้ คลอดเด็กในห้องน้ำ
นิ่วในถุงน้ำดี โรคพบบ่อยของสายกินไม่ยั้ง อาหารมันๆ
น้ำท่วมปอด เป็นได้ไม่รู้ตัว