ไขมันพอกคับ

ไขมันพอกตับ มองไม่เห็น แต่อันตรายมาก

ไขมันพอกตับ เป็นชื่อที่เราคุ้นเคยกันอยู่มาก ได้ยินกันอยู่บ่อยๆ แต่หลายคนอาจยังสงสัยว่าจริงๆ แล้วมันคืออะไร และอันตรายแค่ไหน วันนี้แอดจะเล่าให้ฟังค่ะ

ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีสัญญาณเกิดขึ้นในช่วงแรก แต่จะเป็นการที่เกิดไขมันไปสะสมในตับมากจนตับไม่สามารถดึงออกมาใช้ได้หมด โดยผู้ที่มีปัญหาไขมันเกาะตับจะมีไขมันสะสมอยู่ในตับคิดเป็น 5-10% ของน้ำหนักตับเลยทีเดียว

สาเหตุการทำให้เกิดไขมันเกาะตับ

มีด้วยกัน 2 ปัจจัยหลัก คือ  

จากแอลกอฮอล์ ซึ่งควาามรุนแรงของอาการ จะขึ้นอยู่กับประเภทของแอลกอฮอล์ เพศ และระยะเวลา 

จากอื่นๆ ที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ  โดยเฉพาะเรื่องของอาหาร 

กลุ่มเสี่ยงไขมันเกาะตับ

  1. ผู้ชายที่มีรอบเอวเกิน 40  ผู้หญิงที่มีรอบเอวเกิน 35 
  2. ผู้ที่น้ำตาลสูงกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือผู้ที่เป็นเบาหวาน
  3. ผู้ที่มีไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร 
  4. ผู้ที่มีคามดันสูงกว่า 140/90 มิลลิลิตรปรอท 
  5. ดื่มแอลกอฮอล์มาก 
  6. รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง  
  7. น้ำหนักลดอย่างมากในเวลารวดเร็ว

อาการไขมันเกาะตับ

เป็นภาวะที่ไม่มีอาการให้รู้ หรือหากมีอาจจะเป็นอาการเช่น คลื่นไส้ อ่อนเพลีย  เจ็บตึงที่บริเวณชายโครงขวา มักตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยการเจาะเลือด สำหรับภาวะไขมันเกาะตับ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 

ระยะที่ 1 มีไขมันอยู่ในตับ แต่ยังไม่เกิดการอักเสบ หรือผังผืดในเนื้อตับ 
ระยะที่ 2 ตับเริ่มมีการอักเสบ หากไม่ดูแลควบคุมอาหาร ภายใน 6 เดือนจะทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง
ระยะที่ 3 ตับอักเสบจนเกิดผังผืด เซลล์ตับถูกทำลาย โดยมีผังผืดเข้าไปแทนที่ 
ระยะที่ 4 เซลล์ตับถูกทำลายจนทำงานตามปกติไม่ได้ เกิดภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับ

การดูแลรักษาไขมันเกาะตับ

  1.  หากมีน้ำหนักตัวมาก ต้องควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่ลดแบบหักโหม โดยลดในอัตรา 7% ของน้ำหนักตัว ในช่วง 3 เดือน
  2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
  3. เลือกอาหารที่อุดมด้วยไขมันดี กากใยสูง หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง 
  4. ควบคุมอาหาร และน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ 
  5. เลี่ยงการซื้อยากินเอง 
  6. เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ 

ที่มา โรงพยาบาลศิริราช ปิยะมหาการุณย์, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.