ข้อควรระวังเกี่ยวกับ ครอบแก้ว

ศาสตร์เเพทย์จีนโบราณนิยมใช้ ครอบเเก้ว เพื่อเเก้อาการปวดของร่างกายที่เกิดจากการมีเลือดไปคั่งค้างอยู่บริเวณต่างๆของร่างกาย รวมทั้งบริเวณกล้ามเนื้อ ซึ่งมีหลายเทคนิคหลายประเภทเเละข้อควรระวังแก่ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยงการ ครอบแแก้ว คือ

ผู้ที่ควรหลีกเลี่ยง การ ครอบแก้ว

1. ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่าย

หรือที่ผู้ที่สภาพร่างกายอ่อนแอ ถ้าสภาพร่างกายอ่อนแอเกินไปไม่เหมาะที่จะทำการ ครอบแก้ว เพราะเป็นวิธีการระบายซึ่งจะทําให้คนที่ร่างกายพร่องอยู่แล้ว ยิ่งพร่องมากขึ้น

2. ผู้หญิงที่มีประจำเดือน

ถ้ามีเลือดออกอยู่ แสดงว่าร่างกายใช้เกล็ดเลือดเยอะ เมื่อทำให้ร่างกายเกิดความช้ำอาจทำให้ช้ำมากกว่าปกติและระบมได้ง่าย

3. ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง

โดยเฉพาะมะเร็งที่มีก้อนเนื้อชัดเจน  เพราะเลือดไปเลี้ยงตรงบริเวณก้อนมากอยู่แล้ว  เพราะถ้าทำการ ครอบแก้ว อาจกลายเป็นว่าไปเร่งให้มะเร็งซึ่งยังไม่กระจายออกไปที่หลอดเลือดกระจายออกไปเร็วขึ้น

4. ผู้ป่วยโรคหัวใจ

เนื่องจากผิวหนังได้รับแรงดูดขึ้น ทําให้ร่างกายบริเวณนั้นบวมและปวด ผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหัวใจ หากได้รับการกระตุ้นแล้วปวดมากไปอาจทําให้เกิดอาการเกี่ยวกับหัวใจเฉียบพลัน หรือโรคหัวใจกําเริบได้

5. ผู้ที่ผิวหนังเป็นแผลเปิด

ผิวหนังบวม อักเสบ หรือติดเชื้อบริเวณผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงินไม่ควรทำ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบที่หลอดเลือดบริเวณใต้ผิวหนังได้

6. หญิงตั้งครรภ์

โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก ไม่ควรครอบแก้วช่วงเอว ท้อง และก้นกบเด็ดขาด เพราะอาจทําให้เกิดภาวะแท้งได้ง่าย

เทคนิคเเละประเภทของ ครอบเเก้ว เช่น

1. เทคนิค Dry Cupping

เทคนิคนี้คือการทำให้ถ้วยแก้วอุ่น โดยนำไปนึ่งแล้วนำออกมา พอถ้วยเริ่มเย็น จะดูดกล้ามเนื้อได้ดี

2. เทคนิค Fire Cupping  

ใช้ไฟลนภายในถ้วย ทำให้ถ้วยแก้วเกิดความร้อน แล้วใช้น้ำมันทานวดทาตัวก่อนให้เกิดความลื่น จากนั้นวางถ้วยแก้วลงไปแล้วลากแบบ Slide Cupping(ใช้แก้วครอบแล้วลากเป็นทางยาว) เป็นเทคนิคที่ปัจจุบันที่นิยมใช้กันมาก

3. เทคนิค Wet  Cupping

เป็นวิธีเจาะผิวหนังจุดที่ปวด แล้วใช้ถ้วยแก้วดูดเอาเลือดเสียขึ้นมา

4. เทคนิคแบบถ้วยสุญญากาศ 

มีทั้งถ้วยพลาสติกและถ้วยแก้ว ส่วนใหญ่ใช้พลาสติกที่มีจุกข้างบน เมื่อบีบตรงจุกถ้วยจะดูดเอาอากาศข้างในออกมา แต่ข้อควรระวังคือต้องสังเกตขอบถ้วยให้ดีว่าบางไปหรือมีรอยแตกร้าวหรือไม่ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดบาดแผลทำให้ผิวหนังฉีกขาดได้

ที่มา : นิตยสารชีวจิต

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

lรวมวิธี ลดอาการวัยทอง ด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.