วัยทองเสี่ยงโรค วัยทอง

ทำไม วัยทองเสี่ยงโรค หัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน

ทำไม วัยทองเสี่ยงโรค หัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน เรามีคำตอบ

ทำไม วัยทองเสี่ยงโรค หัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน โดยผลการศึกษาทั่วไปพบว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนช่วงปลาย (Late) การขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนจะส่งผลให้คนวัยทองมีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งกระดูกพรุน

เมื่อเข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือนช่วงปลาย การขาดฮอร์โมนเอสโทรเจนจะส่งผลให้คนวัยทองมีความเสี่ยงโรคหัวใจและ หลอดเลือดมากขึ้น เพราะไขมันในเลือดจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไขมันชนิดไม่ดี (LDL) สวนทางกับไขมันดี (HDL) ที่ลดลง จะเห็นว่าก่อนวัยทอง ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ชาย แต่หลังเข้าสู่วัยทองแล้ว ผู้หญิงกลับมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าผู้ชาย

เดิมทีฮอร์โมนเอสโทรเจนจะช่วยส่งเสริมการทำงานของเชลล์ สร้างกระดูก และลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก แต่เมื่อ เข้าสู่วัยทอง กระบวนการสลายกระดูกกลับมีมากกว่า จึงทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลงช้า ๆ และเริ่มเสื่อม เปราะบาง และมีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งทำให้กระดูกผิดรูป แตกหักได้ง่ายมากขึ้นแม้เพียงประสบ อุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยก็ตาม

งานวิจัยจาก สมาคมต่อมไร้ท่อ (Endocrine Society) ซึ่งประกอบด้วยแพทย์และนักวิจัยด้านต่อมไร้ท่อระดับโลก เผยว่า ผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัยทองในระยะต่าง ๆ อาจเกิดการสูญเสียมวลกระดูกได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และประมาณ 1 ใน 10 ของผู้หญิง ที่มีอายุเกิน 60 ปีทั่วโลกจะได้รับผลกระทบจากโรคกระดูกพรุน

ไม่เพียงเท่านั้น ยังพบว่า 1 ใน 2 คนของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเป็นโรคกระดูกพรุน และส่วนใหญ่มักจะมีโอกาส กระดูกหักได้ตลอดช่วงชีวิต ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวด การเคลื่อนไหวลดลง สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ลดลงและอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้หญิงที่สูบบุหรี่วันละ 1 ซองมักสูญเสีย ความหนาแน่นของกระดูกมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ 5 – 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อถึงวัยทอง

อาการสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับคุณผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือนคือ เลือดคุณจะจาง

ทำไมถึงจาง เพราะระหว่างที่คุณยังมีประจำเดือนนั้นบางครั้งเลือดของคุณออกมาก เป็นอย่างนี้บ่อยครั้งเข้า เลือดก็จาง พอเริ่มหมดประจำเดือน เลือดยิ่งจางมากขึ้นอีก เพราะการดูดซึมสารอาหารทำได้น้อย

วิธีแก้คือ ให้กินเหล็กเข้าไป(ไม่ใช่เหล็กคอนกรีตนะกินเข้าไปฟันหักหมด) แต่ตัวนี้คือธาตุเหล็ก(IRON) แต่เวลาเอามาทำเป็นยารับประทาน ยาเหล็กคือ FERROUS SULFATE เราให้คุณกินกรดโฟลิกอยู่แล้ว ผสมเหล็กเข้าไปอีกวันละ 1 เม็ดคุณภาพเลือดจะดีขึ้นเอง อารมณ์หงุดหงิดก็จะดีขึ้นด้วย

ถ้าปวดหลัง ปวดเอว ปวดท้อง ให้รำกระบอง ท่าเตะเท้าเหยียด เตะเท้าตั้ง เตะในออกนอก เตะนอกเข้าใน จะช่วยแก้อาการวัยทองให้ทุเลาลงได้

วัยทองเสี่ยงโรค แก้ได้ด้วยสมุนไพรในธรรมชาติ

จากงานวิจัยพบว่า มีสมุนไพรในธรรมชาติที่มีส่วนช่วยเรื่องอาการวัยทอง ได้แก่

โบราจ ออยล์ (Borage Oil)

น้ำมันโบราจให้กรดไขมันแกมมาไลโนเลนิก (Gamma-Linolenic Acid หรือ GLA) ในปริมาณสูงถึง 24-25% มีคุณสมบัติบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ลดอาการผิวหนังแห้ง คันลอกเป็นขุย ลดอาการปวดประจำเดือน เจ็บคัดหน้าอก หงุดหงิด หรือภาวะซึมเศร้าในระยะก่อนมีประจำเดือน(Premenstrual Syndrome; PMS) ป้องกันอาการร้อนวูบวาบในวัยทอง รวมทั้งลดอาการปวดข้อรูมาตอยด์

น้ำมันรำข้าว (Rice Bran Oil, Oryzanol)

สารออริซานอล (Oryzanol) ที่พบเฉพาะในน้ำมันรำข้าวเป็นสารที่มีการวิจัยพบว่าช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (Hot Flashes) ในสตรีวัยทอง และลดภาวะกระดูกพรุน นอกจากนั้นน้ำมันรำข้าวยังมีสารที่ช่วยลดการดูดซึมไขมันคอเลสเตอรอล และเพิ่มการขับคอเลสเตอรอลออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

วิตามิน + เกลือแร่ แก้อาการวัยทอง

1. วิตามินเอ ซี ดี อี (เป็นกลุ่มแอนติออกซิแดนต์) อย่างละ 1 เม็ดทุกวัน

2. วิตามินบี1 บี6 บี12 อย่างละ 1 เม็ดด้วย

3. กรดโฟลิก เช้า – เย็น ครั้งละ 1 เม็ด

4. แคลเซียมอย่างเดียวไม่ได้ผล เพราะการดูดซึมของคุณไม่ดีตอนเริ่มหมดประจำเดือน จึงควรกินแมกนีเซียมควบคู่ไปด้วย

  • โดยกินแคลเซียม 1 เม็ด เช้า-เย็น
  • แมกนีเซียม 1 เม็ด เฉพาะมื้อเช้า 
  • นั่นคืออัตราส่วน แมกนีเซียม : แคลเซียม = 1 : 2

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อาหารที่ผู้สูงอายุควรกินเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย

เจาะลึกการดูแลผิว บำรุงข้อ ด้วยการ ใช้คอลลาเจน

เทคนิคใกล้ตัวช่วย โกร๊ธฮอร์โมน หลั่ง ควรทำควบคู่ออกกำลังกาย

50+ ร่างกายเปลี่ยนไป แค่ไหนกัน

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.