50+ ร่างกายเปลี่ยนแค่ไหนกัน

50+ ร่างกายเปลี่ยนไป แค่ไหนกัน

ร่างกายคนเรามีพัฒนาการตลอดเวลา แต่เมื่อ 50+ ร่างกายก็จะมีการเปลี่ยแปลงครั้งยิ่งใหญ่ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เสื่อมลง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับหลายๆ ระบบในร่างกายแต่จะมีอะไรบ้างมาดูกันค่ะ เพื่อที่เราจะรับมือได้ถูกต้อง

ผมหงอก

เพราะร่างกายผลิตเม็ดสีหรือเมลานินน้อยลง ถ้าเป็นคนวัย 40 ปีแล้วมีผมหงอก ถ้ากินวิตามินและดูแลสุขภาพดีๆ ผมอาจจะกลับมาเป็นสีเดิมได้ แต่วัย 50 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่ผมจะเป็นสีเทา หรือผมหงอกมากกว่าร้อยละ 50

สมองและระบบประสาท

สารเมลาโทนินลดลงทำให้จำนวนเวลาที่นอนหลับได้น้อยลงหรือนอนไม่ค่อยหลับ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้เสมอในคนวัย 50 ปี หลายคนเริ่มมีอาการแบบนี้ตั้งแต่ 45 ปี ส่วนระบบประสาทจะเริ่มลืมชื่อบุคคลหรือนึกชื่อบุคคลได้ยากขึ้น มีปัญหาเรื่องทิศทาง ดูแผนที่แล้วขับรถลำบากไม่คล่องแคล่วเหมือนคนรุ่นหนุ่มสาว ถัดมาเป็นเรื่องความเร็วในการ
ประมวลผลข้อมูลจะช้าลง เรื่องการทรงตัวในผู้หญิงจะมีปัญหามากกว่าผู้ชาย และคนที่ไม่ค่อยออกกำลังกายจะมีปัญหามากกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ สังเกตว่าเวลาเดินบนทางแคบ ๆ สูงๆจะมีปัญหา ถ้าอายุมากขึ้นก็จะมีปัญหาล้มง่ายเพราะทรงตัวได้ไม่ดี

สายตายาว

เพราะกล้ามเนื้อตาที่ใช้ในการปรับโฟกัสของเลนส์ตาเสื่อมลง ทำให้มองวัตถุระยะใกล้ไม่ชัด ปัจจุบันยังไม่สามารถ
ป้องกันได้ โดยจะเกิดขึ้นกับทุกคนไม่ว่าจะมีค่าสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาปกติมาก่อนอายุ 40 ปีก็ตาม

หู

บางคนที่เคยทำงานในโรงงานหรือที่ที่มีเสียงดัง มีปัญหาประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าคนอื่น ต้องพูดให้ดังขึ้นถึงจะได้ยิน ไม่ถึงขั้นหูหนวก แต่ความไว้ในการแยกเสียงหรือได้ยินเสียงบางเสียงจะลดลง

จมูก

กรณีคนที่มีประวัติเป็นภูมิแพ้ ไชนัส เมื่อเข้าสู่วัย 50 ปีจะพบปัญหาการแยกกลิ่นไม่ค่อยได้เท่ากับคนวัยหนุ่มสาว ความละเอียดในการแยกกลิ่นลดลง

ลิ้น

ปุ่มรับรสหวานกับขมจะไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ปุ่มรับรสเค็มจะทำงานได้น้อยลง ทำให้ผู้ที่เข้าวัยนี้กินเค็มโดยไม่รู้ตัว เพราะไปเติมน้ำปลา เกลือ หรือซอสปรุงรสเพิ่ม

ฟัน

มีปัญหาเหงื่อกร่น เริ่มใช้ฟันชุดที่ 3 หรือฟันปลอมบางคนต้องไปทำรากฟัน ถ้าไม่อยากมีปัญหาเหล่านี้ต้องแปรงฟัน
อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ขูดหินปูนสม่ำเสมอ

ระบบย่อยอาหาร

หูรูดระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเริ่มเสื่อม เราจึงพบคนที่มีปัญหากรดไหลย้อนในวัยนี้มากขึ้น ถ้าเคยเป็นโรคกระเพาะมาก่อน มีความเครียดสะสมสูบบุหรี่ ก็จะมีความเสี่ยงเป็นกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้นกรณีคนที่มีเมแทบอลิซึมในถุงน้ำดีผิดปกติจะมีโอกาสเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มขึ้นด้วย มีอาการกินอาหารแล้วท้องอืด อาหารไม่ย่อย

กล้ามเนื้อ

เรื่องที่หลายคนเมื่อเข้าสู่วัย 50 ปีจะเริ่มสังเกตได้คือ ทำไมเป็นตะคริวบ่อย นั่นเพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวแล้วไม่คลายตัวออก ร่างกายหลั่งกรดแล็กติกออกมาทำให้เกิดความเจ็บปวดเป็นนานกว่าปกติ คราวนี้เวลาไปออกกำลังกายก็เริ่มมีปัญหา ไม่เหมือนตอนอยู่ในวัยหนุ่มสาวที่กล้ามเนื้อยังแข็งแรงดี คำแนะนำคือ ต้องอบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายให้นานขึ้นจากเดิมเป็น 10 – 15 นาที และมีการคูลดาวน์ร่างกายหลังออกกำลังกาย 10 – 15 นาทีเช่นกันเพื่อลดอาการปวดเนื้อปวดตัว

ข้อต่อ

น้ำในข้อต่อลดลง เวลาเดินเราจะได้ยินเสียงกร๊อบแกร๊บ ๆ ต้องเติมคอลลาเจนในข้อ มีทั้งยาและกินอาหารกลุ่มถั่ว งา ปลาเล็กปลาน้อย

ระบบเผาผลาญ

ทำงานลดลง กินเท่าเดิมแต่อ้วนง่าย บางคนกินอาหารเพียงวันละ 1 มื้อ ลดแป้ง เพิ่มโปรตีน

ระบบฮอร์โมนเพศ

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเอสโทรเจนลดลง ทำให้ผิวแห้ง ผมแห้ง ปากแห้ง เล็บเปราะ ความรู้สึกทางเพศลดลง ร้อนวูบวาบ บางคนร้อนมากจนรู้สึกตื่นขึ้นตอนกลางคืน ช่องคลอดแห้ง ระบบทางเดินปัสสาวะมีปัญหาแสบขัด ถ่ายปัสสาวะได้ไม่สุด หงุดหงิดง่ายเกิดฝ้า กระฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนก็ลดลงเช่นกัน แต่ลดลงช้ากว่าฮอร์โมนเอสโทรเจน ทำให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวาลดลงส่วนในคุณผู้ชายมีปัญหาฮอร์โมนแอนโดรเจนลดลงแต่ก่อนออกกำลังกายแล้วกล้ามเนื้อสวย เดี๋ยวนี้ก็ไม่ขึ้นง่ายแบบเดิม ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน

โกรทฮอร์โมน

ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น ระบบเผาผลาญทำงานดี รู้สึกสดชื่นสดใส ป้องกันเบาหวาน ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีอายุ 44 – 55 ปีดังนั้นถ้าใครไปขอให้แพทย์ให้โกรทฮอร์โมนจะต้องเลือกปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ เพราะถ้าให้แล้วมีระดับโกรทฮอร์โมนมากเกินก็เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งรังไข่ในการดูแลสุขภาพคนวัย 50 ปี การติดตามระดับโกรทฮอร์โมนเป็นอีกวิธีที่ช่วยทำให้ทราบว่าคนคนนั้นอาจมีเนื้องอกหรือมะเร็งเติบโตขึ้นที่ไหนหรือไม่ เพื่อความปลอดภัย

พาราไทรอยด์ฮอร์โมน

ช่วยรักษาสมดุสของแคลเซียมในร่างกายทั้งในเลือดและกระดูก บางคนตรวจดูก็ดีใจว่าแคลเชียมในเลือดดี แต่แคลเชียมในกระดูกไม่ดีก็มีได้ ดังนั้นแนะนำให้ตรวจมวลกระดูกโดยเฉพาะในผู้หญิง ถ้าพบภาวะกระดูกบางต้องเพิ่มแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินดี 3 โดยกินถั่วงา บรอกโคลีงดอาหารหวาน เพราะจะไปทำให้กระบวนการไกลเคชั่นที่ทำลายมวลกระดูกเพิ่มมากขึ้น มีงานวิจัยพบว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานมีมวลกระดูกมากกว่าคนที่เป็นเบาหวาน ดังนั้นเรื่อง
น้ำตาลต้องคุมให้ดี ให้ระลึกไว้เสมอว่า ถ้ายังไม่เลิกกินหวาน ไม่ว่าจะกินอาหารที่มีแคลเซียมหรือรับวิตามินดีไปแล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ยังกระดูกบางอยู่ดี สุดท้าย หาเวลาออกกำลังกายกลางแจ้งบ้างเพื่อรับวิตามินดีเพื่อให้กระดูกแข็งแรง

ผิวแห้ง

เกี่ยวกับฮอร์โมนเพศที่ลดลง เนื้อเยื่อเกี่ยวพันใต้ผิวหนังมีพื้นที่ว่างระหว่างกันมากขึ้น ทำให้ผิวที่เคยยืดหยุ่น เก็บน้ำได้ดี มีคอลลาเจนก็เริ่มลดลงๆ จนทำให้ผิวแห้งไม่นุ่มเด้งเหมือนวัยหนุ่มสาว หน้าตอบ ก้นย้อย มีร่องแก้ม ท้องแขนหย่อนคล้อย พุงนุ่ม ๆ เหมือนลูกพรุน มักเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย หน้าอกก็จะมีการหย่อนคล้อย

กระดูกสันหลัง

ไล่จาคอลงมาถึงช่วงเอวและหลังล่าง กระดูกยุบตัว รากประสาทอ่อนแรง ถ้าเป็นน้อยก็ทำกายภาพ ถ้าเป็นมากก็ผ่าตัดออกทำให้เราไม่ปวด อย่าปล่อยทิ้งไว้ให้ปวดมากเป็น เพราะอายุ 55 ปีขึ้นไปแล้วค่อยไปผ่าตัดจะฟื้นตัวยาก

ที่มา นิตยสารชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.