ห่างไกลเบาหวาน

กินน้ำตาลอย่างไร ให้ไกลห่างเบาหวาน

น้ำตาลไม่ใช่ตัวร้ายเสมอไป แต่จะกินอย่างไรให้เราห่างไกลจากเบาหวาน ถ้ากินให้เป็น รู้จักกินให้พอดี สิ่งนี้จะไม่กลับมาทำร้ายเรา มาดูกัน

 

  1. ต้องตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดสูงต่ำอย่างไร นอกจากนั้นยังต้องตรวจระดับน้ำตาลสะสม  (  HbA1c- Hemoglobin A1C)  
  2. ถ้าประเมินแล้ว เข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงน้ำตาลต่ำ ก็ต้องพกลูกอม ช็อคโกแลตบาร์ ซีเรียลบาร์ เพื่อใช้ในกรณีมีอาการน้ำตาลต่ำ ในกรณีที่ใช้ยาต่าง ๆ ที่มีผลทำให้น้ำตาลต่ำ ก็ควรหมั่นไปหาหมอเพื่อตรวจเช็ค

ส่วนผู้มีระดับน้ำตาลต่ำจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ใช้ยาลดน้ำหนัก ไม่ควรใช้ยาเองโดยพลการ ไม่ปรับโดสยาเอง ไม่ใจร้อนเกิน  ผู้ที่ทำ IF  ก็ไม่ควรอดอาหารนานเกินไป  ผู้ที่กินคีโตน ก็ไม่ควรกินมากเกินไป 

การทำ IF ควรทำอย่างระมัดระวัง  ถ้าจะทำแบบโหด ๆ  ควรต้องไปพบแพทย์ทุกเดือน รวมถึงผู้ที่ใช้ยาฉีดพุง เพราะมันผิดธรรมชาติหน่อย ๆ

  1. ควรกินอาหารอย่างสมดุล กินอาหารให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ คือกินเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น  อย่ากินมากกว่าใช้ หรือกินน้อยกว่าใช้มากเกินไป  โดยต้องประเมินว่าอายุเท่าใด กิจกรรมที่ทำต้องใช้แรงมากน้อยแค่ไหน  และควรกินอาหารกี่มื้อ จึงจะไม่อ้วน

ธงโภชนาการเมื่อก่อนให้กินคาร์โบไฮเดรตปริมาณ ½ จาน  แต่ถ้าคุณทำงานในออฟฟิศ ไม่ค่อยขยับตัว ก็ควรกินข้าว แป้ง น้ำตาล น้อยกว่า ¼ ของจาน  ถ้าวันไหนกินเยอะ อีกวันควรต้องลดลงน้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์  หรือเสริมวิตามินบางประเภทที่ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต เช่น วิตามินบี 1 บี 6 บี 12  หรืออาจต้องไปหาคุณหมอ เพื่อให้จ่ายวิตามินที่มีสารไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrients)  ซึ่งช่วยในการเผาผลาญไกลเคชั่น  (Glycation)” 

  1. ออกไปตากแดดบ้าง เพราะถ้าร่างกายขาดวิตามินดี การเผาผลาญกูลโคสก็จะไม่ดีด้วยเช่นกัน และต้องเป็นการตากแดดในเวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าและตอนเย็นด้วย
  2. ออกกำลังกาย 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ถ้าเป็นไปได้ ควรออกกำลังกายกลางแจ้งจะได้แสงแดดไปด้วยเลย
  3. ดื่มน้ำวันละ 1 ½ ลิตร จะช่วยให้ความเข้มของน้ำตาลในเลือดไม่มากไม่น้อยเกินไป นอกจากนั้นน้ำยังไปขับของเสียทุกอย่างออกจากร่างกายอีกด้วย
  4. ลดความเครียด เพราะความเครียดจะทำให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลทำงานหนัก  ซึ่งจะมีผลต่อมหมวกไต เกี่ยวพันไปถึงการเพิ่มและลดน้ำตาลในเลือด ฮอร์โมนกลูคากอน และอินซูลิน ซึ่งมีส่วนทำให้น้ำตาลในเลือดเดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำ

 

เวลาที่คนเราโกรธหรือโมโห ร่างกายต้องการน้ำตาลมาก พอได้กินอาหารก็จะอารมณ์ดีขึ้น จึงไม่ควรเครียด หรือโกรธ เพื่อไม่ให้คอร์ติซอลไปรบกวนการทำงานของอินซูลินกับกลูคากอน ซึ่งจะทำให้ insulin receptor  เสีย ระบบน้ำตาลในร่างกายก็จะไม่รวน

 

บางคนถามว่าทำว่าทำอย่างไรจะไม่ให้โกรธ  ไม่อารมณ์เสีย ไม่เครียด ในความเป็นจริงทำได้หรือไม่ จริง ๆ แล้วทำได้ ถ้าเราปล่อยวาง อย่าไปอยากได้อยากดีมากเกินไป ทำไมไม่เป็นอย่างนั้น ทำไมไม่เป็นอย่างนี้ อย่าอิจฉาคนอื่น พื้นฐานความเครียดมันมาจากตรงนี้

 

ที่มา : พญ. สาริษฐา สมทรัพย์


 

เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.