หูเสื่อม

เช็ก 6 ไลฟ์สไตล์เสี่ยง หูเสื่อม ก่อนวัย

เช็ก 6 ไลฟ์สไตล์เสี่ยง หูเสื่อม ก่อนวัย

หากวันนี้ คุณรู้สึกว่า การได้ยินเริ่มผิดปกติ ฟังเสียงคนพูดไม่ชัดเจน ไม่แน่ว่า คุณอาจกำลังเริ่มมีอาการ หูเสื่อม ก่อนวัยได้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสุจิตรา ประสานสุข ที่ปรึกษาอาวุโส ศูนย์โสตประสาทการได้ยินกรุงเทพฯ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แนะนำไลฟ์สไตล์ที่ส่งผลต่อการทำงานของหูไว้ดังนี้

1.การดำน้ำ

การดำน้ำทำให้ออกซิเจนและเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในน้อยลง ซึ่งในหูชั้นในจะมีอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัวอยู่ เมื่อเลือดหรือออกซิเจนไปเลี้ยงไม่พอ อวัยวะเหล่านั้นก็ทำงานได้น้อยลงหรือไม่ทำงานเลย ก่อให้เกิดอาการเวียนศีรษะจนบ้านหมุน

สองคือ ร่างกายไม่สามารถปรับความดันในหูได้ เพราะการดำน้ำทำให้ความดันในหูเปลี่ยนแปลง เมื่อความดันภายในช่องหูต่างจากความดันภายนอกจึงรู้สึกหูอื้อและปวดหู

สุดท้ายคือ ขี้หูอมน้ำ ซึ่งปัจจัยนี้เกิดกับคนที่ว่ายน้ำด้วย เพราะขี้หูคนเรามีส่วนประกอบส่วนใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำและส่วนน้อยที่ละลายน้ำได้ปะปนกัน เมื่อโดนน้ำจึงทำให้ขี้หูพองตัวในรูหู ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัด และอาจมีอาการคันด้วย

2.ใช้หูฟังเครื่องเล่นเสียงพกพา

การใส่หูฟังเข้าไปในรูหูก่อให้เกิดความดันของคลื่นเสียง ซึ่งเข้าไปทำปฏิกิริยากับแก้วหูโดยตรง และทำลายเซลล์ประสาทหูและเซลล์ขนในหูจึงทำให้หูสูญเสียการได้ยินบางส่วนหรือถึงขั้นหูดับ

ประสาทรับเสียงเสื่อม เกิดจากความความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในหู ส่งผลให้เกิดเสียงรบกวนในหู เช่น เสียงแมลงหวี่ร้อง เสียงวิทยุจูนผิดคลื่นตลอดเวลา หรือาจเป็นเสียงอื่นได้อีกมากมาย

เชื้อโรคในหูฟัง นอกจากหูฟังจะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงดังที่เป็นอันตรายแล้ว ยังเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคอื่นทำให้เกิดโรคในหูมากมาย เช่น หนองในหู

3.ใช้โทรศัพท์มือถือ

การใช้โทรศัพท์มือถือทำให้หูผิดปกติได้เนื่องจาก เชื้อโรคในหูสามารถลุกลามจากความร้อน โดยปกติหูคนเราจะมีเชื้อโรคอยู่บ้าง แต่ก็มีขี้หูและผิวหนังที่ช่วยป้องกันไว้ แต่เมื่อหูได้รับความร้อนจากโทรศัพท์มือถือประกอบกับการใช้มือถือเขี่ยหรือเกาจนทำให้ผิวหนังถลอกเท่ากับขาดปราการป้องกันเชื้อโรค จึงทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดีและเกิดอาการอักเสบเป็นฝี หูบวมแดง คันและมีน้ำเหลืองไหล

นอกจากนี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังทำลายประสาทหู โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะส่งผลต่อระบบการทงานของคลื่นไฟฟ้าและอิเล็กโตรไลต์ในหู นอกจากนี้ยังทำให้โมเลกุลในหูเกิดการสั่นสะเทือนจนทำให้หูร้อน และทำให้เส้นประสาทหูถูกทำลาย การได้ยินจึงลดลง

4.การพักผ่อนไม่เพียงพอ

การพักผ่อนน้อยส่งผลให้การไหลเวียนของกระแสเลือดไม่ดี โดยเฉพาะหูชั้นในนั้นต้องการเลือดมาเลี้ยงมาก หากขาดเลือดจะทำให้น้ำในหูชั้นในเสียสมดุลซึ่งน้ำในหูนี่เองที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว เมื่อน้ำในหูทั้งสองไม่เท่ากัน ข้างหนึ่งทำงานมาก อีกข้างทำงานน้อย จะทำให้เกิดความผิดปกติของการทรงตัว

5.มลภาวะอากาศ

สิ่งแปลกปลอมในอาหาร เช่น ฝ่นละออง ควันรถ คือตัวการทำให้โรคในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้หรือหวัดบ่อย หากปล่อยให้โรคลุกลามจนเกิดการอักเสบหลังโพรงจมูกและคอ เชื้อโรคก็จะเดินทางจาหลังโพรงจมูกมาที่หูและเกิดเป็นโรคหูน้ำหนวดได้

6.ยาบางชนิด

ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาฆ่าเชื้อโรค ยาต้านเชื้อแบคทีเรีย มีผลทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมและทำให้การได้ยินลดลง นอกจากนี้ ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค ยารักษาเยื่อหุ้นสมอง ก็ส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมเช่นกัน

รู้ครบทั้ง 6 ไลฟ์สไตล์เสี่ยงทำหูเสื่อมเช่นนี้ ต้องหาทางหลีกเลี่ยงหรือป้องกันกัน เพื่อให้การได้ยินของเราชัดเจนนานที่สุด

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต คอลัมน์ เรื่องพิเศษ ฉบับที่ 258

 

© COPYRIGHT 2024 AME IMAGINATIVE COMPANY LIMITED.