โรคกรดไหลย้อน

8 เทคนิคง่าย ๆ ลด โรคกรดไหลย้อน

8 Easy Tricks แก้ โรคกรดไหลย้อน

 กลไกการเกิด โรคกรดไหลย้อน คือ หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างทํางานผิดปกติ เกิดการคลายตัวในเวลาที่ไม่จําเป็น โดยเฉพาะตอนกลืนอาหาร หูรูดหลอดอาหาร จะคลายตัวเพื่อให้อาหารไหลลงไปยังกระเพาะอาหาร เมื่ออาหารไหลลงไปแล้ว หูรูดหลอดอาหารหดตัวปิด อาหารหรือกรดในกระเพาะอาหาร จึงไม่ไหลย้อนกลับขึ้นด้านบน

แต่ทุกวันนี้ยังไม่มีใครทราบสาเหตุ ที่ทําให้หูรูดหลอดอาหารไม่ทํางาน พบเพียงว่ากระเพาะอาหารบีบตัวมากเกินไป จึงทําให้หูรูดหลอดอาหารคลายตัว

กรดไหลย้อน

รองศาสตราจารย์ ดร.ลอว์เรนซ์ โคเฮน (Dr.Lawrence Cohen) ผู้เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหารแห่งมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในสื่อออนไลน์ เดอะสตาร์ดอทคอม ว่า

“ผมกล้าพูดได้ว่า สาเหตุหลักของการเกิดโรคกรดไหลย้อน เกิดจากพฤติกรรมที่เราทําอยู่เป็นประจํา เช่น พฤติกรรมการกินที่ผิดเพี้ยน กินอาหารไม่ถูกต้อง น้ําหนักมาก และการสูบบุหรี่จัด  เหล่านี้ทําให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้

เมื่อเป็นกรดไหลย้อนหรือโรคอะไรก็ตาม เรามักไปหาหมอ ฝากหน้าที่ความรับผิดชอบ ไว้ให้คุณหมอ เพื่อให้ท่านสั่งยามาให้กิน แล้วเราจะสบายใจว่าหายจากโรคแน่ แต่สําหรับวิธีแก้โรคกรดไหลย้อน ต้องอาศัยการดูแลตัวเองมิใช่น้อย

คลิกเพื่ออ่านหน้าถัดไป

มูลนิธิ International Foundation for Functional Gastrointestinal Disorders (IFFGD) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนําให้หลีกเลี่ยงปัจจัย กระตุ้นการเกิดโรคทุกอย่าง ปรับเปลี่ยน ไลฟ์สไตล์และการกินอาหารให้ถูกต้อง ดังนี้

  1. งดนั่งเอนหลังหรือนอนหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่อย่างน้อย 3 ชั่วโมง และไม่ควรกินอาหารว่างใกล้เวลาเข้านอน
  2. ไม่ควรออกกําลังกายหรือทํากิจกรรมที่ต้องก้มตัวลง เช่น กวาดหรือถูบ้านหลังกินอาหาร
  3. ไม่ควรกินอาหารมากเกินไป แม้อาหารจะอร่อยมากแค่ไหน ก็ควรกินในปริมาณพอเหมาะ
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นอาการ เช่น ของทอด นม เนย หอมหัวใหญ่ ช็อกโกแลต น้ํามะเขือเทศ น้ําส้ม ชา กาแฟ เหล้า เบียร์ เพราะอาหารเหล่านี้ ทําให้เกิดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น
  5. ไม่ทะเลาะหรือถกปัญหาเครียดๆ ระหว่างกินอาหาร ควรกินอาหารในบรรยากาศสบาย ๆ
  6. ควรกินอาหารมื้อกลางวันให้มาก ส่วนมื้อเย็นกินน้อยๆ และเลื่อนเวลามื้อเย็นให้เร็วขึ้นเพื่อให้ห่างจากเวลาเข้านอน
  7. หากมีอาการแสบร้อนกลางอกเป็นประจํา เวลานอนควรหนุนหมอนสูงหรือหนุนผ้าบริเวณเหนือเอวให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนแก้อาการกรดไหลย้อน
  8. ควรลดน้ําหนักและบริหารร่างกายเพื่อลดไขมันสะสมบริเวณหน้าท้อง

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวิตฉบับที่  383

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.